6 โรคเสี่ยงจาก ฮอร์โมนเพศหญิงเกิน

6 โรคเสี่ยง ที่เกิดจาก ฮอร์โมนเพศหญิงเกิน        

เคยได้ยินเรื่อง ฮอร์โมนเพศหญิงเกิน กันมั้ยคะ เรื่องนี้บอกเลยว่าหากต้องการเป็นสาวสวยหุ่นดี ผิวพรรณเปล่งปลั่งต้องอาศัยความช่วยเหลือจากฮอร์โมนเอสโทรเจน (Estrogen) แต่ถ้าเผลอไปกินอาหารที่มีการปนเปื้อน ฮอร์โมน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ อาจทําให้คุณผู้หญิงเกิดภาวะฮอร์โมนเอสโทรเจนเกิน

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนไม่สมดุลชนิดนี้

อาจเกิดมาจากหลายอย่าง เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น หรือมีโรคอ้วนมี ความเครียดเรื้อรัง มาจากอาหารการกิน สารพิษสารเคมีที่ได้รับเข้ามา การทานยาคุมกำเนิด หรือ ยาที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ หรือ กรรมพันธุ์ เป็นต้น ทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ ตามมามากมาย ที่เด่น ๆ ได้แก่

  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • มีอาการก่อนประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น ตัวบวมง่าย หิวของหวาน หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักขึ้นไว ไขมันเพิ่มง่าย ปวดหัวไมเกรน ตึงคัดเต้านม เป็นต้น เราเรียกว่า กลุ่มอาการ PMS : Premenstrual Syndrome นั่นเอง
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิดบ่อย วีนเหวี่ยงง่าย นอนหลับยาก
  • หากเป็นระยะนาน ๆ อาจทำให้เกิดเนื้องอก ถุงน้ำที่เต้านม มดลูก หรือ รังไข่ได้ หรือ เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในอวัยวะเหล่านี้ได้อีกด้วย

แนวทางในการรักษาภาวะฮอร์โมนเอสโตรเจนทำงานเด่นเกิน ได้แก่

1.ควบคุมน้ำหนักตัวให้พอดี

การมีปริมาณไขมันส่วนเกินยิ่งมาก ยิ่งทำให้ Estrogen ยิ่งผลิตออกมามาก นอกจากนี้ ควรลดความเครียดที่เกิดขึ้นลงด้วยวิธีต่าง ๆ เพราะการเครียดมาก ๆ นาน ๆ ทำให้ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนน้อยลงนั่นเอง (ภาวะเครียดเรื้อรัง ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลมาก ซึ่งส่งผลให้ลดการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน)

2.ออกกำลังกายพอเหมาะในระดับปานกลาง (Moderate Exercise)

เป็นวิธีง่าย ๆ แทบไม่ต้องลงทุนมากมาย เเต่ต้องลงทุนเเรง และลงทุนใจ แต่ต้องออกให้เหมาะสมกับตัวเรา

3.เน้นการรับประทานอาหารที่มีไขมันดีเพิ่มขึ้น

เน้นที่ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เช่น น้ำมันมะกอก อะโวกาโด หรือไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนจากธรรมชาติ เช่น โอเมก้า 3 จากปลา ถั่ว อัลมอนต์ เมล็ดแฟล็กมากขึ้น นอกจากนี้ควรเสริมด้วยการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารมากขึ้น (High fiber diets, plant-based diets)

4.รับประทานอาหารประเภทเต้าหู้ถั่วเหลือง (Soy)

ควรเลือกแบบออร์กานิกอย่างพอเหมาะ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เนื่องจากสาร Phytoestrogen ซึ่งมาจากธรรมชาตินั้น สามารถยังยั้งการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีอยู่ในร่างกายซึ่งกำลังออกฤทธิ์มากได้ โดยการไปแย่งจับบริเวณตัวรับ (Receptors) ที่เซลล์ต่าง ๆ ในอวัยวะเป้าหมาย นอกจากนี้ แนะนำให้รับประทาน #ผักในกลุ่มกะหล่ำที่ปรุงสุกแล้ว (Cruciferous vegetable) เช่น บล็อคโคลี่ กะหล่ำปลี กะหล่ำดาวกะหล่ำปม ดอกกะหล่ำ คะน้า เทอร์นิพ เป็นต้น เนื่องจากมีสารที่ช่วยในกระบวนการเมตาบอลิสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย

5.ไม่ดื่มกาแฟมากจนเกินไป

การแฟที่ดื่มควรเป็นกาแฟดำ วันละ 1 แก้ว ถือว่าเพียงพอ

หนังสือโรคของต่อมไร้ท่อ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ สํานักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพให้ข้อมูลว่า อาจเสี่ยงเกิดโรคร้ายดังต่อไปนี้

1.ปวดศีรษะไมเกรน เจ็บเต้านม เป็นสิว อ้วนง่าย

2.เกิดกลุ่มอาการก่อนมีประจําเดือน กลุ่มอาการก่อนและหลังวัยหมดประจําเดือนถาวร

3.เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และถุงน้ำในเต้านม

4.เพิ่มความเสี่ยงเกิดโรคลิ่มเลือดในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะเส้นเลือดสมองและเส้นเลือดหัวใจ

5.เพิ่มโอกาสเกิดโรคนิ่วในถุงน้ำดี

6.ความรู้สึกและความต้องการทางเพศลดลง

รู้อย่างนี้แล้วต้องรักษาระดับฮอร์โมนเพศหญิงให้เป็นปกติ ด้วยการกินอาหารชีวจิตค่ะ

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ปรับระบบ เมแทบอลิซึม สร้างสมดุลฮอร์โมน ลดโรคเรื้อรัง

รักษาโรคเรื้อรัง ด้วยฮอร์โมน ทางเลือกใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

ตอบปัญหา เราสามารถรับฮอร์โมนเพศหญิง จากอาหารได้หรือไม่

เช็กหน่อย! ง่วงนอนบ่อย ง่วงตลอดเวลา เสี่ยงป่วยหลายโรค

นอนไม่หลับแบบไหน ควรพบจิตแพทย์

แรงกระแทก ดีต่อกระดูกอย่างไร หมอมีคำตอบ

ความดันและไขมันในเลือดสูง ปรับเปลี่ยน 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ไม่ง้อยา

ติดตามชีวจิตได้ที่
https://www.instagram.com/cheewajitmedia/

https://www.facebook.com/CheewajitMagazine

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.