ต่อมหมวกไตล้า

ต่อมหมวกไตล้า ผลจาก “เครียด” เรื้อรัง

ต่อมหมวกไตล้า โรคที่เกิดจาก ความเครียด

“ต่อมหมวกไตล้า” ฟังชื่อแล้วอาจคิดว่าเป็นภาวะที่เกี่ยวกับไตหรือเปล่า กินเค็มหรือเปล่า? แต่ความจริงแล้ว เป็นโรคที่เกี่ยวกับความเครียด และฮอร์โมนค่ะ ยิ่งถ้าเครียดมาก ก็ทำให้มีโอกาสมาก โดยอาการของภาวะนี้ ก็มักแสดงอาการที่ไม่รู้สึกว่าเป็นอาการป่วย และคนเป็นกันเยอะ เช่น ตื่นสาย อยากกินของหวาน บ่ายๆ ชักง่วง

แล้วเป็นอาการป่วยอย่างไร ไปดูกันค่ะ

ตรวจต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไตล้า กับความเครียด

ต่อมหมวกไต มีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนสำคัญๆ 3 ตัว โดย 2 ใน 3 ก็เป็นฮอร์โมนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความเครียด คือ

ฮอร์โมนคอร์ติซอล เป็นฮอร์โมนที่หลั่งในตอนเช้า โดยมีหน้าที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว รับมือกับภาวะต่างๆ ที่คาดไม่ถึง และฮอร์โมนนี่จะหายไปในยามเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายต้องการการพักผ่อนพอดี แต่หากมีความเครียดทั้งวัน ฮอร์โมนนี้ก็จะหลั่งทั้งวัน ตอนเย็นที่ควรได้พัก ร่างกายก็จะไม่ได้พัก ทำให้เกิดร่างกายเสื่อมโทรมลงได้

ฮอร์โมนดีเอชอีเอ เป็นฮอร์โมนสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) รวมทั้งยังเป็นฮอร์โมนตัวสำคัญในการต่อต้านกับความเครียด และเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกาย

หากว่าเราเครียดมากๆ ต่อมหมวกไตก็ต้องเร่งสร้างทั้ง 2 ฮอร์โมนนี้ออกมาก เพื่อจัดการกับความเครียด แต่หากเครียดมากๆ ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนออกมาไม่เพียงพอ ก็ทำให้ร่างกายเครียด แต่ยังไม่พอ เพราะว่าต่อมหมวกไตที่ทำงานมาหนัก ก็เกิดเป็นภาวะล้าไปเสีย

ความเครียด ทำให้ป่วย

ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน ฮอร์โมนอีกหนึ่งตัวที่สร้างโดยต่อมหมวกไต มีหน้าที่ควบคุมแร่ธาตุในร่างกายคือ โซเดียมและ โพแทสเซียมให้สมดุล หากว่าต่อมหมวกไตล้า หลั่งฮอร์โมนตัวนี้ออกมาไม่เพียงพอ ก็ย่อมทำให้ร่างกายทำงานไม่ปกติได้

สัญญาณความเครียด จนร่างกายป่วย อาการต่อมหมวกไตล้า

บอกไปอาการของต่อมหมวกไตล้า อาจทำให้รู้สึกเหมือนเป็นคนขี้เกียจ ทำนองตื่นสาย นอนดึก ง่วงตอนบ่าย มาดูกันค่ะว่า อาการเป็นอย่างไร

  • ไม่อยากตื่นตอนเช้า ร่างกายไม่มีแรง รู้สึกไม่สดชื่น
  • ตอนสายรู้สึกอึนๆ ต้องหากาแฟ ชา โกโก้มากระตุ้นให้รู้สึกมีเรี่ยวมีแรง
  • ช่วงบ่ายเริ่มง่วง หนังตามันตึงๆ อยากนอน
  • โหยของหวานให้รู้สึกตื่นตัว
  • ช่วงเย็นเริ่มดีด พอมืดแล้วคึกคัก กว่าจะได้นอนจริงก็ดึกดื่นเลยเที่ยงคืน
  • เวียนหัวตอนจะลุก จะนั่ง
  • ปวดฉี่บ่อยๆ
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูกบ้าง
  • เป็นภูมิแพ้ง่ายกว่าปกติ

หากมีอาการเหล่านี้แล้วปล่อยไว้ ไม่ปรับพฤติกรรม หรือปรึกษาคุณหมอ ก็อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายรวนได้ และเกิดเป็นปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้

รักษาความเครียด แก้อาการต่อมหมวกไตล้า

  • ต่อมหมวกไตล้า การแก้ที่ต้นเหตุคือรักษาความเครียด ป้องกันการเสพติดความเครียด เพราะนั่นจะยิ่งทำให้ต่อมหมวกไตล้ามากกว่า ส่วนการแก้อาการนั้น ก็ทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมค่ะ คือ
  • พักผ่อนให้ได้ 6 ชั่วโมง
  • ทานมื้อเช้าก่อน 10.00 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่คอร์ติซอลเริ่มลดลง ทำให้ยิ่งรู้สึกไม่สดชื่น
  • เลือกทานอาหารที่อุดมด้วยไขมันดี
  • หากง่วงหรือเพลีย ให้นอนพัก หรืองีบเป็นเวลาสั้นๆ
  • ทานอาหารมื้อเล็กๆ เน้นบ่อยๆ เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในร่างกาย ไม่ให้ลดต่ำลงเกินไป
  • หากิจกรรมคลายเครียด

สำหรับการป้องกันที่ดีสุดของภาวะต่อมหมวกไตล้า คือ ต้องไม่เครียดนะคะ

เรื่องอื่นๆ น่าสนใจ

เครียด หนัก สุขภาพเสื่อมกว่าที่คิด

ไม่ได้ชวนนอน แต่ชวน งีบ ทางลัดเพื่อสุขภาพ

กลิ่นบำบัด 5 โทนกลิ่น เลือกให้ถูก

ที่มา

  • โรงพยาบาลกรุงเทพ
  • โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
  • โรงพยาบาลพญาไท

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.