นอนกรน หรือ หยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอนกรน หรือ หยุดหายใจขณะนอนหลับ กับการทดสอบ Sleep test โรงพยาบาลไหน ราคาเท่าไหร่?

นอนกรน หรือ หยุดหายใจขณะนอนหลับ กับการทดสอบ Sleep test ที่โรงพยาบาลไหนดี

ปัจจุบัน โรค นอนกรน หรือ หยุดหายใจขณะนอนหลับ กำลังเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่หลายคนกำลังประสบ และจากการศึกษาในต่างประเทศยังพบว่า ผู้ชายนอนกรนมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายที่นอนกรน มีประมาณร้อยละ 20-50 และมีปัญหาหยุดหายใจจากทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับร้อยละ 25 ส่วนผู้หญิงที่นอนกรนมีประมาณร้อยละ 10-20 และมีปัญหาหยุดหายใจร้อยละ 10

โรคนอนกรน คืออะไร

ตามข้อมูลวิทยาลัยอายุรศาสตร์การนอนหลับอเมริกา (AASM) อธิบายถึงโรคนอนกรน และโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ ว่าคือ ภาวะที่ทางเดินลมหายใจส่วนบนยุบตัวลงระหว่างนอนหลับ ทำให้หยุดหายใจ นานครั้งละ 10 วินาทีขึ้นไป แล้วสะดุ้งตื่น ไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 5 ครั้ง

 

นอนกรน, หยุดหายใจขณะนอนหลับ, Sleep test,

สาเหตุของการนอนกรน

การนอนกรน  ส่วนใหญ่พบได้เมื่อเรานอนหงายและหลับลึก โดยเนื้อเยื่อในช่องคอ เช่น เพดานอ่อน ลิ้น จะหย่อนไปทางด้านหลัง ทำให้ช่องคอแคบลง และเกิดการสั่นสะเทือนมากขึ้น จนเกิดเสียงกรนเสียงดัง  นอกจากก่อความรำคาญให้คนข้างๆ แล้วจริงๆ ก็เป็นภัยร้ายต่อสุขภาพของเราด้วยนะ เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนหายใจขณะหลับเป็นเวลานานหลายวินาทีซึ่งจะเป็นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากหยุดหายใจนานเกินไป  โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ  ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

สาเหตุการนอนกรน หรือ หยุดหายใจขณะนอนหลับ  มีด้วยกันหลายปัจจัย อาทิ ความอ้วน เนื่องจากคนที่มีน้ำหนักมากจะมีไขมันสะสมอยู่ที่เนื้อเยื่อรอบช่องคอทำให้ทางเดินหายใจแคบลง แต่นอกจากความอ้วน คนที่ผอมบางก็สามารถเป็นได้เช่นกัน หากมีลักษณะโครงสร้างกระดูกใบหน้าที่ผิดปกติ อย่างเช่นคางสั้น ก็สามารถทำให้เกิดเสียงกรนได้เมื่อหายใจขณะนอนหลับ ไปจนถึงอายุที่เพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อบริเวณคอ จะหย่อนไปด้านหลังช่องคอ ทำให้เกิดการสั่นเวลาหายใจขณะหลับ นอกจากนั้นผู้ที่ดื่มสุรา หรือเป็นหวัดเรื้อรังก็จะเป็นสาเหตุทำให้นอนกรนได้เช่นกัน

 

Sleep test, นอนกรน, ไหลตาย

การรักษา

สำหรับคนที่พบว่าตัวเองนอนกรน ปัจจุบันทุกคนสามารถทดสอบความผิดปกติการนอนหลับ Sleep Lab Test เพื่อวินิจฉัย การนอนกรนของตัวเอง และประเมินระดับความรุนแรงของโรคได้ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น การกระตุกของกล้ามเนื้อต่างๆ หรือพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ ซึ่งเป็นการวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมตามแต่ละบุคคล ให้ไม่เกินอันตรายถึงชีวิตได้

และไม่ต้องกังวล เนื่องจากการทดสอบ Sleep lab test ไม่ได้น่ากลัวหรืออันตรายใดๆ อธิบายง่ายๆ ก็คือการบันทึกการนอนหลับของคุณนั่นเอง ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะหลับ ตรวจลมหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจที่เปลี่ยนแปลงขณะหยุดหายใจ ไปจนถึงการตรวจวัดระดับออกซิเจนในกระแสเลือด แล้วนำบันทึกนั้นไปวิเคราะห์ว่ามีปัญหาใดบ้าง

ดังนั้นใครที่มีปัญหาการนอนกรน หรือ หยุดหายใจขณะนอนหลับ แนะนำว่าควรลองไปปรึกษาแพทย์ เนื่องจาก sleep lab มีให้บริการใน รพ ใหญ่ๆ หลายแห่งทั่วไทย ยกตัวอย่างเช่น ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ราคาเริ่มต้นครั้งละ 8,000 บาท  นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลอีกหลายแห่ง ซึ่งมีแพคเกตราคาต่างกันไป โดยเราได้รวบรวมไว้ตามด้านล่างนี้ แต่ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามโรงพยาบาลต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง

โรงพยาบาลสมิติเวช ราคาเริ่มต้น 18,000 บาท
โรงพยาบาลยันฮี ราคาเริ่มต้น 11,000 บาท
โรงพยาบาล เวิลด์เมดิคอล ราคาเริ่มต้น  10,000 บาท
โรงพยาลบางปะกอก 9  ราคาเริ่มต้น 12,000 บาท
โรงพยาบาลสินแพทย์ ราคาเริ่มต้น 13,500 บาท
โรงพยาบาลวิภาวดี ราคาเริ่มต้น 16,000 บาท

หลังจากได้ทดสอบการนอนหลับ การรักษาโรคนอนกรนมี 3 วิธีหลักๆ ดังนี้ 

1. ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่  การลดน้ำหนัก การเลิกแอลกอฮอล์และบุหรี่ รวมไปถึงหลีกเหลี่ยงการทานยานอนหลับ และท่านอนหงาย เป็นต้น
2. การใช้อุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์ที่ดีที่สุดและผมแนะนำเป็นตัวแรกก็คือ เครื่องเพิ่มความดันลมหายใจแบบต่อเนื่องผ่านจมูก (Nasal CPAP) ถ้าไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยไม่ชอบก็ต้องหันไปใช้อุปกรณ์ตัวที่สองคือ เครื่องครอบช่วยหายใจสองจังหวะ (BiPAP) ซึ่งผู้ป่วยสามารถปรับความดันในช่วงหายใจเข้า และออกให้พอดีได้เอง แต่มีราคาแพงกว่าและผลการรักษาก็ไม่ได้แตกต่างจาก CPAP
3. การผ่าตัด โดยใช้วิธีแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการอุดกั้นทางเดินลมหายใจอยู่ที่ระดับหลังเพดานปากหลังลิ้นนั่นเอง

 


บทความน่าสนใจอื่นๆ

แก้นอนกรนด้วย 4 สมุนไพร

เทคนิคนอนหลับ เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านสารพัดโรค

6 ขั้นตอนต้องรู้รักษา โรคนอนกรน คนทำงาน

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.