ออฟฟิศซินโดรม, ป้องกันออฟฟิศซินโดรม, แก้ออฟฟิศซินโดรม, ท่าบริหารร่างกาย

Best Exercises หยุด ออฟฟิศซินโดรม

ตัวอย่างอาการออฟฟิศซินโดรมที่ต้องพึงระวัง ดังนี้

ปวดหลัง 

เป็นอาการที่พบได้บ่อย เกิดจากการนั่งทำงานหรือยืนนานๆ การสวมรองเท้าส้นสูงตลอดทั้งวัน โดยจะมีอาการปวดบริเวณบั้นเอวหรือหลังส่วนล่างอาการจะเป็นมากขึ้นตอนบ่ายหรือเย็นหลังเลิกงาน

หากระหว่างวันต้องยกของหนักด้วยจะทำให้อาการแย่ลง ร่วมกับมีอาการเคล็ด ขัด ยอกปวดตึงกล้ามเนื้อ บางรายอาการรุนแรงจนไม่สามารถเอี้ยวหรือบิดตัวได้

ปวดหลัง, ออฟฟิศซินโดรม, แก้ออฟฟิศซินโดรม, โรคออฟฟิศซินโดรม
นั่งหรือยืนทำงานนานๆ ก่อให้เกิดอาการปวดหลังได้

ปวดตึงคอ บ่า และไหล่ 

เกิดจากการอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งมาจากการจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานไม่เหมาะสม เช่น จอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับต่ำกว่าสายตาเก้าอี้ไม่มีที่วางแขน เป็นต้น ทำให้ต้องเกร็งแขนตลอดเวลา จึงมีอาการปวดตึงบริเวณคอ บ่า และไหล่ จะมีอาการปวดมากในช่วงบ่ายหรือเย็นแต่เมื่อพัก อาการจะหายไป ยกเว้นมีอาการเรื้อรัง เนื่องจากทำพฤติกรรมเดิมซ้ำๆ ซึ่งอาจมีการปวดร้าวลงแขน บางรายอาการรุนแรงจนหันคอ ก้ม หรือเงยไม่ได้

ปวดตึงคอ บ่า และไหล่, ออฟฟิศซินโดรม, แก้ออฟฟิศซินโดรม, โรคออฟฟิศซินโดรม
อาการปวดตึงคอ บ่า และไหล่ เกิดจากนั่งทำงานในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้อง

 

ยกแขนไม่ขึ้น 

เป็นผลมาจากการปวดตึงกล้ามเนื้อคอ บ่าไหล่ และร้าวลงไปที่แขน เนื่องจากมีพังผืดเกาะบริเวณสะบักและหัวไหล่ หากปล่อยไว้จะทำให้มีอาการไหล่ติดและอาการชาที่มือและนิ้ว

ปวดข้อมือ, ออฟฟิศซินโดรม, แก้ออฟฟิศซินโดรม, โรคออฟฟิศซินโดรม
ลักษณะการทำงานที่ต้องกระดกข้อมือขึ้น-ลงซ้ำๆ มักทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ

 

 

 

<< อาการออฟฟิศซินโดรมยังมีอีก เปิดไปที่หน้า 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.