โลว์โซเดียม เลือกยังไงให้ดีกับไต หัวใจ และหลอดเลือด

ในยุคที่คนหันมารักสุขภาพกันมากขึ้น เครื่องปรุงโลว์โซเดียม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้การดุแลสุขภาพเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น และในท้องตลาดกันมากขึ้นแล้วเราจะเลือกอย่างไร แอดมีวิธีมาฝากกันค่ะ

การกินโซเดียมในปริมาณมากๆ ไม่เพียงจะทำให้เกิดโรคไตได้เท่านั้น แต่ยังนำไปสู่โรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่าง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองเป็นต้น ซึ่งแต่ละโรคมีความน่ากลัวทั้งนั้นเลยค่ะ

ปริมาณโซเดียมต่อวัน

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO แนะนำปริมาณการบริโภคโซเดียมต่อวันไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม ต่อวัน ทางด้าน สสส. แนะนำให้คนไทยบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัม

สำหรับในกรณีที่ต้องการควบคุมปริมาณโซเดียมเพื่อให้เห็นผลได้ชัดในทางสุขภาพ จะต้องควบคุมปริมาณให้ไม่เกิน  1,500 มิลลิกรัม ต่อวัน จึงจะช่วยลดความดันโลหิตลงได้

แต่จากการสำรวจพบว่าคนไทบบริโภคโซเดียมถึงวันละ 3,636 มิลลิกรัม 

เกือบเป็น 2 เท่าของปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนด จึงส่งผลให้คนไทยมีภาวะความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายหนา เกิดการสะสมของพังผืดในกล้ามเนื้อหัวใจ

เครื่องปรุงโลว์โซเดียม

เป็นเครื่องปรุงที่มีส่วนประกอบความเค็มแตกต่างจากเครื่องปรุงปกติทั่วไป ที่นิยมเป็นเครื่องปรุงโลว์โซเดียม เช่น น้ำปลา ซีอิ๋วขาว ซอสปรุงรส น้ำมันหอย เป็นต้น

สารให้ความเค็มในเครื่องปรุงทั่วไปคือ เกลือโซเดียมคลอไรด์ แต่ในเครื่องปรุงโลว์โซเดียมจะเลือกใช้เกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ทดแทน ซึ่งให้ความเค็มเช่นเดียวกัน

เลือกซื้ออย่างไร

สำหรับบุคคลทั่วไป ที่ไม่มีโรคประจำตัวสามารถเลือกใช้เครื่องปรุงโลว์โซเดียมได้ทั้งหมด

หากมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคไตในระยะ 3b – 5 ทั้งก่อนและหลังฟอกไต ควรเลือกเครื่องปรุงโลว์โซเดียมชนิดไม่เติมเกลือโพแทสเซียมทดแทน โดยสามารถสังเกตได้ที่ฉลาก และส่วนประกอบ

ที่มา โรงพยาบาล BNH

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ตัวบวม หน้าบวม เพราะกินอาหารรสจัด (เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม) มากเกินไปหรือเปล่า?

กินเค็มเยอะ ระวังได้มากกว่าโรคไต

ป่วยโรคไต ไม่ใช่แค่เลี่ยงเค็ม ยังมีอีกหลายแร่ธาตุที่ควรหลีก

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.