คนไทยสมัยก่อนนิยมกินข้าวกับผลไม้ ซึ่งดีต่อสุขภาพมาก ๆ วันนี้แอดมีเมนู ข้าวยำผลไม้ จานอร่อยไม่จำเจ มากวิตามินจากผลไม้ไทย มาให้ลองทำกันแบบง่าย ๆ มาดูกันเลยค่ะ
ข้ า ว ย ำ ผ ล ไ ม้
ข้าวยำผลไม้
ส่วนผสม
ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หุงสุก | 1 | ถ้วย |
ผลไม้ – ส้มโอ / ฝรั่ง /มะเฟือง / แก้วมังกร อย่างละ | 2 | ช้อนโต๊ะ |
ขมิ้นขาว ซอย | ตามชอบ | |
ตะไคร้ ซอย | 1 | ช้อนชา |
ผักชี สับหยาบ | 1 | ช้อนชา |
พริกขี้หนู ซอย | 5 | เม็ด |
น้ำปลา | 1 ½ | ช้อนโต๊ะ |
น้ำมะนาว | 1 ½ | ช้อนโต๊ะ |
น้ำตาลมะพร้าว | 1 | ช้อนโต๊ะ |
เม็ดมะม่วงหิมพานต์อบ | 2 | ช้อนโต๊ะ |
กุ้งฝอยทะเลแห้ง (กุ้งเคย) | 2 | ช้อนโต๊ะ |
ขั้นตอนการทำ
- เตรียมผลไม้ หั่นเป็นลูกเต๋า เตรียมไว้
- เตรียมทำน้ำยำ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลมะพร้าว และน้ำมะนาวคนให้เข้ากัน
- ใส่ตะไคร้ซอย พริกขี้หนูซอย และผักชีสับหยาบ คนพอเข้ากันอีกครั้ง
- จัดจาน เตรียมข้าวไรซ์เบอร์รี่วางตรงกลาง วางขมิ้นขาวบนข้าวเล็กน้อย แล้วจัดผลไม้ที่หั่นเตรียมไว้วางรอบ ๆ พร้อมเม็ดมะม่วงหิมพานต์อบและกุ้งเคย เสิร์ฟพร้อมน้ำยำ
ข้อมูลสูตร : เนื้อทอง ทรงสละบุญ
ชีวจิต
เคย หรือ เคอย
เป็นสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายกุ้ง ในกลุ่มกุ้ง กั้ง ปู ซึ่งเป็นสัตว์สำคัญ โดยเฉพาะของแพลงก์ตอน (สิ่งมีชีวิต ทั้งพืช และสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสระ) ที่เป็นอาหารของปลากระเบนราหูน้ำเค็ม ฉลามวาฬ และแมวน้ำกินปู รวมทั้งนกทะเลชนิดที่กินเคยแต่เพียงอย่างเดียว
กุ้งเคย จัดเป็นสัตว์น้ำประเภท กุ้ง กั้ง ปู ที่มีลักษณะสำคัญคือ มีเปลือกหุ้มตัว ลำตัวเป็นปล้อง โดยมีระยางค์ยื่นออกมาเป็นคู่ เช่น หนวด ขากรรไกร ขาเดิน และขาว่ายน้ำ เมื่อเจริญเติบโตจะสลัดเปลือกเดิมแล้วสร้างเปลือกใหม่ รูปร่างคล้ายกุ้ง แต่ตัวเล็กกว่า และไม่มีกรีแหลม ๆ ที่บริเวณหัวเหมือนกุ้ง
กุ้งเคย มีลักษณะตัวสีขาวใส มีตาสีดำ มีเปลือกบางและนิ่ม ส่วนมากมักอาศัยอยู่ตามบริเวณรากไม้ตามป่าชายเลน เช่น ต้นโกงกาง แสม ลำพู ชาวบ้านมักจะออกช้อนตัวเคยกันในเวลาเช้า และหากันได้ทุกวัน เพราะมีอยู่มากในทุกฤดูกาล ส่วนมากตัวเคยจะอาศัยอยู่ใกล้ผิวทะเลโดยไม่จมลงไปในน้ำลึก
ความแตกต่างของกุ้ง กับ เคย
คือ ขนาดของตัวกุ้งกับตัวเคยจะต่างกันที่ลักษณะของหัวและลำตัว โดยกุ้งจะสามารถแยกส่วนที่เป็น คาง (คือ ทรวงอก) ออกจากส่วนที่เป็นหัวกุ้งได้ ในขณะของตัวเคยจะไม่สามารถแยกส่วนที่เป็น คาง ออกมาได้
ด้วยลักษณะที่แตกต่างกันของเคยและกุ้งนั้น จึงทำให้ปริมาณของเนื้อ เปลือก และจุลินทรีย์ แตกต่างกันไป โดยขนาดตัวของกุ้ง หรือตัวเคยที่มีขนาดใหญ่ก็จะมีเนื้อมากกว่า และเมื่อทำเป็นกะปิออกมา ก็จะได้เนื้อกะปิและโปรตีนที่มากกว่า และทำให้มีรสชาติความอร่อยที่มากกว่าเช่นกัน (เมื่อจุลินทรีย์ย่อยโปรตีนของเนื้อกุ้ง และการปล่อยสารระเหยออกมา ซึ่งจุลินทรีย์จะทำให้กลิ่นของกะปิกุ้งและกะปิเคยนั้นแตกต่างกัน)
ลักษณะของกุ้งที่มีเนื้อเยอะ จะเกิดการย่อยเป็นโปรตีนที่มีขนาดเล็กทำให้รสชาติอร่อยกว่า ดังนั้น กะปิกุ้งจึงต้องใช้เวลาในการหมักที่นานกว่ากะปิเคย และเมื่อใช้เวลาในการหมักนานกว่าจึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมในการทำกะปิกุ้งขายในรูปแบบอุตสาหกรรมมากนัก
ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
บทความน่าสนใจอื่นๆ
ห่อหมกกุ้ง สไตล์ชีวจิต น้ำเต้าหู้แทนกะทิ ถั่วลิสงแทนไข่
ซอฟต์คุกกี้กราโนลา อาหารเพิ่มพลังยามเช้า สำหรับคนรักสุขภาพ
ยำเห็ดรวม เมนูต้านหวัด เสริมภูมิต้านทานด้วยอาหารบ้านๆ
3 เมนูโซเดียมต่ำ ป้องกันความดันโลหิตสูง
บิงซูชาเขียวถั่วแดง สูตรสุขภาพ เมนูของหวานสุดฮิต!!
ซีอิ๊วถั่วเหลืองใบหม่อน สูตรโฮมเมด รสกลมกล่อมจากผลไม้
2 สูตร นมงาขาว และนมงาชาเชียว โฮมเมด แคลเซียมดี วิตามินอีสูง