งานบุญออกพรรษา

ชวนม่วนซื่น งานบุญออกพรรษา @แดนอีสาน

เนื่องในเทศกาลออกพรรษา ชวนทุกท่านมาม่วนซื่น งานบุญออกพรรษา ที่ภาคอีสานกันค่ะ เริ่มจากอลังการ “งานแห่ปราสาทผึ้ง” เมืองสกลนคร

1
ช่วงปลายเทศกาลเข้าพรรษา ชาวสกลนครต่างขะมักเขม้นกับการสร้างสรรค์ “ปราสาทผึ้งประยุกต์” ประติมากรรมชิ้นเยี่ยมที่ใช้เวลาทํานานร่วมเดือนและบางชิ้นก็ใช้งบประมาณสูงถึง 300,000 บาท! เพื่อถวายเป็น “พุทธบูชา” ในวาระที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นัยว่าการสร้างปราสาทผึ้งก็เพื่อถวายเป็นที่ประทับบนโลกมนุษย์นั่นเอง
2
งานบุญออกพรรษา
แห่ปราสาทผึ้ง

3

เดิมทีชาวอีสานนิยมใช้ไม้ไผ่ผูกกันเป็นโครงรูปปราสาทตามต้องการ ก่อนจะใช้กาบกล้วยที่ฉลุลวดลายอย่างสวยงามบุเป็นตัวปราสาท จากนั้นช่างจะนํา “ดอก (ขี้) ผึ้ง” ที่เตรียมไว้ (วิธีทําคือ นํา“ขี้ผึ้ง”มาเคี่ยวให้ละลายแล้วเทลงแม่พิมพ์รูปดอกไม้) มาประดับรอบปราสาทเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทําปราสาทผึ้งโบราณ
4
งานบุญออกพรรษา
5
ถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มสงสัยว่า“ขี้ผึ้งเกี่ยวอะไรกับที่ประทับของพระพุทธเจ้า” ในเรื่องนี้ผู้เฒ่าผู้แก่เล่ากันว่า ตามพุทธประวัติเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจําพรรษาในป่ารักขิตวัน มีพญาช้างชื่อปาริเลยยกะและลิงป่าตนหนึ่งอาสามาเฝ้าปรนนิบัติคอยหาน้ํา ผลไม้ และน้ําผึ้ง มาถวายพระพุทธเจ้าตลอดทั้งสามเดือน ต่อมาเมื่อลิงป่าและพญาช้างได้ตายลง พระพุทธเจ้าจึงทรงนํา “รวงผึ้ง” มาประดับในที่ประทับของพระองค์เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงความดีงามของสัตว์ทั้งสองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
6
งานบุญออกพรรษา
7
ดังนั้น เมื่อช่างคิดจะทําปราสาทจําลองขึ้นเพื่อรับเสด็จพระพุทธเจ้า จึงน่าจะมีสัญลักษณ์ที่สื่อความถึงเรื่องราวในพุทธประวัติด้วย…และนี่คือที่มาของการสร้างปราสาทผึ้งของชาวอีสาน
8
งานบุญออกพรรษา
9
การทําปราสาทผึ้งมีการพัฒนาสืบต่อมาตามลําดับ ล่าสุดช่างได้หันมาใช้ขี้ผึ้งเป็น “วัสดุหลัก” ในการทําปราสาทแทนกาบกล้วยฉลุลายแบบโบราณ วิธีการคือ ช่างจะหล่อขี้ผึ้งเป็นชิ้นส่วนและลวดลายประดับปราสาททั้งหลัง ก่อนจะนําชิ้นส่วนทั้งหมดมาเชื่อมประกอบเข้าด้วยกัน ด้วยวิธีการนี้จึงทําให้ปราสาทผึ้งรุ่นใหม่มีความโดดเด่นด้วยสีเหลืองและสีส้มของขี้ผึ้ง สมชื่อปราสาทผึ้งจริง ๆ
10
งานบุญออกพรรษา
11
ปัจจุบันชาวสกลนครยังคงสืบสานการทําปราสาทผึ้งแบบโบราณเอาไว้ และยังคงสร้างสรรค์การทําปราสาทผึ้งประยุกต์ให้มีความสวยงามและยิ่งใหญ่ขึ้นทุกปี จนจังหวัดสกลนครได้ชื่อว่า “มีฝีมือในการทําปราสาทผึ้งได้สวยงามและจัดขบวนแห่ปราสาทผึ้งได้อลังการที่สุดในประเทศไทย”
12
งานบุญออกพรรษาต่อมาคือตระการตา “งานไหลเรือไฟที่ริมฝั่งโขง” เมืองนครพนม
13
จังหวัดนครพนม นอกจากมีการถวายปราสาทผึ้งเป็นพุทธบูชาเช่นเดียวกับจังหวัดสกลนครแล้ว ตกกลางคืนยังมีประเพณีเก่าแก่คือ “การไหลเรือไฟ” ประเพณีหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างความสว่างไสวไปทั้งริมฝั่งแม่น้ําโขงอีกด้วย
14
งานบุญออกพรรษา
งานไหลเรือไฟ
15
การสร้างเรือไฟหรือเฮือไฟนั้น เดิมทีชาวบ้านจะนําไม้ไผ่หรือต้นกล้วยมาต่อกันเป็นแพให้ลอยน้ําได้ จากนั้นจึงตั้งเสาไม้ไผ่ขึ้นตรงส่วนหัวและท้ายลําเรือ เพื่อขึ้นโครงไม้ไผ่สี่เหลี่ยมผืนผ้าพาดยาวตลอดแนว ก่อนจะประดับโครงไม้ไผ่ทั้งหมดด้วยตะเกียงเล็ก ๆ หลายร้อยดวง ไม่เพียงเท่านั้นชาวบ้านยังนิยมวางดอกไม้ ธูปเทียน อาหาร ขนม ผลไม้ หมากพลู รวมทั้งข้าวของเครื่องใช้ไว้ในลําเรือด้วย จากนั้นก็รอเวลาจนพลบค่ําแล้วจึงจุดตะเกียงในลําเรือทั้งหมด ก่อนจะปล่อยเรือไฟให้ลอยไปตามลําน้ํา
16
ชาวอีสานเชื่อกันว่า การไหลเรือไฟเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้ประทับไว้ให้พญานาคราช ณ ริมฝั่งแม่น้ํานัมมทานที (ตามพุทธประวัติ) บ้างก็เชื่อว่าเป็นการขอขมาและรําลึกถึงคุณของพระแม่คงคา และบ้างก็ว่าเปลวไฟที่ลุกโชติช่วงจะช่วยเผาผลาญความทุกข์และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป
17
เช่นเดียวกับการสร้างปราสาทผึ้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามกาลเวลา ปัจจุบันเรือไฟของชาวอีสานก็มีการพัฒนารูปแบบต่างไปจากเดิม โดยเฉพาะต้นตํารับอย่างจังหวัดนครพนมที่มุ่งเน้นไปที่ “ขนาด” ของลําเรือไฟ เรือไฟของที่นี่บางลํามีความยาว 20–30 เมตรเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังให้ความสําคัญกับ “การแสดงภาพบนลําเรือ” โดยเรือไฟทุกลําจะมีการเรียงร้อยตะเกียงหลายร้อยดวงให้เป็น “ภาพ” ต่าง ๆ เช่น ภาพพระพุทธเจ้า ภาพพระเจดีย์ ภาพพญานาค ภาพเรือสุพรรณหงส์ เรียกได้ว่าเรือไฟแต่ละลํานั้นสามารถเรียกเสียงฮือฮาจากผู้ชมที่แน่นขนัดตลอดแนวฝั่งโขงได้ไม่น้อย
18
หลังค่ําคืนแห่งความสุกสว่างริมแม่น้ําโขงผ่านพ้นไป ( 15 ค่ํา เดือน 11) เช้าวันรุ่งขึ้น ชาวนครพนมจะพร้อมใจกันร่วมตักบาตรเทโวโรหณะ ณ ริมฝั่งแม่น้ําโขง เพื่อทําบุญรับเทศกาลออกพรรษาอย่างเป็นทางการ
20
งานบุญออกพรรษา
23
ออกพรรษาปีหน้าลองแวะเวียนมาม่วนซื่นงานบุญใหญ่ที่จังหวัดสกลนครและนครพนมดูสักครั้ง แล้วคุณจะรู้ว่าถึงต้องเดินทางมาไกลแค่ไหน แต่เมื่อได้เห็นภาพแห่งความศรัทธาแล้ว พูดได้คําเดียวว่า “คุ้มค่า”จริง ๆ
24
ที่มา : นิตยสาร Secret  ฉบับที่ 107
เรื่อง : วรลักษณ์ ผ่องสุขสวัสดิ์
ภาพ : สรยุทธ พุ่มภักดี
20

บทความน่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.