วางแผนการเงิน ด้านสุขภาพ ป้องกันโรค ป้องกันล้มละลาย
วางแผนการเงิน เป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิต โดยเฉพาะวางแผนการเงินด้านสุขภาพ จากสถิติผู้ป่วยมะเร็งของประเทศไทยและทั่วโลกนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า วันนี้สถานการณ์ของโรคมะเร็งนั้นรุนแรงแค่ไหน รวมถึงส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและฐานะทางเศรษฐกิจมากเพียงใด
เราจะมาอัพเดตสถานการณ์โรคมะเร็งทั้งในประเทศ อาเซียน และทั่วโลกกันครับ เพื่อจะได้ วางแผนการเงิน ด้านสุขภาพ
14 ล้านคนทั่วโลก…เหยื่อมะเร็งร้าย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเอื้อมแข สุขประเสริฐแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อธิบายว่า “ขณะนี้ทั่วโลกมีประชากรอยู่ประมาณ 7 พันล้านคน พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เกิดขึ้นปีละ 14 ล้านคน และเสียชีวิตปีละ 8 - 9 ล้านคน โดยมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้ชายและผู้หญิงนั้นแตกต่างกัน
“ผู้ชายเป็นมะเร็งปอดมากที่สุด สาเหตุหลักมาจากการสูบบุหรี่ มีอุบัติการณ์เกิดโรคปีละ 1.2 ล้าน เสียชีวิตปีละ 1.09 ล้านคน ซึ่งจะเห็นว่าอุบัติการณ์เกิดโรคและเสียชีวิตนั้นใกล้เคียงกัน เนื่องจากไม่สามารถวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มเป็นได้ และการรักษามะเร็งปอดนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ส่วนอันดับสองและสามของชนิดมะเร็งในผู้ชายคือ มะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งลำไส้ ตามลำดับ”
ส่วนมะเร็งในผู้หญิงนั้น คุณหมอเอื้อมแขอธิบายสรุปว่าอันดับหนึ่งของมะเร็งในผู้หญิงคือมะเร็งเต้านม สองคือมะเร็งลำไส้ และสามคือมะเร็งปากมดลูก
“อุบัติการณ์เกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วโลกอยู่ที่ปีละประมาณ 1.67 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 5 แสนคน ซึ่งจะเห็นว่าอุบัติการณ์เกิดโรคและเสียชีวิตของมะเร็งเต้านมนั้นต่างกันมาก เนื่องจากมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งชนิดที่สามารถตรวจพบได้เร็วและมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสามารถยืดอายุของผู้ป่วยออกไปได้”
อ่านเพิ่มเติม :การแพทย์แม่นยำรักษามะเร็ง

ประชากรอาเซียน ล้มละลายเพราะมะเร็ง
ส่วนสถานการณ์มะเร็งในอาเซียนนั้น เราเก็บข้อมูลจากการศึกษาของ ASEAN Costs in Oncology (ACTION) การศึกษาชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคมะเร็งจำนวน 9,513 รายทั่วประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว
มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม โดยสถาบันวิจัยจอร์จเพื่อสุขภาพระดับโลก และเผยแพร่ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558
พบว่า ผู้ป่วยจำนวนกว่า 3 ใน 4 (75 เปอร์เซ็นต์) จะเสียชีวิตหรือเผชิญกับปัญหาทางการเงินภายในหนึ่งปีหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็ง และมักส่งผลกระทบกับผู้ที่มีรายได้น้อยมากที่สุด จนเกิดการล้มละลายทางการเงิน เพราะไม่มีการ วางแผนการเงิน
เมื่อเปรียบเทียบคนไข้จากประเทศในทวีปตะวันตกและทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว พบว่า คนไข้ชาวตะวันตกมักจะสามารถใช้ชีวิตต่อได้อีก 10 ปี ในขณะที่คนไข้จากทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้โดยเฉลี่ยเพียงหนึ่งปี
โดยปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางการเงิน การวางแผนการเงิน และการเสียชีวิตคือ ระยะของโรคมะเร็งที่พบ ประเภทของมะเร็งและฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่มีประกันสุขภาพจะประสบปัญหาทางการเงินและเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่มีประกันสุขภาพ
ส่วนผลการศึกษาของ ACTION ที่ทำการสำรวจผู้ป่วยมะเร็งในเมืองไทยกว่า 1,200 คน พบว่า ผู้ป่วยจำนวนกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ได้รับการวินิจฉัยเมื่อเป็นโรคมะเร็งในระยะท้าย ๆ (ระยะที่ 3 และ 4) และจำนวนมากกว่า 1 ใน 4 (26 เปอร์เซ็นต์) เสียชีวิตภายในปีแรกหลังจากได้รับการวินิจฉัย
ทั้งนี้ยังพบว่า การตรวจพบมะเร็งในระยะสุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวอีกด้วย เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตขึ้นอีกถึง 5 เท่า และเพิ่มโอกาสที่จะประสบกับภาระทางการเงินเพิ่มขึ้นอีกถึง 2 เท่า หากไม่มีการ วางแผนการเงิน
อ่านเพิ่มเติม :พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ โรคมะเร็ง รักษาได้ ไม่ใช่แค่ฝันอีกต่อไป
อ่านต่อ>> เทคนิควางแผนการเงิน ป้องกันล้มละลาย
อ่านเพิ่มเติม
รวมวิธีปฏิบัติ ป้องกันมะเร็งเป็นซ้ำ ทำตามนี้ รับรองมะเร็งไม่กลับมา
10 สารอาหารป้องกันมะเร็ง ช่วยร่างกายแข็งแรง
วิตามินธรรมชาติ ป้องกันมะเร็ง ทุกอวัยวะ