เลิก พูดคำว่ายุ่ง ตั้งแต่วันนี้กันดีกว่า
คนที่ พูดคำว่ายุ่ง ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นการอวดตัวด้วยการแสดงให้คนอื่นเห็นว่า“ฉันมีความสามารถ” เพื่อปกปิดความไม่มั่นใจตัวเอง ไม่อยากให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองไม่มีผลงาน หรือไม่ก็อยากระบายความหงุดหงิดที่ตัวเองทำงานไม่เต็มที่
ทำไมถึงไม่มีใครเชื่อถือเวลามีคนแก้ตัวเรื่องงานล่าช้ากว่ากำหนดว่า “ขอโทษครับ ช่วงนี้ยุ่ง…” นั่นเพราะเป็นการแสดงออกที่คิดถึงแต่ตัวเองว่า “ฉันยุ่งแต่งานของตัวเองอยู่ งานคนอื่นจะเป็นอย่างไรก็ช่าง”
กล่าวคือ คำว่า “ยุ่ง” เป็นประโยคน่าละอายที่เผยให้เห็นว่าผู้พูดคิดถึงแต่ตัวเอง รวมถึงความอ่อนแอและความไม่มั่นใจที่ซ่อนอยู่ในนั้น
นอกจากนี้ หากจงใจพูดคำว่า “ยุ่ง” บ่อย ๆ คุณจะรู้สึกร้อนรนกระวนกระวายขึ้นมาจริง ๆ อย่างน่ประหลาด คงเหมือนกับพอเข้าเดือนธันวาคมจะรู้สึกไม่สงบ แม้รื่องที่ต้องทำจะไม่เปลี่ยนไปจากเดิมก็ตาม
เมื่อในใจร้อนรนเช่นนี้ คนเราจะไม่มีเวลามองสิ่งรอบกาย หรือหยุดคิดจริงจัง ทำไมเรื่องนี้ถึงเป็นปัญหา นั่นก็เพราะว่าคนเราจะไม่ได้สังเกตความเปลี่ยนแปลงอื่นอีก ตัวอย่างเช่น เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นภาพกว้างอย่างตลาดในวงการกำลังหดตัวลง บริษัทกำลังย่ำแย่ ไปจนถึงเรื่องปลีกย่อย เช่น คู่ค้ามีท่าทีเปลี่ยนไปเราจึงต้องสร้างความเชื่อมั่นใหม่ หรือตอนนี้คนที่บ้านไม่ค่อยมีความสุข เราต้องดูแลหน่อย ทั้งหมดนี้เราจะไม่ได้สังเกตเลยว่าชีวิตตัวเองมุ่งไปในทิศทางไหน แน่นอนว่าบางครั้งก็ไม่ควรสนใจสิ่งรอบข้างและมุ่งสมาธิกับเรื่องตรงหน้า แต่ถ้าหากในใจรู้สึกยุ่งแล้ว เราจะไม่ทันสังเคต”สาร”ที่สภาพแวดล้อมรอบตัว หรือคนรอบข้างสื่อออกมา
ดังนั้น คุณต้องลบคำว่า “ยุ่ง” ออกจากพจนานุกรมของตัวเอง วิธีง่าย ๆ ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนคือ แค่เลิกพูดคำว่ายุ่ง แล้วบอกตัวเองว่า”ยังว่าง” วิธีการแบบนี้มีประโยชน์สองอย่าง อย่างแรกคือ ช่วยขจัดข้ออ้างของตัวเองว่า“ยุ่งจนไม่มีเวลาทำอย่างอื่น” และช่วยให้เราคิดใหม่ว่า “ปริมาณงานเท่านี้จะทำให้ดีด้วยวิธีไหน” ซึ่งจะช่วยให้เราหาวิธีได้ เช่น “เขียนรายการทั้งหมด แล้วลองกำหนดลำดับความสัมพันธ์ใหม่นี่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานให้มากขึ้น และเพิ่มความสามารถในการจัดการงานด้วย”
ที่มา : ทิ้งนิสัยไม่ดีแล้วจะมีความสุข สำนักพิมพ์อมรินทร์ ฮาว-ทู
ภาพ : www.pexels.com
บทความน่าสนใจ
ทำอย่างไรถึงจะเลิกเป็นคนที่ชอบพูดแก้ตัวได้
5 เทคนิคการพูดกับลูกน้องที่ทำให้คุณประสบกับความล้มเหลว
น้าต๋อย เซมเบ้ พูดถึงคุณแม่ผู้เป็นเบื้องหลังความสำเร็จในวันที่ท่านจากไป
Dhamma Daily : พระพุทธศาสนาพูดถึงเรื่อง “ฤกษ์ยาม” ไว้อย่างไร