PM 2.5 ทำให้เป็นมะเร็งปอด

ตอบคำถาม PM 2.5 ทำให้เป็นมะเร็งปอด จริงไหม?

PM 2.5 ทำให้เป็นมะเร็งปอด จริงหรือไม่

ปัญหามลภาวะทางอากาศของเชียงใหม่ รวมถึงหลาย ๆ จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีมานานกว่า 10 ปี และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา จนเกิดเป็นความสงสัยว่า PM 2.5 ทำให้เป็นมะเร็งปอด จริงไหม ? เพราะต้องยอมรับว่าช่วงนี้มีกระแสข่าวการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดเป็นจำนวนมาก วันนี้ อาจารย์ แพทย์หญิงธนิกา เกตุเผือก หน่วยวิชามะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะมาเป็นผู้ไขข้อสงสัยนี้ให้เราฟังกันค่ะ

PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายได้ลึกแค่ไหน

มลภาวะทางอากาศในระดับรุนแรงที่ดูกันง่าย ๆ จาก Air quality index (AQI) ว่าเป็นสีแดง สีม่วงนั้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชัดเจน ทั้งโรคทางเดินหายใจ โรคทางหลอดเลือดสมองและหัวใจ และแน่นอนคือมะเร็งปอด

PM 2.5 ทำให้เป็นมะเร็งปอด

สำหรับ Particulate matter (PM) 2.5 คือ วัตถุที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน ก็คือเล็กกว่ามิลลิเมตรพันเท่า เลยสามารถลงไปในปอดส่วนลึกได้

PM 2.5 กับ มะเร็งปอด

มะเร็งปอดคนทั่วไปจะเข้าใจว่าสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ เป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง มีความสัมพันธ์กัน ยิ่งสูบเยอะ สูบนาน ยิ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งปอด แต่ปัจจุบันพบว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่สามารถเป็นมะเร็งปอดได้เช่นเดียวกันและพบได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในคนที่มีอายุน้อย เพศหญิงและเป็นชาวเอเชียตะวันออก

เริ่มแรกตั้งแต่ปี 2009 มีการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีลักษณะเช่นนี้ สัมพันธ์กับยีนกลายพันธุ์ที่เรียกว่า EGFR แต่สาเหตุของการเกิดมะเร็งปอดในผู้ป่วยกลุ่มนี้นั้น มีหลายปัจจัยส่งเสริม เช่น พันธุกรรม เชื้อชาติ การได้รับสารก่อมะเร็ง และมลภาวะทางอากาศ

มีการศึกษาพบว่า ทุกๆ PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้น 1 ไมโครกรัมมิลลิเมตร ทำให้อุบัติการณ์ของ มะเร็งปอดที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR เพิ่มขึ้น ทั้งจากประชากรในประเทศอังกฤษ เกาหลีใต้และไต้หวัน และพบว่าผู้ที่ได้รับมลภาวะทางอากาศสูงเป็นเวลา 3 ปี เกิดมะเร็งปอดที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR มากกว่าผู้ที่ได้รับมลภาวะทางอากาศน้อย 1.08 เท่า ดังนั้นหากอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีมลภาวะทางอากาศสูง 3 ปีก็เพียงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอดชนิดนี้

PM 2.5 ทำให้เป็นมะเร็งปอด

จากการศึกษาในหนูพบว่า PM เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอดในหนูที่มียีนกลายพันธุ์ EGFR และ KRAS อยู่แล้ว โดยกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มขึ้นของเซลล์ที่มียีนกลายพันธุ์ทั้งในปอดปกติที่ยังไม่เกิดมะเร็งและในรอยโรคที่มีแนวโน้มที่จะเกิดมะเร็งในอนาคต ผ่านการกระตุ้นการอักเสบและการสร้างสารอักเสบ (Inflammatory cytokines) IL-1B

นอกจากนี้การศึกษาที่นำเนื้อเยื่อจากปอดปกติของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งและผู้ป่วยที่มีก้อนเล็ก ๆ ที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง 295 คน มาตรวจ พบว่า 18% ของเนื้อเยื่อปอดปกตินี้มียีนกลายพันธุ์ EGFR อยู่แล้ว และ 53% มียีนกลายพันธุ์ KRAS

ไขคำตอบ PM 2.5 ก่อมะเร็งปอด จริงไหม

ดังนั้นจากการศึกษาทั้งหมดที่กล่าวมา สรุปได้ว่า PM 2.5 เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดมะเร็งปอด โดยเฉพาะในคนที่มีการกลายพันธุ์ของยีน EGFR และ KRAS อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า PM 2.5 นั้นเป็น “ปัจจัยกระตุ้น” ไม่ใช่สาเหตุ และในปัจจุบันเราไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า ในผู้ป่วยคนหนึ่งที่เป็นมะเร็งปอดนั้นมีสาเหตุจากอะไรได้แน่นอน เนื่องจากกระบวนการเกิดมะเร็งดังกล่าวซับซ้อนและเกิดได้จากหลายปัจจัยกระตุ้นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

เมื่อทราบดังนี้แล้ว จึงไม่ควรอยู่ในบริเวณที่มีมลภาวะทางอากาศสูง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใส่หน้ากากที่ป้องกัน PM 2.5 ได้แก่ หน้ากาก N95 เป็นต้นไป จึงจะสามารถกรองอนุภาคเหล่านี้ได้ งดกิจกรรมกลางแจ้ง อยู่ในอาคารและเปิดเครื่องฟอกอากาศ

Ref: https://www.nature.com/articles/s41586-023-05874-3

ผักป้องกันมะเร็ง

นอกจากการป้องกันฝุ่น PM 2.5 แล้ว อีกสิ่งที่เราจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้ คือการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดการเกิดอนุมูลอิสระ ด้วยอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการเกิดเซลลมะเร็งในร่างกาย

ชา

ในใบชามีสารที่ชื่อว่า “ฟลาไวนอยด์” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง นอกจากนั้นฟลาโวนอยด์ ยังเป็นสารที่ช่วยให้เกร็ดเลือดไม่จับตัวกัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ เมื่อดื่มชาเป็นประจำทุกวัน เพียงวันละ 1 ถ้วย จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและหัวใจลงได้

ขิง

เป็นพืชที่พรั่งพร้อมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เหง้าของขิงแก่ มีสารเบต้า คาโรทีน ที่ช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ขิงจึงเป็นพืชที่รับประทานแล้วช่วยต้านมะเร็งได้

พริกไทย

เป็นพืชที่มีสารสำคัญ ชื่อ “ฟีนอลิกส์” ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอย่างดี พริกไทยเป็นพืชที่มีคุณสมบัติด้านสารก่อมะเร็งในทางเดินอาหารได้อย่างดี และยังพบว่าพริกไทยสามารถเร่งให้ตับทำลายสารพิษมากขึ้น

ใบแป๊ะก๊วย มีสารสำคัญที่ส่งผลช่วยให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองดีขึ้น ทำให้สมองตื่นตัว ใช้กับพวกที่มีความจำเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็ง

เห็ดหลินจือ

สารสำคัญที่พบมีฤทธิ์ต้านมะเร็งโดยเข้าไปยับยั้งเนื้องอกได้ดี คือ โพลีแซคคาไรด์ชนิดเบต้า ดี-กลูแคน จากการศึกษาโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าสารสกัดจากเห็นหลินจือ มีผลต่อเซลล์มะเร็งในสัตว์ทดลอง นอกจากนั้นยังพบว่าสามารถออกฤทธิ์ช่วยให้ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดีและยังมีฤทธิ์ต้านพิษที่เกิดจากการฉายรังสี จึงอาจเป็นไปได้ว่าการใช้เห็ดหลินจือจะช่วยชะลอการลุกลามของมะเร็ง

ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ ดอกเห็ดที่อยู่ในช่วงที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งจะเป็นช่วงที่มีสีน้ำตาลแดงสปอร์มีสีน้ำตาล รสขม รูปร่างรี ดอกเห็ดแก่ ขอบหมวกจะงุ้มลง สีหมวกเข้มขึ้น และอาจมีดอกใหม่งอกซ้อนขึ้นก็ได้

ใบแป๊ะก๊วย

แหล่งรวมสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งแน่นอนว่าช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้นตอของการเกิดมะเร็งได้ ป้องกันเซลล์ในร่างกายถูกทำลายโดยสารต้านอนุมูลอิสระ และความพิเศษคือ แม้ว่าจะนำไปประกอบอาหาร ผ่านความร้อนจนสุก แต่ก็ยังมีสารสำคัญสูงถึง 60%

นอกจากนั้นแล้ว ใบแป๊ะก๊วย ยังคงมีสารที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นดวงตา ที่ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น ลดความเบลอของภาพ ป้องกันความเสี่ยงการเกิดเบาหวานขึ้นตา รวมถึงภาวะจอประสาทตาเสื่อมที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ และผู้ที่เป็นเบาหวาน

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อาการมะเร็งปอด รู้ไว้ก่อนก็รอดได้ไว

อาการโรคมะเร็ง ยอดฮิต ที่ไม่ควรมองข้าม

ผักป้องกันมะเร็ง มีอะไรบ้าง เรามีคำตอบ

สามารถติดตามบทความของ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (official)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.