สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร
10 สูตรยา พอก กิน ทา
สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร เป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องปากท้องเราได้
ความสำคัญของปากท้อง
เพราะปากท้องเป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม เพราะไม่ว่ากินอะไร ร่างกายก็จะได้ประโยชน์อย่างนั้น เอาเป็นว่าแพทย์แผนไทยให้ความสำคัญมาก เพราะหากเรามีสุขภาพท้อง หรือระบบย่อยอาหารที่ดี สารอาหารที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกายก็ย่อมดีไปด้วย
ในทางตรงกันข้ามหากระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายไม่ดี ก็จะปรากฎอาการแสดงออกทางผิวหนัง เช่น อาการผื่นแพ้ คัน อาการตัวร้อน มีไข้ก็เป็นไปได้เช่นกัน
แล้วเราจะมีวิธีการดูแลอย่างไรดี
เราควรให้ความสำคัญกับอาหารใหม่ แพทย์แผนไทยเรียกว่า อุทรียัง คือ อาหารที่กินเข้าไปเเล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยผ่านกระบวนการบดเคี้ยวด้วยฟัน แล้วคลุกเคล้าด้วยน้ำลาย ผ่านทางช่องคอ หลอดอาหาร จนมาถึงกระเพาะอาหาร ผสมด้วยน้ำดี เอนไซม์ต่างๆ จนถึงลำไส้เล็ก โดยมีธาตุไฟ(ไฟย่อยอาหารปริณามัคคี) ที่พัดพามากับธาตุลม ช่วยในการเผาผลาญ แล้วดูดซึมสารอาหารต่างๆเข้าสู่ร่างกายตามลำดับ
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่เราต้องใส่ใจเป็นอันดับเเรก คือ การกินนั้นเองครับ เพราะหากกินผิด กินสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ก็จะทำให้ อุทรียัง มีอาการกำเริบ หย่อน และพิการได้ ซึ่งมีอาการที่พบได้ดังนี้
อาการกำเริบ คือ กินอาหารเข้าไปแล้วรู้สึกอึดอัดท้อง เเน่นท้อง ร้อนท้อง ท้องเสียระบายออกมา
อาการหย่อน คือ มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เพราะมีลมในช่องท้องมาก
อาการพิการ คือ มีอาการร้อนท้อง จุกเสียด แน่อก ลามไปถึงบริเวณชายโครง ผะอืดผะอม จะอาเจียน เป็นต้น
เห็นไหมว่า อาการเหล่านี้ดูคล้ายๆกับอาการความผิดปกติของโรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน คล้ายกับโรค กษัยปู ในทางการแพทย์แผนไทยนั่นเอง
ยังไงเราลองมาดูวิธีการป้องกัน และการแก้ปัญหาอาการความผิดปกติเกี่ยวกับการกินที่ส่งผลโดยตรงต่อกระเพาะอาหารของเรา มีทั้งกิน พอก ทา และสุมเลยนะ ดังต่อไปนี้
สูตรยากิน แก้โรคกระเพาะ กรดไหลย้อน
การกินยาถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถรักษาอาการได้ตรงจุด โดยเฉพาะการกินยาน้ำ หรือยาต้ม ช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมยาได้ดีที่สุด หายเร็วกว่ายาเม็ด แต่สำหรับคนที่ชอบกินยาเม็ด หรือแคปซูล ถึงเเม้ว่าจะผลการรักษาช้ากว่า เเต่ก็สามารถรักษาโรคได้เช่นกันครับ แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาการและโรคด้วย
และที่สำคัญยา สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร ควรกินก่อนอาหารนะครับ เพราะยาไทยมีสารออกฤทธิ์ปริมาณน้อย ละไม่คงที่ การกินหลังอาการอาจถูกขัดขวางการดูดซึมของยาได้
-
ขมิ้นชัน รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ว่าขมิ้นชันสามารถช่วยแก้ปัญหาโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบย่อยอาหารของเราได้ ก็เพราะว่าขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil ) และสารเคอร์คูมิน (Curcumin)นั่นเอง ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้อง กินอาหารเข้าไปแล้วรู้สึกไม่ย่อย ฯลฯ
วิธีกิน การกินขมิ้นชันสามารถกินได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับโรคและอาการที่ต้องการรักษา เช่น หากกินเป็นอาหาร หรือใช้ประกอบอาหาร ก็จะช่วยป้องกันโรคกระเพาะอาหาร ระบบย่อยอาหารได้
เเต่ถ้าอยากรักษาอาการกรดไหลย้อนให้นำมาขมิ้นชันมาต้ม กินในรูปแบบของยาน้ำ ต้มขมิ้นชัน 15 กรัม ใส่น้ำปริมาณท่วมตัวยา ต้มเดือด 15-30 นาที แล้วดื่มก่อนอาหาร จะทำให้ตัวยาดูดดซึมเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น
เเละสุดท้ายกินในรูปแบบของแคปซูล ปริมาณ 250 มิลลิกรัม 3 แคปซูล ก่อนอาหาร เช้า เที่ยง กลางวันเย็น จะช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร แต่ถ้ากินเพื่อแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ก็สามารถกินหลังอาหาร หรือเมื่อมีอาหารได้ทันทีเช่นกัน
เรื่องน่ารู้ : 3 ประโยชน์ดี ๆ ของการใช้ประโยชน์จากขมิ้นชัน
-
ว่านหางจระเข้ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ว่านหางจระเข้ เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรที่หลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้จัก ว่าสามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารได้ โดยเฉพาะวุ้น เเละเมือกของว่านหางจระเข้ มีสารอะลอกติน (Aloctin) ช่วยเคลือบกระเพาะอาหาร ลดการหลั่งกรด และลดกระบวนการอักเสบของแผลในกระเพาะอาหารได้
วิธีกิน นำว่านหางจระเข้ ปอกเปลือกเอาเเต่วุ้น เเล้วล้างด้วยน้ำไหลให้ยางสีเหลืองออกให้หมด เพื่อป้องกันอาการระบาย หรือถ่ายท้อง เพราะยางสีเหลือง มีสารแอนทราควิโนน (Antraquinone) กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
เมื่อได้วุ้นว่านหางจระเข้มาเเล้ว สามารถนำมากินสด หรือปั่นผสมในเครื่องดื่มก็ได้เช่นกัน โดยกินปริมาณ 250 มิลลิลิตร ก่อนอาหาร เช้า กลางวันเย็น
เรื่องน่ารู้ :3 วิธีกินว่านหางจระเข้ รักษากรดไหลย้อน
-
กล้วยน้ำว้า รักษาโรคกระเพาะอาหาร
โดยเฉพาะกล้วยดิบ ซึ่งมีรสฝาด ช่วยกระตุ้นให้ผนังกระเพาะอาหารสร้างเมือกมากขึ้น เพื่อรักษาแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้น เเต่ไม่ได้ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารนะ
วิธีกิน เลือกกล้วยน้ำว้าดิบ ปอกเปลือก เเล้วหั่นเป็นแว่น นำไปตากเเดด แล้วบดให้ละเอียดเก็บใส่ขวดไว้กิน วิธีกินใช้กล้วยดิบผง 1-2 ช้อนชา ชงกับน้ำร้อน เเล้วดื่มก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น จะช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี
เเต่นอกจากนี้ความสุกของกล้วยในระดับต่างๆ ยังสามารถช่วยแก้ปัญหาของระบบย่่อยอาหารได้อีกด้วย เช่น กล้วยเริ่มสุก ช่วยแก้อาการท้องเสีย ถ่ายท้อง กล้วยสุกงอม ช่วยรักษาอาการท้องผูก
เรื่องน่ารู้ : รวมวิธีกินกล้วยที่ดีที่สุด รักษา 6โรคยอดฮิต ระบบย่อยอาหาร
-
อบเชยเทศ รักษากรดไหลย้อน
อบเชยเทศ มีคุณสมบัติเด่น คือ มีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ช่วยเสริมบำรุงธาตุไฟในร่างกายได้เป้นอย่างดี เพราะหากธาตุไฟผิดปกติ ก็จะทำให้ระบบการย่อยอาหารของเราผิดปกติไปด้วย เช่น ช่วยรักษาอาการท้องอืด ท้องเเฟ้อ แน่นท้อง หรือรักษาอาการเเสบหน้าอกจากกรดไหลย้อนได้ด้วย
วิธีกิน เราสามารถกินอบเชยเพื่อการรักษาได้ 2 แบบ คือ ถ้าต้องการรักษาโรคกรดไหลย้อน ให้กินในรูปแบบของยาน้ำ คือ การนำอบเชยเทศ 15 กรัม ใส่น้ำท่วมยา ต้มเดือด 15 นาที แล้วดื่มก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น หรือถ้าต้องการแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ก็ให้กินในรูปแบบของยาธาตุอบเชย ปริมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ทันทีเมื่อมีอาการ
เรื่องน่ารู้ : ยาธาตุอบเชย กินแก้ท้องอืด หายได้ภายในเร็ววัน
-
ยอ รักษาแผลในหลอดอาหาร
เราอาจจะคุ้นชินกับการกินใบยอในห่อหมก ไม่นิยมกินลูกยอที่มีสารสำคัญที่ช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อนได้ เพราะมีงานวิจัยพบว่า ยอมีสารสโคโปเลติน (Scopolein) ช่วยลดการอักเสบของหลอดอาหารที่เกิดจากกรดไหลย้อนได้ใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบัน เเถมนอกจากนี้ยอยังถูกนำมากินช่วยแก้อาการเมารถ เมาเรือ แก้อาการคลื้นไส้อาเจียนได้ดีไม่เเพ้ของเลยทีเดียว
วิธีกิน สามารถกินได้ทั้งลูกสดๆ หรือนำยอมาตากแห้ง แล้วบดให้ละเอียด สำหรับยอผง ให้กินปริมาณ 2-3 ช้อนชา ชงกับน้ำเดือด แล้วดื่มก่อนอาหาร เช้า กลางวัน เย็น หรือเมื่อมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
เรื่องน่ารู้ : 5 วิธีภูมิปัญญาไทยกับการใช้ ‘ยอ’ ดูแลสุขภาพ
-
กระเจี๊ยบมอญ เคลือบกระเพาะอาหาร
กระเจี๊ยบมอญ หรือกระเจี๊ยบเขียว อาจไม่นิยมกินกันมากนัก แต่ถ้าใครไปเที่ยวญี่ปุ่นแถบโอกินาว่า จะพบว่ามีการนำกระเจี๊ยบเขียว(โอการา)มาประกอบอาหารมากมาย เพราะคุณสมบัติเด่นคือ มีใยอาหารและสารเมือก ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ใกล้เคียงกับยาแผนปัจจุบันเลย แถมยังช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียต้นเหตุของโรคกระเพาะอาหารด้วย
วิธีกิน สามารถกินได้ทั้งแบบสด หรือลวกน้ำเดือด แล้วจิ้มกินเป็นผักแกล้ม หรือผักเหนาะ