ซึมเศร้า ประสบการณ์สุขภาพ แก้โรคซึมเศร้า ประสบการณ์

4 ประสบการณ์สุขภาพ รู้ทันจิต & ฟิตร่างกาย หาย ซึมเศร้า 100%

ประสบการณ์ที่ 4 : บวชสงบใจ หายซึมเศร้า

เมื่อสองปีที่แล้ว คุณบอส อายุ 25 ปี เครียดเรื่องโปรเจ็กต์การเรียนจนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

“ตอนน้นั เร่มิ สังเกตตัวเองพบว่า อะไรที่เราเคยทำแล้วเอ็นจอยเรากลับไม่เอ็นจอยกับสิ่งนั้นอีกแล้ว ทำอะไรก็ไม่สนุกเท่าเดิม เช่นเคยชอบเคยสนุกกับการเล่นเกมก็ไม่สนุก นอนเยอะ ไม่ลุกออกจากเตียง ตอนกลางวันรู้สึกเหนื่อยเพลีย ปวดหัว การเรียนดร็อปลง ความจำไม่ค่อยดีเหมือนเดิม สอบแค่ 15 นาทีก็ออกจากห้อง เพราะรู้ตัวว่าทำไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ไม่มีกะจิตกะใจจะทำอะไร เอาแต่นอน

“จากตอนแรกที่เราคิดแค่ว่าเราเครียด นานวันเข้าก็ชักจะเอะใจแล้วว่า นี่คงไม่ได้เป็นความเครียดตามปกติ ก็เริ่มหาข้อมูลพบว่า อาการที่เราเป็นตรงกับโรคซึมเศร้า

“เราปรึกษาเพื่อนด้วย ซึ่งเพื่อนก็แนะนำให้รู้จักกับเพื่อนที่เรียนจิตวิทยา ก็ได้ไปปรึกษาเขา ปรึกษากันอยู่ 1 – 2 เดือน เขาก็แนะนำให้ไปหาหมอ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสารเคมีในสมองด้วยก็กินยาไปก่อน ตอนแรกไม่รู้สึกอะไร แต่พอกินมาอย่างต่อเนื่องก็เห็นผล สามารถปรับสารเคมีในสมองให้ดีขึ้น ลงตัวขึ้น”

ซึมเศร้า ประสบการณ์สุขภาพ แก้โรคซึมเศร้า ประสบการณ์

แต่ปัญหาโรคซึมเศร้าที่ดูเหมือนจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นของคุณบอสกลับสวิงไปสู่อีกหนึ่งปัญหา

“ตอนนั้นเราก็คิดว่าหมอรักษาเราจนหายดีแล้ว เพราะรู้สึกว่าตัวเองแฮ็ปปี้มาก แต่กลับกลายเป็นว่า นั่นคืออาการมาเนียที่จะมีความรู้สึกแฮ็ปปี้เกินเหตุ ชอบเข้าสังคม มีความคิดที่เป็นอุดมการณ์เกินตัว ตอนนั้นเราไม่รู้ คิดว่าเราเพิ่งหายก็เลยลั้นลาเป็นปกติ ไปเข้าค่ายก็ไปแสดงความมั่นใจในตัวเองสูง อีโก้เยอะมีความคิดแบบพลุ่งพล่าน กลายเป็นทะเลาะกับคนอื่นไปทั่ว

“ครอบครัวและเพื่อนๆ ก็เห็นตรงกันว่าเราควรเดินทางกลับไปพักที่บ้านต่างจังหวัดก่อน ระหว่างนั้นก็รักษาตัวอย่างต่อเนื่องหมอให้ยาต่ออีก หมอสรุปว่า เรามีอาการของโรคไบโพลาร์ ซึ่งจะมีอาการซึมเศร้าและมาเนียวนเป็นลูปสลับกันไป แต่หายได้”

ระหว่างนั้นคุณบอสตัดสินใจบวช และช่วงเวลานี้เองที่ทำให้คุณบอสหายเป็นปกติ

“เรามาหายจากโรคพวกนี้จริงๆ ตอนไปบวช เพราะได้อยู่กับตัวเอง มีเวลาจัดระเบียบความคิดของตัวเองจริงๆ ได้คิดว่าคนเราเมื่อป่วยเป็นโรคนี้จะพึ่งยาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องปรับทัศนคติด้วย ตอนบวชได้มาทบทวนตัวเองว่า เพราะทัศนคตินี่เองที่ทำให้เราเป็นโรคซึมเศร้าเพราะที่ผ่านมาเราเป็นเพอร์เฟ็กชั่นิสต์ ออกแนวเป็นคนมองโลกในแง่ลบ มองทุกอย่างแบบ Worst Case ไว้ก่อน ไม่มองอะไรในแง่ดีแล้วเอามาชั่งน้ำหนักเฉลี่ย เราตึงเกินไป เมื่อความคิดเป็นระเบียบมีเหตุผล ทำให้เข้าใจตัวเอง เข้าใจคนรอบข้าง เข้าใจสถานการณ์มากขึ้น ปรับตัวปรับใจได้ดีขึ้น ความเครียด ความกดดันก็ลดลงครับ”

ชีวจิต หวังว่า 4 ประสบการณ์นี้จะช่วยให้คุณผู้อ่านเข้าใจโรคซึมเศร้าในมิติที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคนี้เกิดกับตัวคุณเองและคนที่คุณรัก

 

ข้อมูลจาก คอลัมน์ประสบการณ์สุขภาพ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 465


บทความน่าสนใจอื่นๆ

วิธีป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ทำง่ายๆ แค่ลูกหลานร่วมมือ

แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

เคล็ดลับหยุดนิสัยโทษตัวเอง ก่อนป่วยซึมเศร้า

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่