ท่าบริหารข้อมือ, ท่าบริหาร, ข้อมือ

ท่าบริหารข้อมือ สําหรับคนชอบคลิก

ท่าบริหารข้อมือ ป้องกันโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ สําหรับคนชอบคลิก

ท่าบริหารข้อมือ สําหรับคนชอบคลิก คลิก คลิก คลิก เพราะคนที่ทํางานหน้าคอมพิวเตอร์คุ้นเคยกับเสียงนี้เป็นอย่างดี เพราะในวันหนึ่งๆ เราต้องกดเมาส์นับร้อยนับพันครั้ง
โดยหารู้ไม่ว่า การใช้นิ้วชี้กดและลากเมาส์เป็นประจําโดยขาดการบริหารข้อมือ อาจนําโรคร้ายแรงที่ชื่อว่า โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome)  ทําให้เกิดอาการปวดและชาตามข้อมือ หากปล่อยทิ้งไว้นาน อาการนี้จะลุกลามไปสู่บริเวณต้นคอซึ่งถือว่ารุนแรงมากวันนี้ เราจึงมีท่าบริหารเส้นประสาทและเส้นเอ็นบริเวณท่อนแขนและข้อมือมาแนะนํา ดังนี้

ท่าบริหารเส้นเอ็นข้อมือ

1. ตั้งฝ่ามือขึ้น แบมือและเหยียดนิ้วทุกนิ้วให้ตรง
2. งอนิ้วมือทุกนิ้วยกเว้นนิ้วโป้งให้ปลายนิ้วจรดโคนนิ้ว
3. กํามือและแบมือ
4. งอข้อนิ้วมือตรงโคนนิ้วของทุกนิ้ว ยกเว้นนิ้วโป้ง ให้ทํามุมตั้งฉากกับฝ่ามือ
5. กดนิ้วมือลงมาที่ฝ่ามือเบาๆ ขณะเดียวกันพยายามดึงนิ้วโป้งห่างออกจากฝ่ามือให้มากที่สุด ทําแต่ละท่าค้างไว้ประมาณ 7 วินาที ควรทําซ้ําตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1-5 อีกวันละ
5 ครั้ง ระหว่างทํางาน
ท่าบริหารข้อมือ, ท่าบริหาร, ข้อมือ, บริหารเส้นประสาทแขน, แก้ปวดข้อ
ท่าบริหารเส้นเอ็นข้อมือ

ท่าบริหารเส้นประสาทแขนและข้อมือ

1. ตั้งฝ่ามือขึ้นแล้วกํามือ
2. แบมือและเหยียดนิ้วทุกนิ้วให้ตรงที่สุด โดยให้แต่ละนิ้วชิดกัน
3. หงายฝ่ามือไปด้านหลัง ขณะเดียวกันให้กางนิ้วโป้งให้ห่างจากฝ่ามือมากที่สุด
4. ใช้นิ้วหัวแม่มืออีกข้างดึงนิ้วโป้งให้ห่างจากฝ่ามือให้มากที่สุด ทําแต่ละท่าค้างไว้ประมาณ 7 วินาที ควรทําซ้ําตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1-4 อีกวันละ 5 ครั้ง
ท่าบริหารข้อมือ, ท่าบริหาร, ข้อมือ, บริหารเส้นประสาทแขน, แก้ปวดข้อ
ท่าบริหารเส้นประสาทแขนและข้อมือ

ท่าบริหารบอกลาอาการปวดข้อ

1. กระดกข้อมือ กระดกข้อมือลงเข้าหาแขนและหงายข้อมือขึ้นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ทําท่านี้ ซ้ํา 20 ครั้ง
2. บิดข้อมือซ้ายขวา กํามือหลวมๆ แล้วบิดข้อมือไปด้านซ้ายและขวา สลับกัน ทําช้าๆ ติดต่อกัน 20 ครั้ง เพื่อช่วยยืดกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อรอบข้อมือ
3. ยืดกล้ามเนื้อข้อมือ ใช้มือข้างหนึ่งจับบริเวณหลังมืออีกข้าง เช่น หากปวดข้อมือด้านขวาก็ให้ใช้มือซ้ายจับที่หลังมือขวา แล้วค่อยๆ กดมือลงช้าๆ จนรู้สึกตึงบริเวณข้อมือ ทําค้างไว้ 5 วินาที
4. ยืดกล้ามเนื้อข้อมือแบบที่ 2 เลื่อนมือซ้ายมาจับที่บริเวณนิ้วมือข้างขวา (ยกเว้นนิ้วโป้ง) แล้วค่อยๆ ออกแรงดันนิ้วมือไปด้านหลัง โดยที่นิ้วทั้งสี่เหยียดตรง จนรู้สึกตึงบริเวณข้อมือ ทําค้างไว้ 5 วินาที
ปลีกเวลามาบริหารข้อมือสัก 1-2 นาที ชีวจิต คอนเฟิร์มว่า ไม่ป่วย และหายเมื่อยเป็นปลิดทิ้งแน่นอน

บทความอื่นที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.