โกงตาย ชะลอแก่ ด้วยการ เพิ่มโกรทฮอร์โมน
ทำไมเราต้อง เพิ่มโกรทฮอร์โมน นั่นเพราะโกรทฮอร์โมนมีปริมาณสูงที่สุดเมื่อเข้าสู่อายุ 20 ปี ก่อนจะลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งเมื่ออายุ 40 ปี และเหลือเพียงหนึ่งในสี่ของปริมาณสูงสุดเมื่ออายุ 60 ปี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า โกรทฮอร์โมน จะหมดความสำคัญเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เพราะมันยังคงทำหน้าที่ซ่อมบำรุงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้
-มีส่วนสร้างเซลล์ของอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
-สร้างเซลล์ชั้นผิวหนังใหม่
-สร้าง ซ่อมแซม และเสริมความแข็งแกร่ง ของกล้ามเนื้อและกระดูก
-เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
-เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองและการมองเห็น
-ลดระดับคอเลสตอรอลในร่างกาย
เคล็ดลับ เพิ่มโกรทฮอร์โมน
เราสามารถกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนให้เพิ่มขึ้นได้โดยการปล่อยให้ท้องว่างและหิวปานกลาง ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกเครียดเล็กน้อย และออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ
การปล่อยให้หิวปานกลางเป็นวิธีกระตุ้นให้การหลั่งโกร๊ธฮอร์โมนทำงานได้ดี โดยปกติร่างกายใช้เวลาย่อยอาหารประมาณ 3-4 ชั่วโมง จากนั้นท้องจะว่าง การเว้นช่วงระหว่างมื้อราว 5 ชั่วโมงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด แต่ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างนานกว่านั้น เพราะร่างกายจะคิดว่ากำลังเข้าสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร ก่อให้เกิดความเครียดกับร่างกายโดยไม่จำเป็น
ส่วนการปล่อยให้ร่างกายเครียดนั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความเครียดมีหลายรูปแบบ หากเป็นความเครียดที่มาจากความหวาดกลัวอันตรายหรือความโกรธ ย่อมไม่ส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจแน่นอน แต่ความเครียดที่เกิดจากความเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่เหนื่อยสนุก นั่นแหละคือตัวกระตุ้นการหลั่งโกร๊ธฮอร์โมน
ส่วนการออกกำลังกายที่ส่งผลดีต่อการกระตุ้นโกร๊ธฮอร์โมนคือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ที่ต้องใช้อากาศเป็นตัวช่วยเผาผลาญ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ ดีต่อหัวใจและปอด
คลายเกร็งช่วยหลับลึกเพิ่มโกรธฮอร์โมน
ไลฟ์สไตล์คนทำงาน อาจก่อความเครียด จนร่างกายมีอาการปวดเกร็ง นอนไม่หลับ ชีวจิต มีสูตรช่วยให้หลับสบาย และได้โกรธฮอร์โมนเต็มที่ ด้วยการฝึกคลายเกร็งร่างกายก่อนนอน
- น อ น ร า บ กั บ พื้ น (บนเสื่อหรือที่นอน) ปล่อยตัวตามสบาย ทิ้งน้ำหนักตัว แขน และขา ให้ตัวเราจมลงไปในพื้น
- ค ล า ย เ ก ร็ ง มื อ โดยกำมือทั้งสองข้าง ออกแรงเกร็งเต็มที่ จนแขนสั่น นับ 1 – 10 แล้วปล่อยแขนเหยียดตามสบาย
- ค ล า ย เ ก ร็ ง เ ท้ า โดยเหยียดปลายเท้าไปข้างหน้า นับ 1 – 10 แล้วปล่อยขาหย่อนตามสบาย
- คลายเกร็งคอและไหล่ โดยยกศรีษะขึ้น ให้คางจรดหน้าอก หมุนคอช้า ๆ จากซ้ายไปขวาจนครบรอบ แล้วหมุนกลับจากขวามาซ้าย จากนั้นนอนหงายตามปกติ
- คลายเกร็งลำตัว โดยแขม่วท้องให้รู้สึกเหมือนสะดือจรดกระดูกสันหลัง หายใจเข้ายาว ๆ แล้วกลั้นไว้ นับ 1 – 10
แล้วจึงหายใจออก ทำซ้ำอีกครั้ง
ต่อจากนั้น ให้หายใจยาว ๆ ตามปกติ จะรู้สึกว่าร่างกายผ่อนคลาย แต่หากยังรู้สึกว่า ร่างกายผ่อนคลายไม่เต็มที่ให้ทำซ้ำข้อ 1 – 5 อีก 1 – 2 ครั้ง
ออกกําลังกายให้ถึงพีค
คลายเกร็งแล้ว ก็ต้องออกกำลังกายด้วย เพื่อให้หลับได้ง่ายและลึกขึ้น เพราะการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้นอนหลับง่ายแล้ว หลังจากเริ่มต้นออกกําลังกายไปสักพัก ระดับโกรธฮอร์โมนจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ทั้งยังสามารถหลั่งขณะออกกําลังกายได้นานมากกว่า 2 ชั่วโมงขึ้นไป แต่สิ่งสําคัญเพื่อให้ได้โกรธฮอร์โมนมาครอบครอง อาจารย์สาทิส อินทรกําแหง เสริมว่า
“มีข้อแม้อยู่ว่า ต้องออกกําลังกาย หรือทํากายบริหารให้ถึงจุดพีค(peak) ควรออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง และแต่ละครั้งควรใช้เวลาต่อเนื่องอย่างต่ํา 20-30 นาที โดยเลือกออกกําลังกายด้วยวิธีไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรํากระบอง ว่ายน้ํา หรือโยคะ ยิ่งออกกําลังกายมากก็ยิ่งสดใสไม่รู้สึกเหนื่อย”
งานวิจัยโดยแผนกสรีรวิทยาการออกกําลังกาย สถาบันวิจัยเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมแห่งกองทัพสหรัฐอเมริกา แนะวิธีบู๊สต์อย่างด่วนด้วยการออกกําลังกายประเภทใช้กล้ามเนื้อต้นขาและมีอุปกรณ์ เช่น พายเรือ ยกน้ําหนัก ย่อนั่งเก้าอี้ลม วิดพื้น เหล่านี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงจนถึงจุดพีคง่าย ซึ่งผ่านการพิสูจน์แล้วว่า ทําให้ปริมาณโกรธฮอร์โมนหลั่งเพิ่มขึ้นหลายเท่า
เป็นที่น่าสังเกตอีกว่า อุณหภูมิขณะออกกําลังกายก็มีอิทธิพลด้วย โดยกลุ่มนักวิจัยจากคิงส์คอลเลจลอนดอน ประเทศอังกฤษ ศึกษาพบว่า การออกกําลังกายในที่อากาศเย็นทําให้โกรธฮอร์โมนหลั่งปริมาณน้อยกว่าและช้ากว่าในอุณหภูมิห้อง เนื่องจากอุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย(อุณหภูมิที่วัดเมื่ออวัยวะภายในและระบบร่างกายทํางานในระดับที่เหมาะสม) ที่เอื้อต่อการหลั่งโกรธฮอร์โมนลดลง
Tips สำหรับสาว 50+ เพิ่มโกรทฮอร์โมน
โกรทฮอร์โมนช่วยให้นอนหลับดีขึ้น ระบบเผาผลาญทำงานดี รู้สึกสดชื่นสดใส ป้องกันเบาหวาน ฮอร์โมนชนิดนี้จะมีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีอายุ 44 – 55 ปี ดังนั้นถ้าใครไปขอให้แพทย์ให้โกรทฮอร์โมนจะต้องเลือกปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ เพราะถ้าให้แล้วมีระดับโกรทฮอร์โมนมากเกินก็เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งรังไข่
ในการดูแลสุขภาพคนวัย 50 ปี การติดตามระดับโกรทฮอร์โมนเป็นอีกวิธีที่ช่วยทำให้ทราบว่าคนคนนั้นอาจมีเนื้องอกหรือมะเร็งเติบโตขึ้นที่ไหนหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย
ที่มา : หนังสืออ่อนวัยแน่แค่ปรับฮอร์โมน / นิตยสารชีวจิต
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ผู้ป่วยมะเร็ง ออกกำลังกายอย่างไรดี ?
เทคนิคใกล้ตัวช่วย โกร๊ธฮอร์โมน หลั่ง ควรทำควบคู่ออกกำลังกาย
เดินเร็ว ช่วยป้องกันกระดูกเสื่อมได้จริง
แรงกระแทก ดีต่อกระดูกอย่างไร หมอมีคำตอบ
มหัศจรรย์แห่ง การเดิน แรงกระแทกต่ำ ทำได้ทุกคน