ผู้เชี่ยวชาญอธิบายเรื่องความดันโลหิตในผู้สูงวัย
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พีระ บูรณะกิจเจริญ หัวหน้าสาขาวิชาความดันโลหิตสูง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า
“เราสามารถพบภาวะความดันโลหิตสูงได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากว่าหลอดเลือดแดงมักเกิดการเสื่อมสภาพตามอายุ รวมกับมีไขมันและหินปูน (แคลเซียม) เข้าไปสะสมอยู่ตามผนังของหลอดเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นและแข็งตัว
“ยิ่งมีไขมันและหินปูนสะสมมาก ก็ยิ่งทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อดันเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือด จึงส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงตามมา”
ข้อมูลทางสถิติที่น่าสนใจ
นอกจากนี้ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยประชาชนไทยของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ผู้ที่มีอายุ 13-60 ปี มีอุบัติการณ์ของความดันโลหิตสูงร้อยละ 13 ส่วนผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปพบว่าเป็นความดันโลหิตสูงมากถึง ร้อยละ 33
ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า อัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุเท่ากับหรือมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

คำแนะนำจากแพทย์ สำหรับผู้สูงวัยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
คุณวิภาวีควบคุมเรื่องอาหารการกินด้วยการงดกินของหวาน ของมัน และของทอด นอกจากนี้เธอยังปรับเปลี่ยนมากินอาหารชีวจิต เน้น กินปลา ผัก และผลไม้ รวมทั้งออกกำลังกายเป็นประจำ ภายหลังเธอกลับไปตรวจสุขภาพอีกครั้งก็พบว่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติแล้ว
นอกจากปัจจัยเสี่ยงเรื่องอายุแล้ว คุณวิภาวียังชอบกินอาหารมันและขนมหวานเป็นประจำ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติเล็กน้อย ซึ่งเสี่ยงกับเบาหวานที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงโรคของความดันโลหิตสูง ความเครียดและโรคนอนไม่หลับ
ติดตามข้อมูลสุขภาพน่าสนใจได้ที่ เฟซบุคแฟนเพจ : นิตยสารชีวจิต
ติดตาม instagram : cheewajitmedia
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
สู้โรคความดันโลหิตสูง ด้วยวิธีตามหลักแพทย์แผนจีน
สูตรต้านความดันโลหิตสูง แนะนำโดยแพทย์แผนจีน
สูตรต้านความดันโลหิตสูง แนะนำโดยแพทย์ไทยประยุกต์
ข้อดีของการดื่มไวน์แดง ดื่มเป็น ช่วยลดความดันโลหิตสูง