ปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก้ อาการสำลัก ก่อนหมดสติ
อาการสำลัก ในผู้สูงอายุ ระบบการกลืนของคนเรานั้นเป็นการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) ซึ่งแยบยลและออกแบบไว้อย่างละเอียดอ่อนมาก และเขาทำของเขาเอง สมองไปสั่งการอะไรไม่ได้
แต่ระบบประสาทอัตโนมัตินี้พอแก่ตัวลงแล้วมันจะเริ่มรวนเหมือนระบบไฟฟ้าในรถยนต์เก่านั่นแหละ ภาษาหมอเขาเรียกว่า Dysautonomia การกลืนก็ไม่แยบยลเหมือนเดิม หนุ่มๆ เคยเอาหัวห้อยลง แล้วยังกลืนได้ ปูนนี้แล้วถ้าจะลองทำก็อาจจะได้กลับบ้านแทน…หึๆ ขอโทษ พูดเล่น ดังนั้นผู้สูงอายุจะต้องชดเชยการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่คุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานด้วย
การทำงานของกล้ามเนื้อลาย หมายถึงกล้ามเนื้อที่เป็นลูกน้องสายตรงของเราซึ่งสมองเราสั่งได้ (Voluntary Muscle) ด้วยการกินอย่างตั้งใจ กินอย่างสโลว์โมชั่น ค่อยๆ บรรจงเคี้ยวเอื้องไปเคี้ยวอย่างตั้งใจ ลิ้มรสอย่างตั้งใจ จนอาหารเหลวเป็นครีม แล้วจึงค่อยๆ บรรจงกลืน
ก่อนกลืนก็ตั้งสติก่อนว่า เฮ้ย…ข้าจะกลืนแล้วนะ แล้วค่อยกลืนช้าๆ กลืนอย่างตั้งใจ เวลาจะจิบน้ำ แม้จะเป็นน้ำเปล่าๆ อุ่นๆ อยู่นี่ก็ตาม อย่าได้ทำตัวแบบสมัยหนุ่มๆ คว้าแก้วได้แล้วซดพรวดแบบนั้นมีหวังได้กลับบ้านง่ายๆ อีกเหมือนกัน ยิ่งเป็นน้ำที่มีความระคายเคือง เช่น น้ำขิง น้ำมะนาว พี่ท่านต้องจิบเข้าไปตั้งหลักไว้ในปากก่อน รับรู้รสของเขาก่อน ให้โมเลกุลของเขาฟุ้งกระจายไปในลำคอและกล่องเสียงให้สายเสียงได้คุ้นเคยก่อนสักพัก จนแน่ใจว่ากล่องเสียงและสายเสียงรับกลิ่นหรือสู้ความระคายเคืองของเขาได้ ไม่สำลัก ไม่ไอ ไม่จาม จึงค่อยๆ บรรจงกลืนลงไปทีละนิด ทีละนิด อย่างช้าๆ การจิบคำต่อๆ ไปก็ใช้หลักเดียวกัน อย่าพรวดพราดแบบสาดเหล้าลงคอเป็นอันขาด
เอาละคราวนี้มาตอบคำถามของเรื่องการสำลัก ผมขอแยกตอบเป็น 2 กรณี