Burnout เมื่อการหมดไฟ ทำให้หมดใจ

Burnout เมื่อการหมดไฟ ทำให้หมดใจในการทำงาน

เดี๋ยวนี้มีโรคใหม่เกิดขึ้นมากมาย รวมถึงโรคที่เราจะพูดถึงกันวันนี้ด้วย นั่นก็คือภาวะ Burnout Syndrome ซึ่งไม่ใช่ภาวะป่วยทางกาย แต่เป็นอาการของใจล้วนๆ ที่รู้สึกหมดไฟในการทำงานจนกัดกร่อนและอาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน ไปจนถึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นโรคซึมเศร้าได้เลยค่ะ

สำหรับอาการเบิร์นเอาท์ หรือหมดไฟในการทำงาน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากความเครียดสะสมจากสภาพแวดล้อมของการทำงาน และไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม จนทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่อยากทำงาน เหนื่อยล้า รู้สึกว่างานที่ทำอยู่นั้นหนัก ไม่มีกระจิตกระใจที่จะทำงาน และทำให้งานออกมาได้ไม่ดีนั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นภาวะที่น่ากลัวสำหรับวัยทำงานเลยทีเดียว

คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า อะไรบ้าง ที่จะนำไปสู่ภาวะเบิร์นเอาท์

  1. งานหนัก เยอะ แต่เวลาทำน้อย
  2. ไม่สามารถเรียงลำดับความสำคัญของงานได้
  3. ไม่ได้รับค่าตอบแทน หรือรางวัลที่คุ้มค่า
  4. ไม่ได้รับความสนใจ หรือความสำคัญจากผู้ร่วมงานในการทำงาน
  5. ไม่ได้รับความยุติธรรมในการทำงาน
  6. ระบบการทำงานที่บั่นทอนจิตใจ และคุณค่า

ThaiHealth Academy

จากภาวะที่นำไปสู่ความเสี่ยงนี้ เราจะเห็นได้ว่ามีทั้งเรื่องของงาน และเรื่องของคนเลยนะคะ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเบิร์นเอาท์ เพราะอย่างนั้นเราต้องไม่ลืมหมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ โดยอาการที่บ่งบอกว่า เราหมดไฟในการทำงานแล้วก็คือ

ด้านอารมณ์ รู้สึก เศร้า หดหู่ หงุดหงิด ไม่อยากทำงาน

ด้านพฤติกรรม ไม่กระตือรือร้น ผัดวันประกันพรุ่ง เข้างานสาย ไม่มีสมาธิ

ด้านความคิด มองคนอื่นในแง่ลบ ระแวง หนีปัญหา หมดความเชื่อมั่นในตัวเอง

หลายคนอาจคิดว่าเบิร์นเอาท์ก็เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพราะเหนื่อยล้าจากการทำงาน พักสักนิดเดียวก็ดีขึ้น จนละเลยที่จะดูแลตัวเอง ทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงตามมาด้วยนะคะ ซึ่งไม่เกิดขึ้นแค่เพียงด้านการทำงานเท่านั้น แต่ยังรุกลามไปถึงร่างกายและจิตใจของเราด้วย

ด้านการทำงาน

  • ขาดงาน
  • ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • สาย
  • ลาออก

ด้านร่างกาย

  • ปวดหัว
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดตัว
  • นอนไม่หลับ

ด้านจิตใจ

  • ซึมเศร้า
  • หมดหวัง
  • ท้อแท้

Burnout

หลายคนที่เริ่มมีอาการแบบนี้ คงกำลังสงสัยว่าควรทำอย่างไร  ขอแนะนำให้รู้จักกับอีกองค์กรที่ช่วยได้นั่นก็คือ  สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) หรือ หน่วยงานลักษณะพิเศษ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เพราะประสบการณ์ของ สสส ที่สั่งสมมานานกว่า 20 ปี ดังนั้นเมื่อเปิดสถาบันพัฒนาหลักสูตรเพื่อจัดการอบรม และการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อส่งเสริมการสร้างสุขภาวะ จึงได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญเอาไว้มากมาย และหลากหลายด้าน ดังนั้นถ้าใครมีปัญหา ไม่ใช่แค่เรื่องของการเบิร์นเอาท์ เท่านั้น รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ด้วย ก็สามารถติดต่อไปได้ที่ www.thaihealthacademy.com

ผู้เขียน
ดร.สิริพันธุ์​ กระแสร์แสน
ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy)

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.