กินไขมัน

เทคนิคการ กินไขมัน สำหรับผู้ป่วย

เทคนิค กินไขมัน สำหรับผู้ป่วย

กินไขมัน ? ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็น ต้องจำกัดปริมาณให้เหมาะสม เพราะหากกินมากไป ย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วย ซึ่งควรรู้เทคนิคการกินเพื่อควบคุมอาการป่วยไม่ให้ลุกลาม ดังนี้

  • โรคเบาหวาน มักมีผลทำให้ไขมันในเลือดผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันในส่วนของไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ ยังมีผลทางอ้อมที่สัมพันธ์กับคอเลสเตอรอลด้วย แม้โรคเบาหวานจะไม่ค่อยมีผลต่อคอเลสเตอรอล ในเลือดของผู้ป่วยมากนักเมื่อเทียบกับคนไม่เป็น แต่ผู้ป่วยเบาหวานนั้นมีหลอดเลือดไม่แข็งแรง ดังนั้นจึงต้องดูแลตัวเองให้มีไขมันต่ำกว่าคนปกติ หรือใกล้เคียงปกติเพื่อดูแลเส้นเลือด ให้สุขภาพแข็งแรง

ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานจึงจำเป็นต้องควบคุมอาหาร ที่มาจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เนื่องจากเป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอล

  • โรคเกี่ยวกับออโตอิมมูน รองศาสตราจารย์ ดร.วินัย ดะห์ลัน คณะสหเวชศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำเรื่องการกิน ไขมันของคนที่เป็นโรคกลุ่มนี้ว่า โรคเกี่ยวกับระบบออโตอิมมูน เช่น เอสแอลดี รูมาทอยด์ นั้นสัมพันธ์ กับความสมดุลของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง คือ โอเมก้า -3 และโอเมก้า -6 ซึ่งโอเมก้า-6 จะเป็นตัวที่ก่อให้เกิดภาวะการอักเสบในเซลล์ ดังนั้นถ้าได้รับโอเมก้า-6 มากเกินไป จะทำให้เกิดฟรีแรดิเคิลซึ่งจะไปเร่งการอักเสบ

ดังนั้นผู้ป่วย ควรลดการกินอาหารที่มีโอเมก้า-6 แล้วเพิ่มอาหารที่มีโอเมก้า-3 เพื่อช่วยลดการอักเสบ

คลิกเลข 2 เพื่ออ่านหน้าถัดไป

  • ภาวะคอเลสเตอรอลสูงจากพันธุกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดี แนะนำว่า หากมีประวัติชัดเจนว่า พ่อแม่พี่น้องมีคอลเลสเตอรอลสูง อาจมีโอกาสเสี่ยง จะเกิดความผิดปกติ ที่กระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงไขมันที่ตับ ไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ที่มีความผิดปกติกลุ่มนี้จะอ้วนไม่มากนัก แต่สามารถวัดระดับคอเลสเตอรอลได้สูงเกิน 300 หรืออาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น มีคอเลสเตอรอลเกาะตามผิวหนัง ตา หรือข้อต่างๆ

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จึงควรควบคุมอาหารประเภทไขมันให้สมดุล และควรพบแพทย์สม่ำเสมอ

เลือกกินให้เหมาะสมกับสุขภาพ และอาการโรคก็จะช่วยให้สุขภาพเลิศได้

ข้อมูลเรื่อง “เทคนิคกินไขมัน สำหรับผู้ป่วย” จาก คอลัมน์ เรื่องพิเศษ ฉบับที่ 263

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.