ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ ภัยร้ายไม่รู้ตัว

“ไขมันพอกตับ” หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือเป็นเรื่องที่จะไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่ความจริงแล้วใกล้ตัวกว่าที่คิด และเกิดได้ง่ายมากกับทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะอ้วนหรือผอมก็ตาม

ไขมันพอกตับ เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยน้ำตาล แป้งและไขมัน ในอดีตปัญหาไขมันพอกตับมักเกิดขึ้นในกลุ่มอายุ 40-50 ปี ขื้นไป เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้การเผาผลาญพลังงานในร่างกายน้อยลง ไขมันจึงไปสะสมในส่วนต่างๆ ของร่างกาย และตับก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่ไขมันมักไปสะสมอยู่จำนวนมาก  ทว่าในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะพบในเด็กที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ โดยพบว่าจำนวนเด็กที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับนั้นสูงถึง 22.5 – 44%

ไม่เพียงการพบโรคในวัยที่น้อยลงเท่านั้น ที่ทำให้ไขมันพอกตับเป็นเรื่องน่ากลัว แต่การที่พบไขมันพอกตับได้กับคนทุกรูปร่างก็เป็นเรื่องที่น่าตกใจไม่แพ้กัน จากการศึกษาพบว่าพบไขมันพอกตับในคนที่มีน้ำหนักเกินสูงถึง 60%  ในขณะที่ผู้มีรูปร่างผอมจะพบไขมันพอกตับได้ 19% ซึ่งเป็นภาวะอ้วนซ่อนรูป เนื่องจากไขมันพอกตับ เป็นไขมันที่ซ่อนอยู่ภายในช่องท้อง ไม่ได้แสดงออกมาให้เห็นนั่นเอง

สาเหตุการเกิดไขมันพอกตับ

ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับประเภท ปริมาณ และระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์
  2. กลุ่มที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการรับประทานที่อุดมด้วยน้ำตาล แป้ง ไขมันและผลจากโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบเผาผลาญ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือด เป็นต้น

โรคไขมันพอกตับมักไม่แสดงอาการ เมื่อมีความผิดปกติจึงไม่มีสัญญาณอาการเจ็บปวดใดๆ จะมีก็เพียงอาการเล็กๆ น้อยๆ ทั่วไป เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้  แต่จะมีอาการแสดงชัดเจนเมื่อตับมีสภาพทรุดโทรมไปมากแล้ว

ดูแลตับ

ระยะการเกิดโรคตับ

แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เริ่มมีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ ไม่มีอาการแสดง

ระยะที่ 2 เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ผู้ป่วยระยะนี้หากไม่มีการรักษาเกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังได้

ระยะที่ 3 จะมีอาการอักเสบรุนแรงต่อเนื่อง ในระยะนี้เซลล์ตับจะค่อยๆ ถูกทำลายและกลายเป็นพังผืดมากขึ้น นำไปสู่ภาวะตับแข็งได้

ระยะที่ 4 พบพังผืดในตับจำนวนมาก ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เกิดภาวะตับแข็งหรืออาจร้ายแรงถึงขั้นมะเร็งตับได้

การเกิดโรคไขมันพอกตับ ในระยะที่ 2 อาจจะมีอาการ ท้องอืด แน่นท้อง เจ็บชายโครงขวา ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายกับโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น กรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะ จึงทำให้หลายคนเข้าใจผิดเมื่อมีอาการเหล่านี้

อาหารบำรุงตับ

แต่ในปัจจุบันแม้จะพบผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับมากขึ้น แต่ก็เป็นเรื่องน่าเศร้าที่โรคไขมันพอกตับยังเป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่มียารักษา สิ่งที่จะทำได้ดีที่สุดคือการดูแลใส่ใจตับ ตั้งแต่เนิ่นๆ และบำรุงตับด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์  อย่างเช่นผลิตภัณฑ์ที่จะแนะนำในบทความนี้ อย่าง ลิฟพลัส (Livplus)  ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติ รวมกันถึง 12 ชนิด ช่วยบำรุงฟื้นฟูอย่างผสมผสาน ทั้งระบบตับ ระบบทางเดินอาหาร และระบบสมอง

เสริมการทำงานของระบบตับ ฟื้นฟูเซลล์ตับ เร่งการขจัดสารพิษออกจากตับและกระตุ้นการหลั่งน้ำดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ลดอาการจุกแน่น อืดท้อง ด้วยสารสกัดจาก

  • อาร์ติโช๊ค (Artichoke Extract)
  • แดนดิไลออน (Dandelion Extract)
  • แอสตรากาลัส (Astragalus Extract)
  • ผงขมิ้น (Turmeric Powder)

เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทางเดินอาหาร ฟื้นฟูสุขภาพลำไส้ กระตุ้นการขับถ่าย ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ในผู้ป่วยเบาหวานได้ ด้วยสารสกัดจาก

  • เห็ดหลินจือ (Reishi Extract)
  • เห็ดชิตาเกะ (Shitake Extract)

ลดฮอร์โมนความเครียดของระบบสมอง ความเครียดเนื่องมาจากการเจ็บป่วย ความกังวล ช่วยการนอนหลับพักผ่อนให้ดีขึ้น เร่งการฟื้นฟูร่างกาย ด้วยสารสกัดจาก

  • โสมเกาหลี (Ginseng Extract)
  • โสมไซบีเรีย (Siberian Ginseng Extract)
  • ชิแซนดร้า (Schisandra Extract)


เพราะ “ลิฟพลัส (Livplus)” ทำงานแบบ 3 ระบบผสมผสานกัน จึงทำให้ผู้ที่มีภาวะอาการ ปัญหาโรคตับ ฟื้นฟู คุณภาพชีวิตดีขึ้น พิสูจน์แล้วจากรีวิวผู้ทานจริงนับแสนคน แต่นอกจากนั้นแล้ว ควรปรับพฤติกรรมการทานอาหารประกอบด้วย เลี่ยงของหวาน มัน และทอด รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจควรสุขภาพประจำปีด้วยนะคะ

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.