ทรีทเม้นท์ แพทย์แผนจีน ฝั่งเข็ม กัวซา ทุยหนา สมุนไพรจีน

5 ทรีทเม้นท์ แผนจีน รักษาโรคได้ หายชัวร์

การใช้ยาสมุนไพรจีน

การใช้ยาของแพทย์แผนจีนเปรียบเหมือนการใช้ทหาร บางคนยิงแม่น บางคนสืบความลับเก่ง จึงต้องใช้ให้ถูกคน ยาแต่ละตัวมีสรรพคุณชัดเจน เวลานำมาใช้ขึ้นอยู่กับว่าใช้ยาตัวไหนอย่างไร แต่ละตัวก็มีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน ถึงแม้ป่วยด้วยโรคเดียวกันแต่อาจใช้ยาคนละตัว อาการของโรคเองก็มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เริ่มต้นเป็น ระหว่างที่เป็น และช่วงท้าย หมอจึงต้องนัดตรวจและปรับยาตามอาการ

ยาแต่ละตำรับของจีนนั้นมีสรรพคุณแตกต่างกัน ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ไว้ 17 ประเภท เช่น  บำรุง ปรับสมดุล ปรับการไหลเวียนของชี่ภายในร่างกาย รักษาความผิดปกติของระบบเลือด ยาสมาน ยาให้ความอบอุ่นภายในร่างกาย ยารักษาอาการภายนอก ยาระบายความร้อน ยาสลายความชื้น และยาถ่าย เป็นต้น

ยามีทั้งที่กำจัดพิษออก บำรุงร่างกาย แพทย์จะเลือกใช้ให้เหมาะสมขึ้นอยู่กับจังหวะรุกและรับ บางครั้งบำรุงร่างกายให้แข็งแรงเพื่อให้โรคหายเอง  บางครั้งขับไล่โรคอย่างเดียว บางครั้งมีทั้งบำรุงร่างกายและขับออกไปในเวลาเดียวกัน หรือให้ยาดักไว้ก่อนเกิดอาการ เช่น ถ้าโรคส่งผลต่อปอด ก็อาจให้กินยาเสริมป้องกันไม่ให้ปอดเสียหาย

การครอบแก้ว
การครอบแก้ว ช่วยบำบัดอาการปวดตามร่างกายได้

 

การครอบแก้ว

คือ การรักษาโดยใช้อุปกรณ์คือกระบอกหรือถ้วย นำไปผ่านความร้อน เพื่อไล่อากาศในกระบอกออก จนเกิดภาวะสูญญากาศ นำแก้วไปครอบลงบนตำแหน่งที่ต้องการจึงเกิดแรงดึงดูด การครอบแก้วมีเทคนิคแตกต่างกันเพื่อจุดประสงค์ต่างกัน บางเทคนิคอาจดูน่ากลัว เช่น ใช้เข็มสะกิดให้เลือดคั่งอยู่ระบายออกมา เมื่อครอบแล้วผิวหนังบริเวณนั้นจะถูกดูดขึ้นมาจนแดงคล้ำเพราะเลือดคั่ง วัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของโลหิต ขจัดความชื้นในร่างกาย แก้ไขการคั่งของเลือด รอยครอบแก้วบอกถึงปัญหาของร่างกาย รอยม่วงดำคล้ำแสดงว่า มีอาการเลือดคั่งและได้พิษเย็น สีม่วงอ่อนแกมเขียวเป็นปื้นแสดงว่า ชี่อ่อนแอเลือดคั่ง รอยสีแดงสดแสดงว่าหยินพร่องไฟแกร่ง เป็นต้น

หลังจากการรักษาจะเกิดรอยคล้ายฟกช้ำ ระยะเวลาที่รอยจะหายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค สภาพร่างกาย ถ้าการไหลเวียนของลมปราณไม่ค่อยดี จะใช้เวลามากกว่าปกติ 7-10 วัน โดยทั่วไปอาจไม่ต้องทายา แต่ถ้าเป็นมากอาจมีไข้ให้ใช้ผ้าอุ่นประคบและกินยาลดไข้

การครอบแก้วนิยมใช้รักษาอาการปวดคอ หลัง ไหล่ เอว และเข่า เคล็ดขัดยอก รักษาอาการไอ หลอดลมอักเสบ หืด ลมพิษ อาการชา ป่วยจากความเย็น หรือป่วยจากภายใน ปวดกระเพาะอาหาร ปวดและชาที่ผิวหนัง สมรรถภาพถดถอย และ โรคไฟลามทุ่ง ฯลฯ

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 6 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.