เทคโนโลยีจุลินทรีย์ เริ่มต้นจากนักวิจัยระดับคุณภาพของไทย
น้อยคนนักจะทราบว่า ประเทศไทยมีนักวิจัย นักวิชาการที่ทำงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ฝีมือระดับโลกอยู่หลายท่าน ซึ่งวันนี้แอดจะพาไปทำความรู้จักกับนักวิจัยด้านจุลินทรีย์ที่ทุ่มทำงานมาอย่างยาวนาน เพื่อพัฒนางานด้านจุลินทรีย์ในเมืองไทย
ผู้เปิดโลกจุลินทรีย์ในเมืองไทย เพื่อสุขภาพดีของคนไทย
ดร. วิเชียร ยงมานิตชัย กรรมการและผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท สยาม อะกริ ซัพพลาย จำกัด หรือ SAS ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์โดยเฉพาะจุลินทรีย์สายพันธุ์ไทย เมื่อผู้บริหาร SAS เชิญท่านมาเป็นที่ปรึกษา ท่านทุ่มเททำงานด้านจุลินทรีย์เพื่อคนไทย สังคมไทยอย่างเต็มกำลัง โดยเฉพาะ การสร้างธนาคารจุลินทรีย์ของประเทศ
“เป้าหมายแรกที่ SAS ทําคือ ทําจุลินทรีย์โพรไบโอติก “เมื่อได้สายพันธุ์บริสุทธิ์แล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น สําหรับสัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ หมู ไก่ กุ้ง สายพันธุ์ที่เราต้องการหรือไม่ เราต้องทําการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ เราต้องให้ความสําคัญเรื่องกฎหมาย เพราะการจะนําจุลินทรีย์ มาให้สัตว์กิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ ซึ่งในทางกฎหมายจะมีจุลินทรีย์ที่อนุมัติว่าเป็นโพรไบโอติกประมาณ 40-50 ชนิด และพบว่ามีสายพันธุ์บาซิลลัสเยอะมากเกือบ 10 ชนิด เราจึงมั่นใจว่าสามารถใช้สายพันธุ์
กลุ่มบาซิลลัสมาเป็นจุดตั้งต้นการผลิตได้
“เป้าหมายที่ 2 เราจะเอาเชื้อมาจากที่ไหน ซึ่งวิธีการ ที่ถูกต้องตามกฎหมายและอยู่ในหลักจริยธรรมคือ เราต้อง ไปหาจากแหล่งธรรมชาติ ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ขึ้นชื่อว่ามีความหลากหลายของจุลินทรีย์เยอะมาก เพียงแต่ เราไม่ได้ทํางานวิจัยการใช้ประโยชน์ของจุลินทรีย์”
“ดังนั้นเราจึงไปเก็บเชื้อจากแหล่งที่เขาอาศัยอยู่ บาซิลลัสอยู่ในอาหารหมักดอง ซึ่งอาหารหมักดองของชาวเอเชียตะวันออกชนิดหนึ่งก็คือถั่วเน่า เราจึงเดินทางไปเก็บ ตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์ในจังหวัดภาคเหนือกว่า 10 จังหวัด และข้ามไปเขตพม่าที่เป็นพื้นที่รอยต่อด้วย เนื่องจากมี ประเพณีวัฒนธรรมการกินอยู่คล้าย ๆ กัน เพื่อรวบรวม ตัวอย่างเชื้อมา แล้วใช้วิธีการทางจุลินทรีย์วิทยาในการ คัดแยกเชื้อให้ได้สายพันธุ์บริสุทธิ์
“เมื่อได้สายพันธุ์บริสุทธิ์แล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นสายพันธุ์ที่เราต้องการหรือไม่ เราต้องทำการวิเคราะห์ดีเอ็นเอ (DNA) ว่าจุลินทรีย์ที่มีอยู่มีชื่อเสียงเรียงนามอย่างไร จึงต้องส่งข้อมูลดีเอ็นเอของจุลินทรีย์ที่รวบรวมได้ไปที่สหรัฐอเมริกาเพื่อเปรียบเทียบฐานข้อมูลของโลกว่าตรงกับสายพันธุ์ไหน เมื่อทราบสายพันธุ์แล้ว เราก็เก็บมาไว้ใน ‘ธนาคารจุลินทรีย์’ ของเรา
“ปัจจุบันในธนาคารจุลินทรีย์ของ SAS เรามีเชื้อที่เก็บเข้าธนาคาร 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มบาชิลลัส และกลุ่มแล็กโตบาซิลลัส
“ในชุดจุลินทรีย์บาซิลลัสมีสายพันธุ์หนึ่งน่าสนใจเพราะสามารถกําจัดก๊าซมีเทนได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง ก๊าซเรือนกระจก ถ้าสามารถใช้บาซิลลัสลดก๊าซมีเทนได้ 2-3 เปอร์เซ็นต์ก็สำคัญแล้ว เพราะยุคนี้เป็นยุคของคาร์บอน เครดิต นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อประเทศ เพราะประเทศไทย ได้เซ็นสัญญาที่ปารีสเรื่องการแก้ไขปัญหาโลกร้อน คนไทย จะนําเสนอผลงานระดับสากลในปี 2570 ว่าประเทศไทย ได้มีส่วนช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ประเด็นนี้ก็สำคัญ
“และเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอในงานประชุมวิชาการ จัดโดย RAIN (Regional Agriculture Innovation Network) องค์กรไม่แสวงหากำไร ซึ่งได้รับการสนับสนุนนวัตกรรมจุลินทรีย์จากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่ค้นหานวัตกรรมที่จะลดการเผาตอซังก่อนปลูกข้าวฤดูกาลใหม่ โดย SAS จากประเทศไทย เป็นเพียงผู้เดียวที่พูดถึงการใช้จุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายซังข้าวโพด จนเกิดการอภิปรายในวงกว้างนานกว่า 3 ชั่วโมง และในปัจจุบัน SAS ร่วมกับมูลนิธิข้าวขวัญ และมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ”
เมื่อเก็บรวบรวมสายพันธุ์เชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลายแล้ว และค้นพบคุณสมบัติอีกมากมาย ผู้บริหาร SAS และ ดร.วิเชียรเห็นตรงกันว่า สามารถพัฒนาเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสู่ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้
“ผู้บริหาร SAS เห็นควรว่าเราน่าจะตั้งโรงงานผลิตโพรไบโอติกเองจะดีกว่า เพราะเราผลิตเชื้อที่ใหม่มาก สดมาก สามารถควบคุมการผลิตเองได้ เป็นโรงงานเล็ก มีเครื่องจักรขนาดไม่ใหญ่ ซึ่งเมื่อทำโรงงานเสร็จ ผ่านการตรวจสอบโดย อย. ใช้เวลาปีกว่าๆ อย.ก็อนุญาตให้โรงงานผลิตอาหารเสริมโพรไบโอติก และที่ SAS พิเศษกว่าที่อื่นๆ คือ อย.อนุญาตให้เราผลิตเชื้อได้เองเพื่อผลิตสินค้า เพราะมีข้อมูล สามารถยื่นหลักฐาน DNA ของเชื้อจุลินทรีย์จากธนาคารจุลินทรีย์ที่ผ่านการวิเคราะห์มาอย่างถูกต้อง”
อาจารย์วิเชียรยังฝากทิ้งท้ายไว้ว่า
“จุลินทรีย์ที่เก็บจากเมืองไทยเป็นจุลินทรีย์ที่เหมาะกับสภาพแวดล้อมในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์เพื่อคน สัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม เพราะเขาอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน อีกสิ่งหนึ่งก็คือ การพัฒนาเทคโนโลยีอะไรก็แล้วแต่ นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเก่งกว่าผม แต่สิ่งที่ผมแตกต่างจากเขาก็คือ การนำเทคโนโลยีนั้นมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับประเทศไทย เหมาะสมกับคนทั่วไป ต้นทุนประเทศไทยเราน้อย คนไทยส่วนใหญ่รายได้ไม่มาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เขาจะได้ประโยชน์ต้องอยู่ในระดับที่เขาสามารถเอื้อมถึง ส่วนเทคโนโลยีชีวภาพจุลินทรีย์ยังต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เพราะเรารู้จักจุลินทรีย์ในโลกใบนี้น้อยมาก”
นักวิจัยผู้ทุ่มเท…สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก
รองศาสตร์จารย์ ดร. มาลัย ทวีโชติภัทร์ ที่ปรึกษาโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ bioCRAFT by SAS ผู้ทุ่มเททำงานวิจัยด้านโพรไบโอติกมากว่า 2 ทศวรรษ
อาจารย์มาลัย กล่าวถึงความสนใจในจุลินทรีย์ว่า “เริ่มสนใจจุลินทรีย์ตัวดี ซี่งในตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคนศึกษา เราเห็นว่าในอนาคตมนุษย์อาจไม่อยากพึ่งยาปฏิชีวนะ หรือสารต้านจุลชีพ แต่จะมองหาสิ่งที่เป็นมิตรกับร่างกายแทน “โพรไบโอติก” จึงน่าสนใจ เพราะเป็นจุลินทรีย์ธรรมชาติในร่างกาย และไม่มีผลข้างเคียง
“ต้องขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาของของอาจารย์ที่ท่านมองการไกลมาก ท่านพูดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ว่าโพรไบโอติกจะเป็นสิ่งที่มนุษย์นำมาใช้แทนยาในอนาคต คำพูดของท่านกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญ และทุกวันนี้ก็พิสูจน์ได้ว่าท่านพูดถูก สิ่งที่ทำให้อยู่กับงานวิจัยนี้ได้คือใจรัก และเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำค่ะ โพรไบโอติกไม่ได้เป็นแค่งานวิจัย แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว
โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ที่ดีที่อยู่ในร่างกายเรามาตั้งแต่เกิด ช่วยรักษาสมดุล โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร ซึ่งสำคัญมากต่อสุขภาพโดยรวม การเติมโพรไบโอติกเป็นวิธีที่ปลอดภัยและช่วยเสริมการทำงานของร่างกายได้ ถ้าจุลินทรีย์ในร่างกายไม่สมดุล เช่น จุลินทรีย์ดีลดลง จุลินทรีย์ไม่ดีมีมากขึ้น จะเกิดการอักเสบและอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ การเติมโพรไบโอติกจึงช่วยฟื้นฟูสมดุลตรงนี้และลดโอกาสการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการอักเสบค่ะ การดูแลโพรไบโอติกในร่างกายทำได้ง่าย ๆ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ จุลินทรีย์โพรไบโอติกเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย และเป็นส่วนสำคัญของการดูแลสุขภาพร่างกายที่เราควรให้ความใส่ใจ
สิทธิผลงานจุลินทรีย์โพรไบโอติกระหว่าง มศว. โดย รองศาสตราจารย์ ดร.มาลัย ทวีโชติภัทร์ อ่านเพิ่มเติม คลิก
และรางวัลที่สำคัญที่สุดสำหรับอาจารย์หรือนักวิจัยคือ การที่สามารถผลิตลูกศิษย์ที่มีคุณภาพและมีศักยภาพนำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมและสามารถก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ นี่คือรางวัลที่สำคัญที่สุดในอาชีพของนักวิจัยและอาจารย์
เทคโนโลยีจุลินทรีย์ สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างไร อ่านหน้าถัดไป