สิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุ “อ้วน” นั่นเพราะเกิดจากพฤติกรรมในการกินอาหารจนเกินอิ่ม กินอาหารจำพวกแป้งง ไขมันมาก และที่สำคัญคอไม่ค่อยออกกำลังกาย และสิ่งที่ทำให้อ้วนมากที่สุดก็คือการเสียดายอาหารที่เหลือต้องกินต่อจนหมด นี่คือสัญญาณเริ่มแรกของโรคอ้วนและโรคอื่นๆ ที่แฝงมาอย่างไม่รู้ตัว
อาหารกับวัยผู้สูงอายุ
อาหารมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนก็ตาม ยิ่งถ้ามีภาวะทางโภชนาการที่ดี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง การเปลี่ยนแปลงสภาวะในร่างกายก็จะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ถ้ามีภาวะโภชนาการไม่ดี มีน้ำหนักที่ไม่เหมาะสมก็จะทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมหรือแก่เร็ว ดังนั้น เราจึงควรใส่ใจในเรื่องอาหารการกินมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
การกินอาหารครบ 5 หมู่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกวัย โดยเฉพาะวัยผู้สูงอายุที่ต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และสร้างภูมิต้านทานโรค ซึ่งนอกจากจะให้กินอาหารครบ 5 หมู่และควบคุมเรื่องปริมาณของอาหารแล้ว ยังต้องเลือกชนิดของอาหารให้เหมาะสมด้วย เช่น นมที่ให้ดื่ม ก็ควรเป็นนมไขมันต่ำ เพื่อจำกัดปริมาณไขมัน และโคเลสเตอรอล ส่วนเนื้อสัตว์ ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่มีมันน้อย เช่น เนื้อปลา ส่วนเนื้อสัตว์ปีก เช่น เนื้อไก่ อาจต้อลลดปริมาณลงบ้าง เพื่อป้องกันการได้รับกรดยูริคที่มากเกิน ซึ่งอาจนำไปสู่โรคข้ออักเสบ หรือโรคเก๊าได้
วิธีควบคุมน้ำหนัก
โดยธรรมชาติแล้วเมื่อเข้าสู่วัยชรา ผู้สูงอายุอาจมีน้ำหนักลดลงบ้าง แต่ไม่ควรเกินร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวเดิมในระยะเวลา 6 เดือน แต่ในกรณีน้ำหนักเกินอยู่แล้ว ควรจะลดน้ำหนักให้อยู่ในระดับพอดี เพราะหากต้องแบกรับน้ำหนักต่อไป อาจทำให้เกิดโรคร้ายอื่นๆ ตามมาได้ การลดน้ำหนักให้ได้ผลควรค่อยเป็นค่อยไป ทำได้โดย
ควรกินอาหารให้ตรงเวลา และครบทุกมื้อ เพื่อรักษาระบบเผาผลาญอาหารให้เป็นปกติ แต่ต้องลดปริมาณในแต่ละมื้อลงดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญอาหาร และลดความอยากกินอาหาร ปรุงประกอบอาหารด้วยวิธีต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ แทนการทอด เพื่อลดการใช้น้ำมัน เช่น แกงจืด แกงส้ม แกงเลียง
เลือกอาหารที่มีใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด อย่างข้าวกล้อง หรืออาหารเช้าซีเรียลโฮลเกรนผสมนมไขมันต่ำ เพราะใยอาหารจะช่วยให้อิ่มนาน ลดการกินจุบจิบ และสามารถช่วยดูดซับน้ำตาลและโคเลสเตอรอลในเลือดได้
นอกจากนี้ ควรออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำ เช่น การเดิน หรือวิ่งเหยาะๆเพื่อให้รู้สึกสดชื่น และร่างกายเผาผลาญพลังงานได้ดี อย่างไรก็ตาม การควบคุมน้ำหนักให้กับผู้สูงอายุควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่าหักโหม ลูกหลานควรดูแลและให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยให้ภารกิจควบคุมน้ำหนักนี้สำเร็จได้ด้วยดี
วางแผนควบคุมน้ำหนักสำหรับผู้สูงอายุ
เราควรจำแนกกลุ่มอาหารเสียก่อน เพื่อจะได้ทราบว่าสิ่งใดควรให้ท่านกินหรือไม่ควรกิน เพรระส่วนมากแล้วผู้สูงอายุจะชอบกินอาหารจำพวกน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาหารประเภทดังกล่าวเป็นอาหารที่ให้ความเสี่ยงต่อความอ้วนอย่างมากทีเดียว เพราะฉะนั้นเราต้องวางแผนควบคุมการกินอาหารของผู้สูงอายุให้ดีๆ ค่ะ
พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
พฤติกรรมการบริโภคอาหารกับการลดน้ำหนัก ด้วยวิธีจำกัดหรือลดปริมาณการกินให้น้อยลงในแต่ละมื้อ อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากสำหรับผู้ที่อยู่ในระหว่างการลดน้ำหนัก เพราะผู้ที่ลดน้ำหนักอาจจะรู้สึกหิวในเวลาอันสั้นหรือรู้สึกว่าทรมานร่างกายจากการทานอาหารไม่เพียงพอ จนบางครั้งต้องมากินเพิ่มอีกภายหลัง เหตุผลดังกล่าทำให้การลดน้ำหนักของใครหลายคนที่ใช้วิธีการลดปริมาณอาหารแบบนี้ ทำได้ไม่สำเร็จสักที
ผู้เชี่ยวชาญในการลดน้ำหนักจึงให้คำแนะนำกับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักว่า ให้ลองปรับวิธีในการลดน้ำหนักโดยใช้วิธีการ นับปริมาณของ คาร์โบไฮเดรตและไขมันจากฉลากโภชนาการซึ่งระบุปริมาณสารอาหาร ปริมาณรวมของไขมัน และปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่ได้รับในแต่ละวันแทนวิธีการจำกัดหรือลดปริมาณอาหารแบบเดิม
>>อ่านต่อหน้าถัดไป<<