POWER NAP เทคนิคงีบให้สุขภาพเลิศ
ใครจะไปรู้ว่าการ งีบหลับช่วงกลางวัน เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเพิ่มพลังให้แก่ร่างกายเมื่อรู้สึกเหนื่อยล้าได้ ไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกสดชื่น แต่ยังแฝงไปด้วยประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจนึกไม่ถึงเลยค่ะ
เคยมีโอกาสได้ไปอ่านเจอการศึกษาหนึ่งของ NASA ที่ได้ใช้นักบินอวกาศในการทดลอง พบว่าการงีบหลับเพียง 40 นาทีต่อวันจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากถึง 34% การศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการงีบหลับและความดันโลหิต ได้ถูกศึกษาจากเหล่าแพทย์ที่ดูแลเรื่องเกี่ยวกับหัวใจ จากการศึกษาทำให้เราทราบว่า มนุษย์วัยกลางคนที่ได้งีบหลับระหว่างวันจะมีความดันโลหิตต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้งีบหลับ ความแตกต่างของความดันโลหิตนี้มีส่งผลต่อโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจ
การวิจัยในกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ยืนยันเกี่ยวกับการค้นพบที่ว่า ผู้สูงอายุที่งีบหลับเป็นประจำจะมีความดันต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้งีบหลับถึง 5% เลยทีเดียว
การ นอน ตอนกลางวัน ช่วยให้สมองไบรท์ หายเพลียได้ค่ะ แต่ต้องมีวิธีงีบที่ถูกต้อง
1. ใช้เวลาแค่ 30 นาที หากนอนนานกว่านี้จะส่งผลให้เข้าสู่ระยะหลับลึก เมื่อตื่นขึ้นมาสมองจะเฉื่อยลง ไม่รู้สึกเต็มอิ่มและสดชื่นเท่ากับการนอนระยะสั้นๆ
2. ควรนอนในช่วง 13.00 น. - 15.00 น. เป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด
3. ไม่ควรนอนหลังจากเวลา 17.00 น. เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน
4. นอนด้วยความสบายใจ หากคิดจะนอนแล้ว ไม่ต้องรู้สึกผิดหรือละอายใจควรปิดไฟ นอนราบ จัดการงีบให้เต็มที่ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงนี้ในการพักผ่อนร่างกาย จะเป็นการพักสมองที่มีคุณภาพมากที่สุด 30 นาทีทองนี้อาจช่วยให้การทำงานอีกครึ่งวันสนุกและมีประสิทธิภาพอย่างที่คุณคาดไม่ถึงค่ะ
หากถามว่า ใครได้ประโยชน์มากที่สุดจากการงีบหลับ? เกือบทุกคน สามารถได้รับประโยชน์จากการงีบหลับ แต่จะมีคนสามกลุ่มนี้ที่จะได้ประโยชน์มากที่สุดจากการงีบหลับ กลุ่มคนที่ทำงานเป็นกะและคนที่ทำอาชีพขับรถ เป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการงีบหลับ ทั้งสองกลุ่มที่กล่าวมานี้โดยเฉลี่ยแล้วจะหลับพักผ่อนอย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งพฤติกรรมการนอนน้อยเช่นนี้จะทำให้เกิดอาการนอนไม่พอนั้นเอง จะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง มีปัญหาด้านสุขภาพ มีโอกาสหลับในขณะขับขี่ยานยนต์ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขณะขับรถได้ จากทั้งหมดทั้งมวลที่ว่ามาจึงทำให้คุณภาพในการใช้ชีวิตแย่ลงอีกด้วย
คนไข้โรคลมหลับก็ได้รับประโยชน์จากการงีบหลับเช่นกัน โรคลมหลับเป็นโรคที่มีลักษณะอาการทำให้ร่างกายง่วงนอนตลอดเวลา “ร่างกายได้รับการโจมตีจากภาวะง่วง” ไม่ว่ากำลังทำกิริยาใดใดอยู่ก็ตามเช่น พูดคุย รับประทานอาหารหรือขับรถก็จะเกิดอาการง่วงขึ้นมากะทันหัน การงีบหลับจะช่วยลดอาการของภาวะร่างกายได้รับการโจมตีจากความรู้ง่วงนอนได้บ้าง
สรุปง่ายๆ การงีบหลับในยามบ่ายเป็นระยะเวลาสั้นๆ จะช่วยฟื้นคืนพลังกายและความตื่นตัว แต่ต้องระมัดระวังในเรื่องของระยะเวลาในการงีบหลับและสถานที่ การงีบหลับจะมีประโยชน์สำหรับหลายคนรวมถึงผู้ที่ทำงานเป็นกะ ผู้ทำงานเกี่ยวกับการขับรถและผู้ป่วยเป็นโรคง่วงหลับจะได้รับประโยชน์จากการงีบหลับเป็นอย่างมาก ส่วนผู้ที่ไม่ควรงีบหลับคือ ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับและผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ข้อมูลประกอบจากคอลัมน์เกร็ดสุขภาพ (มือโปร) นิตยสารชีวจิตฉบับ 428
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการนอนหลับของตายาย
แก้ปัญหาโรค “นอนไม่หลับ” ที่คุณต้องรู้ by หมอสันต์
เคล็ดลับแก้ปัญหาฮอร์โมนตก นอนไม่หลับ โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ