รู้จักความแตกต่างของ “ไฮเปอร์ไทรอยด์” และ “ไฮโปไทรอยด์”
ไทรอยด์ ชื่อโรคที่เราก็ยินกันบ่อยๆ ในปัจจุบันมีคนเป็น โรคไทรอยด์ กันเยอะพอสมควร ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ งั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคไทรอยด์ 2 แบบ นั่นก็คือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism) และ ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) กัน มาดูกันสิว่ามันต่างกันอย่างไร
ต่อม ไทรอยด์ (Thyroid gland)
ไทรอยด์ฮอร์โมนมีหน้าที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ช่วยควบคุมระบบเผาผลาญ ระดับไขมันในเลือด ระบบย่อย อุญหภูมิของร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของผิวหนัง ผม เล็บอีกด้วยค่ะ ถ้าไทรอยด์ทำงานผิดปกติร่างกายก็จะมีความผิดปกติตามมาอีกมากมาย
ต่อมไทรอยด์คือต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง อยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ ควบคุมการทำงานโดยต่อมใต้สมอง เพื่อให้ไทรอยด์ทำงานเป็นปกติ ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดส่งไปยังอวัยวะต่างๆ
ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism)
พอฟังย่างนี้แล้ว คนอาจจะเข้าใจว่า ต่อมไทรอยด์ผิดปกติก็คือคอพอกเท่านั้น จริงๆ แล้วผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติอาจจะไม่ได้มาด้วยอาการคอพอกก็ได้ หลายคนมาพบแพทย์ด้วยปัญหาต่อมไทรอยด์ผิดปกติ โดยมีอาการอื่นๆ มา เช่น ทำงานหรือทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม สักพักก็เหนื่อยแล้ว ไม่ไหวแล้ว บางคนก็สงสัยว่าทำไมตนเองขี้หงุดหงิด ขี้โมโห ขี้ร้อน จิตใจไม่ค่อยอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตของเขา ต่อการทำงาน รวมทั้งต่อคนรอบข้าง
เมื่อตัดสินใจมาปรึกษาแพทย์ เมื่อตรวจพบว่ามีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีคอพอกเลย แต่เพราะต่อมไทรอยด์มีการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป กลุ่มนี้เรียกว่า ‘ไฮเปอร์ไทรอยด์’ (Hyperthyroidism) ซึ่งแพทย์ก็จะแนะนำการรักษา โดยการให้ทานยาต้านฮอร์โมน เพื่อปรับฮอร์โมนไทรอยด์ให้ลดลง แล้วนัดมาตรวจเป็นระยะ ก็ไม่ต้องใช้การผ่าตัด
ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism
นอกจากไฮเปอร์ไทรอยด์ ที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากเกินไปแล้ว ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์อีกชนิด ที่มีลักษณะตรงข้ามกัน คือต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไป กลุ่มนี้เรียกว่า ‘ไฮโปไทรอยด์’ (Hypothyroidism) ผู้ป่วยจะมีอาการหลายอย่างตรงข้ามกัน คือ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ง่วงนอน หนาว ตัวสั่น ทนความเย็นไม่ได้ กระสับกระส่าย ทานน้อยแต่น้ำหนักตัวขึ้นและลดยาก ผมหยาบกระด้างหรือร่วงง่าย เป็นตะคริวบ่อยๆ หรือปวดกล้ามเนื้อ ท้องผูกซึมเศร้า รู้สึกไม่สบาย เหงื่อออกน้อยลง ความจำไม่ดี ประจำเดือนมาไม่ปกติ ความต้องการทางเพศลดลง เป็นต้น
โดยสาเหตุของไฮโปไทรอยด์นั้นเกิดจากการขาดไอโอดีนเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากไอโอดีนเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ และอาจเกิดสาเหตุอื่น เช่น ผู้ป่วยมีการติดเชื้อที่ต่อมไทรอยด์ โดยจะมีอาการอื่นร่วมคือ มีไข้ อ่อนเพลีย มีการกดเจ็บบริเวณต่อมไทรอยด์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับศูนย์ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน โดยอาจมีรอยโรคในสมองเป็นต้น หรือผู้ป่วยมีประวัติผ่าตัดรักษาหรือฉายรังสีบริเวณต่อมไทรอยด์มาก่อน หรืออาจเกิดจากโรคทางออโตอิมมูน (Hashimoto thyroiditis) ซึ่งร่างกายจะคิดไปเองว่าฮอร์โมนไทรอยด์เป็นสิ่งแปลกปลอม และขจัดฮอร์โมนนั้นไป เป็นต้น
การรักษาไฮเปอร์ไทรอยด์และไฮโปไทรอยด์มีความต่างกันคือ ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์จะมีแนวทางการรักษาที่มากกว่า คือมีตั้งแต่การทานยาปรับฮอร์โมน การฉายรังสี การทานน้ำฉายกัมมันตภาพรังสี และการผ่าตัด ขณะที่ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์ แพทย์มักจะแนะนำการทานยาเสริมฮอร์โมนให้กับผู้ป่วย เพื่อปรับระดับฮอร์โมนไทรอยด์จนอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานยานานตลอดชีวิตแม้จะไม่มีอาการแล้ว จึงนับว่าเป็นความทรมานของผู้ป่วยหลายๆ คน
ใครที่ร่างกายมีความผิดปกติ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ น้ำหนักตัวลดหรือเพิ่มอย่างรวดเร็ว เหนื่อยง่าย รู้สึกได้ถึงความไม่ปกติของร่างกาย ให้รีบไปปรึกษาแพทย์ด่วน ยิ่งรักษาไวยิ่งดี ซึ่งบางคนก็ตรวจเจอตั้งแต่ยังอาการไม่หนักจากการตรวจสุขภาพประจำปี ฉะนั้นอย่างลืมไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีนะคะ กันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ
ข้อมูลประกอบจาก: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
อาหารสำหรับผู้ป่วย ไทรอยด์ ต้านอารมณ์แปรปรวน
ความเครียดทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินจะช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ จะมีอะไรบ้างนั้น เรามีกูรูมาแนะนำค่ะ
กินได้ทุกอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นอาหารชีวจิต อาหารมังสวิรัติ อาหาร 5 หมู่ทั่วไป ยกเว้นอาหารที่กระตุ้นการต้านภูมิคุ้มกันตนเอง (Autoimmunity) เช่น ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม เพราะอาหารดังกล่าวจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและส่งผลให้เกิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ตามมา แน่นอนว่าความเครียดมาพร้อมกับความแปรปรวนของอารมณ์
กูรูแนะนำ อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ กินอย่างไรช่วยต้านโรค
ไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ ดูแลตัวเองอย่างไร
เดินเร็ว ช่วยป้องกันกระดูกเสื่อมได้จริง
แรงกระแทก ดีต่อกระดูกอย่างไร หมอมีคำตอบ
ความดันและไขมันในเลือดสูง ปรับเปลี่ยน 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ไม่ง้อยา
ติดตามชีวจิตได้ที่