ไข้เลือดออก

ยาจีนลดความร้อน ป้องกัน ไข้เลือดออก

ยาจีนลดความร้อน ป้องกัน ไข้เลือดออก

ฤดูฝน ฝนตก ซึ่งเป็นช่วงที่ยุงลายชุกชุม เราควรเฝ้าระวังโรค ไข้เลือดออก กันให้ดี

สำหรับโรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่มีการบันทึกอยู่ในคัมภีร์ เวินอี้ลุ่น และคัมภีร์ เวินปิ้งเถียวเปี้ยน โดยคนไข้ในประเทศจีนมักใช้วิธีรักษาด้วยยาจีน การฝังเข็ม ครอบแก้ว ควบคู่กับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน

นอกจากนี้มีงานวิจัยพบว่า คนที่เป็นโรค ไข้เลือดออก ส่วนใหญ่มีสภาพร่างกายอยู่ในกลุ่มภาวะโรคร้อนชื้น รองลงมาคือ กลุ่มภาวะโรคเสมหะและความชื้นสะสม แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีสภาวะร่างกายอยู่ในกลุ่มไหน มีวิธีเช็กดังนี้ค่ะ

 

กลุ่มภาวะโรคร้อนชื้น 

จะเป็นผื่นง่าย หิวน้ำบ่อย น้ำหนักตัวมากตัวบวม ปัสสาวะเหลือง ถ่ายไม่สะดวก อุจจาระเหนียว ลิ้นเป็นฝ้าหนาสีเหลือง ลิ้นแดงชีพจรลื่นเร็ว เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นมักเกิดเป็นโรคในกลุ่มร้อนชื้นได้ง่าย เช่น ฝี หนอง ผดผื่นคัน โรคดีซ่าน

กลุ่มภาวะโรคเสมหะและความชื้นสะสม

เป็นคนอ้วน ท้องใหญ่ น้ำลายเหนียวสภาพร่างกายที่มีความชื้นสะสมอยู่มากเมื่อเข้าฤดูฝนยิ่งทำให้ร่างกายมีความชื้นมากขึ้นไปอีก ทำให้เป็นโรคอ้วนและโรคในระบบทางเดินหายใจง่ายขึ้น

ไข้เลือดออก แพทย์แผนจีน

ป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยการแพทย์แผนจีน

ในมุมมองการแพทย์แผนจีน พบว่ากลุ่มคนที่มีภาวะโรคร้อนชื้น และภาวะโรคเสมหะและความชื้นสะสม จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคไข้เลือดออก และมีอาการที่รุนแรงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นจึงต้องป้องกันไม่ให้ยุงกัด หรือกินยาจีนเพื่อปรับสมดุลร่างกาย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคได้

ในช่วงที่ไข้เลือดออกระบาด แนะนำให้กินยาจีนที่มีสรรพคุณขับพิษร้อน ลดความร้อน ห้ามเลือด และขับชื้น ซึ่งในชุดหนังสือ จงอีเย่าเสวเกาจี๋ฉงซู ฉบับเวินปิ้งเสว ระบุว่าให้ต้มตัวยา 4 ชนิด ดังนี้

1. ป่านหลานเกิน (Isatis Root) 30 กรัม

2. หนิวจินฉ่าว (Eleusine indica) 30 กรัม

3. ตี้ต่านโถว (Scabrous Elephant-Foot Herb) 30 กรัม

4. กันเฉ่า (Licorice Root) 3 กรัม

 

รวมถึงต้องมีการฝังเข็มในจุดต่างๆ เพื่อขับความร้อน ลดพิษ และเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย

ส่วนแนวทางการรักษาโรคไข้เลือดออกตามแพทย์แผนจีนยังต้องแบ่งระยะการดำเนินโรคเพื่อปรับการใช้ยา การฝังเข็ม ให้เหมาะสมกับร่างกายคนไข้แต่ละคนร่วมกับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันด้วย

ไข้เลือดออก แพทย์แผนจีนไข้เลือดออก แพทย์แผนจีน

ในอนาคตประเทศไทยจะพัฒนาให้มีการใช้แพทย์แผนจีนและแพทย์แผนปัจจุบันมารักษาคนไข้แบบบูรณาการ เพื่อประโยชน์ของคนไข้ วงการแพทย์ และระบบสาธารณสุขต่อไป

 

จาก คอลัมน์หมอจีนประจำบ้าน นิตยสารชีวจิต ฉบับ 446


บทความน่าสนใจอื่นๆ

3 โรคร้าย อันตรายที่มาจาก ยุง

4 สมุนไพร ต้านโรคจากยุง

ระวัง 5 โรคร้ายหน้าฝน

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.