ลูเต้อร์

ลูเต้อร์ สุนัขนำทาง ผู้เป็นดวงตาของทราย-คีริน เตชะวงศ์ธรรม

Q : ทรายทำเพจได้ยังไง?
A : ทรายใช้โปรแกรมเสียง หรือ Screen-reader program ซึ่งจะอ่านข้อความต่าง ๆ ที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และมือถือ รวมถึงทรายได้รับการฝึกฝนในการใช้คอมพิวเตอร์ และมือถือ ซึ่งทำให้ทรายสามารถอ่านข้อความต่าง ๆ และเขียน posts และ comments ได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ยังเป็นสิ่งหนึ่งที่คนพิการทางสายตามีอุปสรรคในการเข้าถึงอยู่ค่อนข้างมาก เพราะหลาย ๆ websites และโปรแกรมก็ไม่ได้ถูกออกแบบให้ใช้ได้กับโปรแกรมเสียงค่ะ

Q : ทรายทำเพจได้ยังไง?
A : ทรายใช้โปรแกรมเสียง หรือ Screen-reader program ซึ่งจะอ่านข้อความต่าง ๆ ที่อยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์และมือถือ รวมถึงทรายได้รับการฝึกฝนในการใช้คอมพิวเตอร์และมือถือ ซึ่งทำให้ทรายสามารถอ่านข้อความต่าง ๆ และเขียน posts และ comments ได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีก็ยังเป็นสิ่งหนึ่งที่คนพิการทางสายตามีอุปสรรคในการเข้าถึงอยู่ค่อนข้างมาก เพราะหลาย ๆ websites และโปรแกรมก็ไม่ได้ถูกออกแบบให้ใช้ได้กับโปรแกรมเสียงค่ะ

 

ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com/guidedogluther

 

Q : ลูเต้อร์กินอะไร ต้องกินอาหารพิเศษไหม?
A : ลูเต้อร์กินอาหารสุนัขปรกติค่ะ ไม่ได้กินอะไรพิเศษ แต่ทรายจะควบคุมการกินของเขาอย่างค่อนข้างเข้มงวด คือจะปรับปริมาณอาหารตามน้ำหนักเขา และจะไม่อนุญาตให้คนเอาขนมหมา หรืออาหารคนจากโต๊ะอาหารให้ค่ะ

Q : ประเทศไทยมีโรงเรียนฝึกสุนัขนำทางหรือยัง?
A : ตอนนี้ยังไม่มีค่ะ ซึ่งเราได้ยินมาว่าทางรัฐบาลก็ได้เคยพิจารณาโครงการนี้ แต่ยังไม่ได้ทำต่อ เพราะมีกฎเกณฑ์หลายอย่างที่เรายังทำไม่ได้ และมีค่าใช้จ่ายสูงค่ะ

Q : ทรายนำลูเต้อร์เข้ามาในประเทศไทยอย่างไร? และนำลูเต้อร์เข้าไปในห้องผู้โดยสารของเครื่องบินได้หรือเปล่า?
A : การที่ทรายจะนำลูเต้อร์จากอเมริกาเข้าไทย ต้องพาลูเต้อร์ไปตรวจร่างกายเพื่อให้สัตวแพทย์ออกเอกสารรับรองว่า เขาสุขภาพแข็งแรงและฉีดวัคซีนมาครบถ้วน ซึ่งเป็นกระบวนการที่คนมีสัตว์เลี้ยงทุกคนต้องทำ ไม่ได้เกี่ยวกับการเป็นสุนัขนำทางค่ะ ส่วนการเดินทางนั้นลูเต้อร์สามารถขึ้นเครื่องบินกับทรายโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เพราะกฏหมายระหว่างประเทศถือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการค่ะ ในระหว่างการเดินทางลูเต้อร์ก็จะนอนอยู่ใต้เก้าอี้ หรือในบริเวณที่วางขาของทราย โดยไม่ส่งเสียงรบกวน หรือเดินไปมารบกวนผู้โดยสารคนอื่นค่ะ

 

ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com/guidedogluther

 

Q : ลูเต้อร์จะอยู่กับทรายไปตลอดหรือเปล่า?
A : สุนัขนำทางตัวนึงมีอายุการทำงานเฉลี่ยราวแปดปี ซึ่งลูเต้อร์เริ่มทำงานตอนสองขวบ ดังนั้นจะทำงานไปได้จนอายุประมาณสิบขวบ หลังจากนั้นลูเต้อร์ก็จะเกษียณ ซึ่งถึงจุด ๆ นั้นทรายก็สามารถขอเขาไว้เป็นสัตว์เลี้ยงได้จนกระทั่งเขาเสียชีวิต อย่างไรก็ตาม หากทรายต้องการสมัครขอรับสุนัขนำทางตัวใหม่ และไม่สะดวกที่จะมีสุนัขสองตัว องค์กรที่ทรายได้รับลูเต้อร์มาก็อาจจะติดต่ออาสาสมัครที่เคยเลี้ยงลูเต้อร์ตอนเด็ก ๆ หรือหาครอบครัวที่จะรับลูเต้อร์ไปอุปถัมภ์ค่ะ

ซีเคร็ตมองว่า ในสังคมไทยตอนนี้มีข่าวที่แสดงให้ว่าผู้พิการสามารถเข้าถึงสถานที่และการบริการของรัฐได้มากขึ้น เช่น ข่าวรถเมล์สาย 510 ที่พนักงานประจำรถเมล์ดูแลการขึ้นและลงของผู้พิการเป็นอย่างดี (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >>> ประทับใจ พนักงานรถเมล์สาย 510 บริการผู้พิการได้ดีเยี่ยม – Secret) กรณีของคุณทราย-คีริน เตชะวงศ์ธรรม เป็นอีกปรากฏการณ์ที่ช่วยส่งแรงกระเพื่อมว่า สังคมไทยกำลังเปิดกว้างให้กับผู้พิการมากขึ้น

 

ขอบคุณภาพจาก www.facebook.com/guidedogluther

 

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสุนัขนำทาง

 

1. สุนัขได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี

ก่อนที่จะมาเป็นสุนัขนำทาง ต้องผ่านการทดสอบของโรงเรียนฝึกสุนัขก่อน โดยต้องผ่านการฝึกฝนก่อนเป็นเวลา 18 เดือน เมื่อผ่านการทดสอบแล้วสามารถเป็นสุนัขนำทางได้ จะได้รับการฝึกฝนการใช้ชีวิตไม่ให้เป็นภาระผู้พิการทางสายตา เช่น ไม่ส่งเสียงดังรบกวน หรือไม่ขับถ่ายไม่เป็นที่ เป็นต้น

2. คนทั่วไปที่พบเห็นไม่ควรชวนเล่นระหว่างสุนัขปฏิบัติงาน
หากสุนัขใส่บังเหียน ไม่ควรเข้าไปรบกวนหรือเล่นกับมันถึงใบหน้าของมันจะดูเป็นมิตรก็ตาม เพราะจะเป็นการรบกวนการสัญจรของผู้พิการทางสายตา หรือแม้กระทั่ง เรียกชื่อ ให้น้ำหรืออาหาร เพราะสุนัขต้องใช้สมาธิสูงในการนำทาง และดูแลความปลอดภัยให้กับเจ้าของ หรือแต่ช่วงที่สุนัขนอนอยู่ทั้งที่ยังใส่บังเหียน ถือว่ายังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ในเวลานั้นก็ห้ามรบกวน

3. สุนัขเข้า-ออกได้ทุกที่ 
แม้หลายสถานที่จะห้ามไม่ให้นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาข้างใน แต่ทางกฎหมายมีข้อยกเว้นอยู่ว่า สุนัขนำทาง เพราะเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้พิการทางสายตา เพราะฉะนั้น สุนัขนำทางคนตาบอด สามารถเข้า-ออกตามสถานที่สาธารณะได้

4. สุนัขนำทางไม่ใช่ GPS
เจ้าของต้องศึกษารายละเอียดเส้นทาง และวิธีการเดินทางไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้บังคับและควบคุมสุนัขไปยังจุดหมายได้ เพราะสุนัขเองก็ไม่ทราบเส้นทาง

5.  สุนัขไม่ได้ทำงานตลอดชีวิต 
สุนัขนำทางจำกัดอายุในการทำงานอยู่ที่ประมาณ 7-10 ปี หลังจากนั้นจะเกษียณและนำสุนัขนำทางตัวใหม่มาปฏิบัติหน้าที่แทน ส่วนใหญ่แล้วสุนัขก็จะอยู่กับเจ้าของหรือครอบครัวเดิมที่เคยเลี้ยงดูมาในตอนที่มันยังเด็ก แต่หากถ้าเจ้าของเดิมไม่สะดวกที่รับเลี้ยง จะมีการหาบ้านหลังใหม่ให้ หรือส่งตัวกลับไปยังโรงเรียนฝึกสุนัขที่เดิม

 

ที่มา :

www.facebook.com/guidedogluther

https://mgronline.com

https://waymagazine.org

https://pet.kapook.com

ภาพ :

www.facebook.com/guidedogluther


บทความน่าสนใจ

ดนตรีบำบัดช้าง นักเปียโนอังกฤษบรรเลงเพลงกล่อมช้างตาบอดที่เมืองกาญฯ

พอลร์ ผู้พิชิตไพร หนุ่มกะเหรี่ยงตาบอด สู้ชีวิตปลุกปั้นโรงงานเนยถั่วเพื่อเด็กด้อยโอกาส

True Story: แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว ตาบอด ไฟไหม้ ถูกโกงเงิน แต่ฉันก็ยังอยู่ได้ !

เจ เจตริน ช่วยเหลือนักร้องชายตาบอด แฟนเพลงเจตัวจริง

วันที่คนตาบอดมองเห็นวิญญาณ เรื่องจริงของ วิกกี้ อัมมิเปจ

หลุยส์ เบรลล์ ชายตาบอด ผู้สร้าง อักษรเบรลล์ ให้คนตาบอดทั่วโลกได้อ่านหนังสือ

อ่านหนังสือผ่านแอพ ให้คนตาบอด

เพราะ รักหมดใจ คุณตายอมเรียนแต่งหน้าเพื่อมาแต่งให้ภรรยาตาบอด

อัลลัน เฮนเนสซี ผู้ลี้ภัยตาบอด คว้าเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากเคมบริดจ์

ดีเร็ก ราเบโล นักเซิร์ฟ มืออาชีพตาบอด หนึ่งเดียวในโลก

เมื่อเด็กตาบอดกลายเป็นศิลปิน | กรุณาสัมผัส (Please Touch Exhibition)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.