มารู้จัก 4 สมุนไพรธรรมชาติ บรรเทา อาการวัยทอง
หนึ่งในความกังวลของผู้หญิงทุกคนเมื่อถึงวัย 40 ปีขึ้นไปคือ อาการวัยทอง ซึ่งเป็นใครก็ไม่อยากให้ถึงวัยนี้เร็วนัก เพราะได้รับขนานนามว่าวัยทองแล้ว มักคิดถึงวัยที่มีปัญหาสุขภาพ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักอาการวัยทองและวิธีรับมืออาการวัยทองด้วยสมุนไพรจากธรรมชาติกันครับ
วัยทอง คืออะไร?
วัยทองในผู้หญิง คือ วัยหมดประจำเดือน โดยสามารถเริ่มได้ตั้งแต่หญิงอายุ 40-55 ปี โดยเฉลี่ยอายุคือ 50 ปี เมื่อถึงวัยนี้รังไข่จะหยุดทำงานและไม่มีการตกไข่อีกต่อไป ทำให้ไม่มีประจำเดือนและไม่มีการสร้างฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่อีก ฮอร์โมนนี้มีชื่อว่า “เอสโตรเจน” (ESTROGEN) และ “โปรเจสเตอโรน” (PROGESTERONE) ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองนี้จะช่วยในการทำให้มีประจำเดือน , ตั้งครรภ์ , เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและลดระดับคอเลสเตอรอล
อาการของวัยทองมีอะไรบ้าง ?
– ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ เช่น มาเร็ว มาช้า มามาก มาน้อย
– ร้อนวูบวาบ (HOT FLUSH) โดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย , เหนื่อยง่าย ,ใจสั่น ,เหงื่อออกมากตอนกลางคืน (NIGHT SWEAT)
– ปัญหาเรื่องการนอน (INSOMNIA) นอนหลับยาก , ตื่นเร็ว อาจตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจะบ่นเรื่องเหนื่อย รู้สึกเหมือนนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ
– ผู้ป่วยมีอารมณ์ผันผวน โกรธง่าย ไม่ค่อยมีสมาธิ (EMOTIONAL DISTURBANCE) วิตกกังวล (NERVOUSNESS) หรือซึมเศร้า (MELANCHOLIA)
– ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระดับเอสโตรเจนลดลง ทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลง (VAGINAL DRYNESS) มีอาการแสบร้อนในช่องคลอด มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์และมีการติดเชื้อในช่องคลอดง่ายขึ้น , กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ , ปัสสาวะเล็ดเวลาไอหรือจาม
– ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย (FATIQUE) , มีอาการชา (PARESTHESIA) (อ่านเพิ่มเติม วิธีแก้ปวด )
– ผิวหนังจะบางลง แห้ง มีอาการคันตามผิวหนังยุบยิบคล้ายแมลงไต่ (FORMICATION)
– ปัญหากระดูกพรุน (OSTEOPOROSIS) สตรีวัยทองความแข็งแรงของกระดูกจะลดลงทำให้กระดูกหักง่าย โดยปกติฮอร์โมนเอสโตรเจนจะช่วยในการเสริมสร้างและยับยั้งการทำลายกระดูก พอเมื่อขาดเอสโตรเจนก็จะทำให้กระดูกพรุนได้
การให้ฮอร์โมนทดแทนมีความเสี่ยงหรือไม่ ?
ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยทองในบางรายมีอาการรุนแรง ส่งผลในการดำเนินชีวิตประจำวัน อารมณ์แปรปรวนเครียดหรือซึมเศร้ารุนแรง กระดูกบางหรือพรุนอย่างรวดเร็ว แพทย์อาจพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ “เอสโตรเจน” (ESTROGEN) และ “โปรเจสเตอโรน” (PROGESTERONE) ซึ่งผลดีของฮอร์โมนคือช่วยลดอาการต่างๆดังกล่าวได้ แต่ต้องชั่งน้ำหนักผลดีผลเสียก่อนตัดสินใจ เพราะในบางรายอาจจะมีข้อห้าม เช่น มีภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน , โรคตับ , มีประวัติญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้นการไปหาซื้อฮอร์โมนทดแทนมาทานเอง อาจจะไม่ปลอดภัยหรือไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร
มีสมุนไพรในธรรมชาติ ที่ช่วยอาการวัยทองหรือไม่ ?
จากงานวิจัยพบว่า มีสมุนไพรในธรรมชาติที่มีส่วนช่วยเรื่องอาการวัยทอง ได้แก่
1. ตังกุยสกัด (Dong Quai Extract) ถูกขนานนามว่าเป็น โสมสำหรับสตรี มีสารสำคัญหลายชนิด เช่น ไลกัสติไล (Ligustilide), กรดเฟรูลิก (ferulic acid) และโพลีแซ็กคาไรด์ (polysaccharides) ถูกนำมาใช้ในตำราแพทย์แผนไทยโบราณในการปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ รักษาภาวะขาดประจำเดือน ใช้เป็นยาแก้ปวดประจำเดือนหรือรักษาอาการร้อนวูบวาบในหญิงหมดประจำเดือน
2. โบราจ ออยล์ (Borage Oil) น้ำมันโบราจให้กรดไขมันแกมมาไลโนเลนิก (Gamma-Linolenic Acid หรือ GLA) ในปริมาณสูงถึง 24-25% มีคุณสมบัติบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ลดอาการผิวหนังแห้ง คันลอกเป็นขุย ลดอาการปวดประจำเดือน เจ็บคัดหน้าอก หงุดหงิด หรือภาวะซึมเศร้าในระยะก่อนมีประจำเดือน(Premenstrual Syndrome; PMS) ป้องกันอาการร้อนวูบวาบในวัยทอง รวมทั้งลดอาการปวดข้อรูมาตอยด์
3. น้ำมันรำข้าว (Rice Bran Oil, Oryzanol)
สารออริซานอล (Oryzanol) ที่พบเฉพาะในน้ำมันรำข้าวเป็นสารที่มีการวิจัยพบว่าช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ (Hot Flashes) ในสตรีวัยทอง และลดภาวะกระดูกพรุน
นอกจากนั้นน้ำมันรำข้าวมีสารที่ช่วยลดการดูดซึมไขมันคอเลสเตอรอล และเพิ่มการขับคอเลสเตอรอลออกนอกร่างกาย จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลได้
4. เห็ดหลินจือแดงสกัดสายพันธุ์เกาหลี (Korean Red Linhzhi Extract)เห็ดหลินจือแดงสายพันธุ์เกาหลี สามารถบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยเรื่องปรับสมดุลเลือดในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดัน เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยทำให้นอนหลับสนิท
จะเห็นได้นะครับว่าธรรมชาติได้สร้างสรรค์สมุนไพรสำหรับผู้หญิงวัยทองมาให้แล้ว เราแค่เลือกสมุนไพรตามธรรมชาติที่มีคุณสมบัติตรงตามอาการเลือกซื้อสมุนไพรที่ปลอดภัยจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ มีมาตรฐานการผลิตที่ดีจะช่วยให้วัยทองกลับมาสดใสได้อย่างแน่นอน
หลินจือมิน แองเจิ้ล ตอบโจทย์ผู้หญิงวัยทองได้ทุกองศา มีส่วนผสมของตังกุย น้ำมันโบราจ น้ำมันรำข้าว และเห็ดหลินจือแดงสายพันธุ์เกาหลี ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก
เขียนโดย นพ.ดำรงค์ เลาหะพรสวรรค์
อ้างอิง :
– Roy Upton Herbalist, American Herbal Pharmacopoeia and Therapeutic Compendium, ISBN: 1-
929425-16-3, 2003.
– Inmaculada Tasset-Cuevas et al., Protective Effect of Borage Seed Oil and Gamma Linolenic
Acid on DNA: In Vivo and In Vitro Studies, 8(2): e56986, 2013
– Shoda H., Sugimoto O., Doi S. Clinical effect of γ-oryzanol in women with general malaise
(postmenopausal syndrome): Hormonal changes before and after treatment. World Obstet.
Gynecol. 1984;36(3):231–236. in Japanese.
– Kalani Hapuarachchi et al., Mycosphere Essays 15. Ganoderma lucidum – Are the beneficial
medical properties substantiated?, DOI: 10.5943/mycosphere/7/6/1, 2016