3 อาหารต้านมะเร็ง
เมื่อเอ่ยถึงคำว่า “สมุนไพร” กับ “โรคมะเร็ง” หลายคนมักคิดถึงทางเลือกในการรักษาที่ปลอดภัยอย่างการกิน อาหารต้านมะเร็ง และมีงานวิจัยจากหลายสํานักที่ประกาศว่าสมุนไพรบางชนิดอาจเอาชนะมะเร็งได้
ขณะที่อีกด้านหนึ่งกลับตั้งคําถามถึงประสิทธิภาพของการรักษาและคิดไปถึงข่าวคราวผู้ป่วยมะเร็งที่เสียชีวิตหลังการใช้สมุนไพรที่ยังคงมีให้ได้ยินได้ฟังกันอยู่เนืองๆ
เราจึงชวนมารู้จักกับกลุ่มสมุนไพรที่มีการศึกษาวิจัยว่ามีสารบางอย่างที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกายซึ่งอาจมีผลต่อการป้องกันการเกิดมะเร็งได้ พร้อมวิธีกินวิธีใช้
ขมิ้นชัน
ปัจจุบันมีการเผยแพร่สรรพคุณของขมิ้นชันที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมายหลายด้านด้วยกันและ
หนึ่งในนั้นคือการป้องกันและเยียวยามะเร็ง คุณหมอดวงรัตน์ให้ความเห็นว่า ขมิ้นชันมีฤทธิ์เป็นแอนติออกซิแดนต์ เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณดีมากในการทําลายฟรีแรดิคัลในร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากการกินอาหารผิดๆ เป็นต้น และอย่างที่ทราบกันดีว่า ฟรีแรดิคัลเป็นตัวการใหญ่ที่ทําให้เกิดมะเร็ง การกินขมิ้นชันจึงอาจช่วยลดปัจจัยเสี่ยงนี้ได้ แต่ต้องทําร่วมกับการปรับวิถีชีวิตด้านอื่นๆ ให้อยู่ในวิถีสุขภาพด้วย ปัจจุบันยังไม่มีการใช้ขมิ้นชันเป็นยาเพื่อรักษามะเร็งแต่อย่างใด
How to use: มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรและสํานักข้อมูลสมุนไพรและคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลได้ศึกษาและยืนยันว่าสามารถรับประทานขมิ้นชันได้อย่างต่อเนื่องเป็นประจํา
ทุกวันโดยไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย ขมิ้นชันจึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้ป้องกันมะเร็งได้
ดังคํากล่าวที่ว่า “Teaspoon of Turmeric a Day Can Keep Cancers at Bay!”
คุณหมอดวงรัตน์แนะนําว่า การกินขมิ้นชันเพื่อบํารุงสุขภาพไม่มีขนาดตายตัว เพื่อการต่อต้าน
ฟรีแรดิคัลควรกินขมิ้นชันปริมาณวันละไม่ต่ํากว่า 1,000 มิลลิกรัม ดังนั้น อาจกินขมิ้นชันวันละ 2-3 แคปซูลหลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน
Tip: เคล็ดลับดูแลสุขภาพด้วยขมิ้นชันของคุณหมอดวงรัตน์ คุณหมอดวงรัตน์กินขมิ้นชันชนิดลูกกลอน 3-4 เม็ดก่อนนอนเพื่อทําลายฟรีแรดิคัลตัวการก่อมะเร็ง
Caution! ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ําดีและท่อน้ําดีอุดตันไม่ควรรับประทานขมิ้นชัน เพราะอาจทําให้มีการหลั่งของน้ําดีและเกิดการตกตะกอนมากขึ้น ทําให้อาการแย่ลง สตรีมีครรภ์ควรใช้ปริมาณน้อยและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
เห็ดหอม
คุณหมอสมสินธุ์เล่าว่า เห็ดหอมเป็นเห็ดที่รู้จักกันดีทั่วไปว่ามีคุณประโยชน์และมีรสชาติอร่อย
เห็ดหอมเป็นที่รู้จักในเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ชาวญี่ปุ่นเรียกเห็ดหอมว่า “ชิตาเกะ” (Shiitake) ในต่างประเทศแถบยุโรปและสหรัฐอเมริกาเรียกว่า Oak mushroom บ้าง Oriental Black Mushroom บ้าง เห็ดหอมคุณภาพดีที่สุดคือเห็ดหอมจากทางเหนือของมณฑลกวางตุ้งและเขตปกครองตนเองกว่างซี ประเทศจีน ถ้าเก็บเกี่ยวในฤดูหนาวจะเรียกว่า “ตังโกว”
เห็ดหอมมีสารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิดตําราเภสัชศาสตร์ของจีน(Compendium of Meteria Medica) บันทึกว่า เห็ดหอมช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้ผู้ป่วยมะเร็งและช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง คุณหมอดวงรัตน์ให้ความเห็นว่า มีการศึกษาพบว่าเห็ดหอมอาจมีผลดีต่อการรักษาโรคมะเร็ง เพราะพบว่าป้องกันการเติบโตของเนื้อร้ายหรือเซลล์มะเร็งได้ มีสารสําคัญช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก แต่การวิจัยในคนยังไม่สรุปออกมา จึงยังไม่ใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็ง แนะนํา
ให้กินเห็ดหอมเป็นอาหารเพื่อช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและเป็นยาอายุวัฒนะ
How to use: กินเป็นอาหารสัปดาห์ละ 1 ครั้งเพื่อบํารุงสุขภาพ
ชาเขียว
น่าดีใจที่ทุกวันนี้ชาเขียวกลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของคนทุกวัย เพราะนอกจากจะมีรสชาติดีแล้ว ยังมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งเต้านมได้ด้วย คุณหมอสมสินธุ์เล่าถึงสารต้านมะเร็งตัวสําคัญที่มีประโยชน์ในการป้องกันและเยียวยามะเร็งในชาเขียวว่า “สารต้านมะเร็งจากชาเขียวคือ Pro-EGCG สารนี้มีฤทธิ์ต้านมะเร็งในระยะเริ่มแรก ขัดขวางการเจริญเติบโตของหลอดเลือดที่จะไปเลี้ยงเซลล์มะเร็ง มะเร็งจึงแบ่งตัวไม่ได้ ทั้งยังไปจับกับโปรตีนบางชนิดในเซลล์ปกติ ยับยั้งการเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง”
ข้อมูลจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานว่า การศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 3,454 คน และอาสาสมัคร 3,474 คน อายุระหว่าง 20-74 ปี ในนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ระหว่างปี 1996-2005 โดยสัมภาษณ์ลักษณะนิสัยในการดื่มชาเขียว ซึ่งรวมถึงอายุที่เริ่มดื่มชา ระยะเวลาที่ดื่มชา ความเข้ม-อ่อนในการชงชา และปริมาณชาที่ดื่ม พบว่า ผู้ที่ดื่มชาเขียวเป็นประจํามีอัตราเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านมลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ดื่ม
How to use: คุณหมอดวงรัตน์แนะนําว่า เราดื่มชาเขียวได้เป็นประจํา แต่ไม่ควรดื่มปริมาณมากเกินไป และแนะนําให้ดื่มแบบไม่ปรุงแต่งไม่ใส่นมไม่ใส่น้ําตาล
ว่าแล้วก็รีบไปเดินซุเปอร์มาร์เก็ตหาซื้อมาไว้ติดครัวกันในไวเลยค่ะ
ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 328
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ