หน้าร้อน หลายคนหยุดออกกำลังกาย แต่เรามีเทคนิคให้เวิร์คเอ้าท์ช่วงซัมเมอร์ได้สบายๆ
หน้าร้อน หากต้องการออกกำลังกายแบบไม่หน้ามืด ร่างกายจะปรับตัวอย่างไร นายแพทย์กรกฎ พานิช อาจารย์ประจําวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล มีคำอธิบาย
ร่างกายจะมีการระบายความร้อน ซึ่งระบบที่ใช้และมีประสิทธิภาพมีสองระบบหลักๆ คือ หนึ่ง การระบายความร้อนโดยเหงื่อ สอง ทางลมหายใจ การระบายความร้อนในร่างกายจะดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสองประการ คือ หนึ่ง สิ่งแวดล้อมภายนอก ถ้าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง การระบายความร้อนออกจากร่างกายก็เป็นไปได้ยาก ดังนั้น ถ้าเราออกกําลังกายในวันที่ครึ้มฟ้าครึ้มฝนในช่วงหน้าร้อน โอกาสจะเกิดปัญหากับร่างกายก็จะสูง
สอง คือ ปัจจัยภายในตัวเรา เช่น หนึ่ง การเกิดความร้อนสะสมจากการออกกําลังกาย ถ้าออกกําลังกายเป็นเวลาต่อเนื่องและยาวนานจะเกิดความร้อนสะสมสูงมาก ระบบระบายความร้อนจึงต้องทํางานมาก สอง การมีโรคประจําตัว โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง เช่น หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตโรคกลุ่มนี้จะมีปัญหาที่ระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทําให้ความสามารถในการระบายความร้อนลดลง
สาม คนที่กินยาลดน้ํามูก ยาขับปัสสาวะ ยากลุ่มนี้จะทําให้ประสิทธิ-ภาพของการระบายความร้อนลดลงเช่นกัน สี่ คนที่พักผ่อนน้อยก็ส่งผลต่อระบบการระบายความร้อนด้วย
วิ่งอย่างไรในหน้าร้อน
เคล็ดลับการวิ่งในฤดูร้อน มีดังนี้
1.ควรวิ่งในเวลาเช้าหรือเย็นที่แดดร่ม
2.ควรวิ่งบนสนามหญ้า เพราะมีไอความร้อนสะท้อนออกมาน้อยที่สุด
3.กินขนมปังโฮลวีตและดื่มน้ําอาร์ซีแก้วใหญ่รองท้องก่อนออกไปวิ่ง เนื่องจากเมื่อออกวิ่งไปแล้ว เลือดจะไปเลี้ยงกระเพาะอาหารและลําไส้น้อยลง ทําให้การดูดซึมอาหารไม่ดี การดื่มน้ําอาร์ซีจะทําให้ร่างกายนําน้ําตาลกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานในการวิ่งได้ทันที
4.เลือกรองเท้าที่เหมาะสําหรับการวิ่ง เพราะจะช่วยรับแรงกระแทกได้ดี จึงลดปัญหาการบาดเจ็บที่ข้อเข่า5.สําหรับคนเพิ่งหัดวิ่ง เมื่อออกสตาร์ตควรวิ่งช้าๆจนรู้สึกว่าร่างกายปรับตัวได้ คือ ไม่รู้สึกเหนื่อย จึงเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ เมื่อจะหยุดวิ่ง ให้ค่อยๆลดความเร็วลงจนกลายเป็นเดินช้าๆ อย่าหยุดทันที เพราะจะทําให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้
ออกกําลังกายหน้าร้อนไม่ให้ป่วย
คุณหมอกรกฎแนะนําดังนี้
1.วอร์มร่างกายก่อนจะออกกําลังกายทุกครั้งเป็นเวลา 5-10 นาที
2.การยืดเหยียดร่างกายก่อนเล่นกีฬา จะช่วยให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้น ทําให้การระบายความร้อนของร่างกายดีขึ้น
3.หลังจากออกกําลังกายแล้วต้องคูลดาวน์ร่างกายทุกครั้งเป็นเวลา 5 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
4.หากมีอาการเหนื่อยควรหยุดพักไม่ควรฝืนเล่นต่อเพื่อให้ถึงตัวเลขที่มีคนแนะนําเช่นต้องได้50นาที หรือ1ชั่วโมงควรพักทันทีที่รู้สึกว่าร่างกายไม่ไหว โดยเฉพาะผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
บทความอื่นที่น่าสนใจ
รู้จักสิวผดก่อนหน้าพัง! เพราะสิวผดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแค่ฤดูร้อนเท่านั้น
โรคหน้าร้อน ยอดฮิต ของผู้สูงวัย
6 โรคผิวหนังหน้าร้อน และวิธีป้องกันต้อนรับซัมเมอร์