อาการท้องอืด ท้องเฟ้อของผู้สูงวัย อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็ก!

ปัญหาท้องอืดท้องเฟ้อ เป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่ควรละเลย สำหรับ  “อาการท้องอืดท้องเฟ้อ” ในคนสูงวัย เพราะนอกจากรบกวนการใช้ชีวิตแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของลำไส้ซึ่งมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานได้ลดน้อยลง กระทั่งพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่มีแก๊สสูง ทำให้เกิดภาวะท้องอืด

สาเหตุของอาการท้องอืดและท้องเฟ้อในผู้สูงอายุมาจากการที่ลำไส้บีบตัวได้น้อยลง เนื่องจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นย่อมทำให้อวัยวะดังกล่าวทำงานได้ลดลง และส่วนหนึ่งมาจากการกินอาหารที่มีแก๊สในปริมาณสู  เช่น อาหารกลุ่มโปรตีนอย่างถั่วหรือน้ำอัดลมรวมถึงบริโภคอาหารในกลุ่มที่ย่อยยาก เช่น เนื้อแดง (ผู้สูงอายุสามารถบริโภคเนื้อแดงได้ แต่ควรหั่นให้ชิ้นเล็ก อีกทั้งต้องเคี้ยวให้ละเอียด) และอย่างที่เรียนไปว่า เมื่ออายุมากขึ้น เอนไซม์ช่วยย่อยทำงานลดลง อีกทั้งกรดและด่างในกระเพาะอาหารก็ทำงานผิดเพี้ยนไป ประสิทธิภาพการช่วยย่อยก็ลงน้อยลงเช่นกัน นั่นจึงเป็นสาเหตุหลักๆ ของปัญหาดังกล่าว

อุปนิสัยการบริโภคอาหาร

สิ่งนี้มีส่วนมำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ คือผู้ที่รับประทานอาหารอย่างรวดเร็ว จะด้วยสาเหตุเพราะหิวมาก หรือต้องการรีบไปทำอย่างอื่น หรือสาเหตุอื่นใดก็ตาม ทำให้การบดเตี้ยวอาหารไม่ทั่ว หรือรีบๆ กลืน รีบๆ นำอาหารเข้าปากเป็นเหตุให้อาหารได้รับบดเตี้ยว อย่างงหยาบๆ เมื่อกลืนลงไปสู่กระเพาะอาหาร เป็นภาวะที่กระเพาะอาหารต้องทำงานหนักย่อยอาหารบางชนิดไม่ได้หมด อาจมีการตกค้างหรือคั่งค้างงของอาหารจนเกิดการหมักหมมมื้อแล้วมื้อเล่า

การคั่งค้างของอาหารและหมักหมมต่อเนื่อง

ทำให้เกิดแก๊สหรือลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น ซึ่งแสดงอาการออกมาในลักษณะท้องอืด แน่นท้อง ท้องเฟ้อ บางครั้งเรอเปรี้ยว

หากมีอาการเล็กน้อยอาจรับประทานยาลดกรด ยาธาตุน้ำแดง ยาขับลมซึ่งมีอยู่ในยาชุดสามัญประจำบ้าน งดอาหารย่อยยากทุกชนิดในระยะที่เริ่มมีอาการ กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง อาจต้องใช้วิธีกินอาหารอ่อนๆ ย่อยง่ายเพื่อบดภาระงานการย่อยอาหารและป้องกันการหมักหมมตกค้างของอาหารมากขึ้น

การสร้างอุปนิสัยการเคี้ยวอาหารให้ละเอียด

โดยเฉพาะอาหารแข็ง หรืออาหารเหนียว ฟันจะช่วยบดเคี้ยวอาหารเหล่านั้นเป็นชิ้นเลล็กๆ เพื่อช่วยลดภาวะงานการย่อยของกระเพาะอาหารฉะนั้นการฝฝึกเคี้ยวอาหารให้ละเอียด และไม่รีบร้อนกลืนจะช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้มาก

การเคี้ยวอาหารให้เป็นชิ้นเล็กลง

ไม่ใช่การสร้างนิสัยการเคี้ยวเอื้อง คือเคี้ยวนานจนเกินเหคุเกินไป นิสัยเช่นนี้ก็ไม่ควรฝึกทำจะทำให้กลายเป็นคนทำอะไรล่าช้าไปอีก อาจเป็นผลเสียต่อการดำเนินชีวิตส่วนอื่นๆ ฉะนั้นพฤติกรรมที่ถูกต้องคือเคี้ยวให้พอดี เมื่อรูสึกว่าบดเคี้ยวให้อาหารชิ้นเล็กลงแล้วก็กลืนได้

แต่ในบางครั้งความเป็นจริง ผู้สูงอายุบางคนก็ไม่ได้มีอุปนิสัยดังที่กล่าวไปข้างต้น แต่เกี่ยวข้องกับฟัน ซึ่งเป็นเครื่องบดเคี้ยวทำงานไม่เต็มที่ อาจมีปัญหาฟันโยกคลอน ฟันผุ ปวดฟัน เหงือกอักเสบ เยื่อบุปากอักเสบ สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อการบดเคี้ยวอาหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากเกิดปัญหาเช่นนี้ต้องงรีบพบทันตแพทย์โดยด่วนค่ะ เพื่อขจัดปัญหานี้ไป

หรือหากเกิดกรณีต้องถอนฟัน ควรรีบจัดการใส่ฟันปลอม ซึ่งจะช่วยในการบดเคี้ยวได้มาก แม้ว่าจะไม่เหมือนฟันแท้เสียทีเดียว แต่ก็ช่วยได้มากกจริงๆ ค่ะ

ปรับพฤติกรรมช่วยป้องกันท้องอืด ท้องเฟ้อได้

การป้องกันอาการไม่ย่อยนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากเป็นผู้สูงอายุด้วยแล้วอาจต้องระวังเป็นพิเศษ เราสามารถปรับพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตได้ง่ายๆ ด้วยเทคนิคเหล่านี้

1.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเผ็ด หรืออาหารสำเร็จรูป

2.ในแต่ละมื้อควรทานอาหารให้ตรงเวลาเสมอ

3.ไม่ทานอาหารในปริมาณที่มากเกินไป หากรู้สึกว่าหิวบ่อยควรแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ แทนการกินอาหารมากๆ ในมื้อเดียว

4.หากิจกรรมทำให้ไม่ให้เครียด หรือนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

5.งดทานอาหารอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

ที่สำคัญหลังบริโภคอาหาร ผู้สูงอายุไม่ควรนอนหรือนั่งอยู่เฉยๆ เพราะการที่ผู้สูงวัยได้ลุกมาทำกิจกรรมต่างๆ นอกจากทำให้ฮอร์โมนความเป็นหนุ่มสาวทำงานได้อย่างดีแล้ว ยังทำให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหว จึงทำให้ระบบย่อยทำงานได้อย่างเป็นปกติ ก็เป็นการป้องกันปัญหาโรคท้องอืดท้องเฟ้อได้ทางหนึ่ง หรืออาจหากิจกรรมทำ เช่น กวาดถูบ้าน แต่ต้องทำโดยไม่ก้มหลังมากเกินไป เพราะอาจยิ่งทำให้รู้สึกปวดเมื่อยจากกระดูกสันหลังที่งองุ้มจากงานบ้านดังกล่าว หรือให้เปลี่ยนไปเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการใช้กระดูกเชิงกราน หรือใช้อวัยวะช่วงล่างจะดีกว่า หากว่าคุณตาคุณยายที่มีปัญหาเรื่องปวดหลัง ให้เลือกออกกำลังกายหลังการบริโภคอาหารด้วยการปั่นจักรยาน หรือเดินเล่นในสวน ชมต้นไม้ดอกไม้รอบๆ บ้าน

ข้อมูลประกอบจาก: ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

การควบคุมน้ำหนักของผู้สูงวัยให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคือสิ่งสำคัญ!

อาหารสำหรับผู้สูงวัย ต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษ

ผู้สูงอายุต้องกินให้เป็น…เพราะอาหารที่ดีจะไปสร้างร่างกายที่ดี

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.