รูมาตอยด์

ชีวจิตพิชิต “รูมาตอยด์” ปฏิบัติด่วน! เห็นผลด่วน!

ชีวจิตพิชิต “รูมาตอยด์” ปฏิบัติด่วน! เห็นผลด่วน!

อีกปัญหาความปวด ที่บั่นทอนสุขภาพกาย และจิตใจของผู้ป่วย คือ ปวดจากโรค รูมาตอยด์ ซึ่ง อาจารย์สาทิส กำแหง ผู้ก่อตั้งองค์ความรู้ชีวจิต ได้อธิบายสาเหตุ อาการ และการป้องกันไว้อย่างละเอียด

เราเรียบเรียงข้อมูลจากบทความ ที่อาจารย์สาทิส เคยขียนไว้อย่างละเอียด มาฝากกัน เพื่อช่วยรักษา บรรเทา และป้องกันโรค ดังกล่าว

รูมาตอยด์โรคข้อต่ออักเสบขั้นสุด

รูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) รูมาตอยด์ คล้ายกับข้อต่ออักเสบธรรมดาในตอนต้น แต่ตอนต่อไปของรูมาตอยด์นั้น จะไม่ธรรมดาเสียแล้ว เพระตอนท้ายของรูมาตอยด์นั้น ข้อต่อจะอักเสบและบวมมากกว่า และขั้นสุดท้ายจริง ๆ ก็จะเกิดการบิดเบี้ยว หรือเกิดความพิการ ที่บริเวณข้อต่อนั้น ๆ เริ่มต้นทีเดียว รูมาตอยด์มักจะทำให้เกิดการเจ็บการบวม และอักเสบบริเวณข้อต่อเล็ก ๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้าก่อน ความรู้สึกต่อมาก็คือ พอถึงเวลานอนจะรู้สึกหลับสบายดี แต่พอตื่นขึ้นมาจะรู้สึกข้อต่อแข็ง เคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ ต่อจากนั้นบริเวณที่อักเสบ จะบวมแดง ถ้าสัมผัสถูกบริเวณที่อักเสบนั้น จะรู้สึกร้อน หรืออุ่นผิดปกติ

ความรู้สึกของผู้ป่วยตอนนี้ จะเจ็บและปวดแบบรำคาญ ๆ พอทนได้ ที่ทนไม่ได้ก็มักจะไปหายาแก้ปวดมากิน

ตอนที่กินยานี้แหละ ต้องระวังให้มาก และสังเกตให้ดี จะเป็น หัวเลี้ยว-หัวต่อ ที่สำคัญมาก

เพราะถ้าคุณกินยาแก้ปวด อาการปวดจะทุเลา หรือหายทันที คนไข้ก็จะรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นอะไรร้ายแรง พอปวดอีกก็ซื้อยาแก้ปวดมากินอีก พอเป็น ๆ หายๆ แบบนี้ พักเดียว
ลองดูที่ข้อนิ้ว หรือข้อเล็ก ๆ บริเวณที่เป็น จะเห็นว่าข้อต่อนั้นบวมและแข็ง และในไม่ช้าก็จะงอไม่ค่อยได้

ถ้าเป็นคุณผู้หญิง ตอนนี้ต้องระวังให้มาก ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชายก็ระยะนี้นี่เอง ยิ่งการปวดบวมและแข็งเป็นในระหว่างที่เข้า “วัยทอง” ด้วยแล้ว อาการแข็งปวด และอาการบิดเบี้ยวพิการจะเกิดขึ้นทันที..

ในด้านวงการแพทย์ ซึ่งศึกษาข้อต่ออักเสบ แบบรูมาตอยด์มาเป็นเวลานานกว่าร้อยปี มักจะกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่มีใครตอบได้ว่า อะไรเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดป่วยเป็นรูมาตอยด์

จึงต่างพากันชัดทอด เป็นการใหญ่ว่า รูมาตอยด์เกิดขึ้นมา เพราะเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือเพราะ Immune Deficiency Diseases นักค้นคว้าบางคน ถึงกับระบุว่า คงจะมีไวรัสบางตัวไปกระตุ้น ให้ระบบ aune System ทำงาน และในขณะเดียวกันเซลล์ ซึ่งพร้อมที่จะรักษาตัวเองอยู่แล้ว (เม็ดเลือดขาวบางตัว) ก็เกิดหน้ามืดตาลาย รีบเข้าทำลายเซลล์ข้อต่อของตัวเองจนเกิดการอักเสบขึ้นมา ก็ทำนองเดียวกับคำว่า “ภูมิคุ้มกันเสื่อม”

ผู้ป่วย ” ข้ออักเสบ ” และ ” ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ” ควรกินอาหารอย่างไร

สำหรับผู้ป่วย ” ข้ออักเสบ ” และ ” ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ” ส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะแนะนำให้บริโภคอาหารลักษณะเดียวกับผู้ควบคุมน้ำหนัก เพราะน้ำหนักตัวที่มากเกินไปทำให้อาการอักเสบทวีความรุนแรง โดยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีคำแนะนำถึงกลุ่มอาหารที่ผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการห่างไกลโรคดังกล่าวควรกิน ดังนี้

ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3

เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลากระบอก ปลาทู ปลาดุก ปลาช่อน เป็นต้น โดยเฉพาะผู้เป็นโรคอักเสบรูมาตอยด์ เพราะกรดไขมันโอเมก้า-3 ในปลามีคุณสมบัติยับยั้งการอักเสบของข้อกระดูก จึงแนะนำให้บริโภคเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์

ธัญพืชไม่ขัดสี

เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต จมูกข้าวสาลี ถั่วต่างๆ โดยแพทย์แนะนำว่า ควรบริโภคถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้จากน้ำนมถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งกรณีสำหรับถั่วนั้นไม่ควรกินมากเกินไป เพราะมีแคลอรีสูง

ผักผลไม้

เช่น ผักใบเขียวต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งเบต้า-แคโรทีน แคลเซียม โฟเลต เหล็ก วิตามินซี รวมทั้งกล้วยที่เป็นแหล่งโพแทสเซียมและใยอาหาร ควรกินอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ขิงและเซเลอรี่ก็พบว่ามีสารช่วยลดอาการอักเสบได้เช่นกัน จึงควรกินอย่างน้อยครั้งละ 5 กรัม สัปดาห์ละ 2 ครั้ง

ผักผลไม้, ผักผลไม้ 5 สี, สีของผักผลไม้, อาหารสุขภาพ

ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ควรงดอาหารที่ผ่านกรรมวิธีขัดสี อาหารรสเค็มจัด หวานจัด และอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว เช่น เนย เนยแข็ง น้ำมันมะพร้าว

เรื่อง ชมนาด ภาพจาก Pixabay

ชีวจิต 523 – คู่มือหยุดปวดตั้งแต่หัวจรดเท้า

นิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 22 : 16 กรกฎาคม 2563

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความอื่นที่น่าสนใจ

โรคแทรกซ้อนจากรูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รักษาได้ด้วยการออกกำลังกาย

6 โรคเสี่ยงจาก ฮอร์โมนเพศหญิงเกิน

แรงกระแทก ดีต่อกระดูกอย่างไร หมอมีคำตอบ

ความดันและไขมันในเลือดสูง ปรับเปลี่ยน 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ไม่ง้อยา

ติดตามชีวจิตได้ที่
https://www.instagram.com/cheewajitmedia/

https://www.facebook.com/CheewajitMagazine

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.