น้ำตาล ขนมหวาน

ทำไมกิน “น้ำตาล” มากๆ ก็ทำให้เป็นโรคไตได้ คำอธิบายของ เบาหวานลงไต

น้ำตาล ทำไตพังได้ คำอธิบายของ เบาหวานลงไต

หลายคนมักคิดว่า โรคไต ต้องระวังความเค็ม แต่สิ่งที่ทุกคนคงคุ้นเคยไม่ต่างกัน คือคำว่า เบาหวานลงไต เพราะผู้ป่วยเบาหวานหลายรายมักมีภาวะไตเสื่อมเป็นภาวะแทรกซ้อนแถมมาด้วย วันนี้เราจึงมาพูดกันถึง น้ำตาล(ในเลือด) ว่าทำไมของหวานๆ ถึงทำให้ไตพังได้ด้วยเหมือนกัน (แถมดูจะร้ายแรงกว่าอีก)

จากข้อมูลของทางโรงพยาบาลเปาโล ได้ระบุเอาไว้อย่างเข้าใจง่าย ดังนี้

น้ำตาล กับ โรคไต สัมพันธ์กันอย่างไร

หากเรากินหวานมาก ๆ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือป่วยเป็นเบาหวาน จะส่งผลหลายอย่างต่อไตโดยตรง ดังนี้

การเป็นเบาหวานทำให้เซลล์ต่างๆ รวมทั้งเซลล์ของไตขาดพลังงานอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้เซลล์เสื่อมสภาพการทำงานต่างๆ ก็ทำได้ไม่ดีดังเดิม ทำให้กลไกของไตเสื่อมไปด้วย

การที่ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ไตทำงานหนักจนเกิดการเสื่อมสภาพ เพราะไตมีหน้าที่กรองสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้คงไว้ในร่างกายให้มากที่สุด และน้ำตาลก็เป็นสารอาหารที่ดี ดังนั้นไตจึงต้องทำงานหนักตลอดเวลาหากน้ำตาลในเลือดสูง ทั้งนี้ ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไตประมาณ 1 ล้านหน่วย แต่ละหน่วยประกอบด้วยตัวกรองและหลอดไต ในแต่ละวันมีเลือดไหลเวียนผ่านไตประมาณ180 ลิตร และหน่วยไตจะกรองและคัดหลั่งสารต่างๆ และขับออกมาเป็นปัสสาวะวันละประมาณ 1 ลิตรเราจะมีชีวิตอยู่ได้ด้วยไตเพียงข้างเดียว

ของหวาน เบาหวานลงไต โรคเบาหวาน โรคไต น้ำตาลในเลือด น้ำตาล

ส่งผลให้เกิดความผิดปกติโดยตรง

กระเพาะปัสสาวะ : สำหรับผู้ป่วยเบาหวานจะมีความผิดปกติในระบบขับถ่ายปัสสาวะ ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อย เมื่อถ่ายปัสสาวะต้องเบ่งแรง ปัสสาวะออกมาทีละน้อยและบ่อย เมื่อตรวจปัสสาวะจะพบว่ามีแบคทีเรียและเม็ดเลือดขาวปะปนอยู่

ไตวายเรื้อรัง : เมื่อเป็นเบาหวานมานาน เนื้อไตและหลอดเลือดเสื่อมสภาพ ไตทำงานน้อยลงจนไม่สามารถรักษาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ เมื่อการทำงานของไตเสียไป จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้ อาเจียน

เมื่อไตเริ่มเสื่อมจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะสังเกตอย่างไร

คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร เนื่องจากสารพิษสะสมในร่างกายไม่สามารถขับถ่ายออกจากร่างกายได้

อ่อนเพลีย เป็นผลจากภาวะซีด เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง รวมทั้งสารพิษที่สะสมในร่างกาย จะกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้เพียงพอ นอกจากนี้ เมื่อไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ก็จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียมากยิ่งขึ้นอีก

บวม เป็นผลจากมีการสูญเสียไข่ขาว หรืออัลบูมินในปัสสาวะ ทำให้อัลบูมินในเลือดลดต่ำลง นอกจากนี้ภาวะไตเสื่อมในระยะสุดท้าย ทำให้ไม่สามารถขับน้ำและเกลือออกจากร่างกายได้ เกิดภาวะน้ำและเกลือคั่งในร่างกาย

ซึม เป็นผลจากสารพิษที่สะสมในร่างกาย จะกดการทำงานของระบบประสาท โดยเฉพาะสมอง

ของหวาน เบาหวานลงไต โรคเบาหวาน โรคไต น้ำตาลในเลือด น้ำตาล

จะป้องกันอย่างไร

อ้างอิงข้อมูลจาก : สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ชมรมเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น , โรงพยาบาลเปาโล , โรงพยาบาลวิชัยยุทธ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กิน อาหารตามสั่ง อย่างไร ไม่เสี่ยงโรคไต โรคความดัน โรคเบาหวาน

เช็คอาการ คัดกรอง ป้องกัน และรู้ทัน โรคไตเรื้อรัง

โรคไตอาการ ที่ควรรู้ รู้เร็ว รู้ก่อน ป้องกันได้

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.