ชอบเอาใจผู้อื่นเกินไป

15 สิ่งที่บ่งบอกว่า คุณเป็นคนที่ชอบแคร์ความรู้สึกคนอื่นมากเกินไป

15 สิ่งที่บ่งบอกว่า คุณเป็นคนที่ ชอบแคร์ความรู้สึกคนอื่นมากเกินไป

คุณเอมี โมริน ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “13 สิ่งที่คนเข้มแข็ง เขาไม่ทำกัน” ได้เสนอความเห็นว่า การเอาใจผู้อื่นคือการพยายามควบคุมความรู้สึกของผู้อื่น แล้วคุณมีแนวโน้มจะเป็นอย่างนี้หรือ แคร์ความรู้สึกคนอื่นมากเกินไป หรือเปล่า คุณเอมี ได้บอกแนวโน้มเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1. คุณรู้สึกว่าตนเองต้องรับผิดชอบต่อความรู้สึกของผู้อื่น

2. ความคิดที่ว่ามีใครสักคนโกรธคุณทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ

3. คุณค่อนข้างเป็น “คนที่ไม่กล้าเผชิญหน้ากับใคร”

4. คุณรู้สึกว่าการเห็นด้วยกับผู้อื่นง่ายกว่าการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง

5. คุณมักขอโทษทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิด

 

ชอบเอาใจผู้อื่นเกินไป

 

6. คุณพยายามอย่างมากที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง

7. ปกติแล้วคุณจะไม่ค่อยบอกคนอื่นว่าเขาล่วงละเมิด หรือทำร้ายความรู้สึกของคุณ

8. คุณมักจะตอบรับเมื่อมีคนมาขอความช่วยเหลือ ถึงแม้ว่าจะไม่อยากทำมันจริง ๆ

9. คุณเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองไปตามสิ่งที่ผู้อื่นต้องการ

10. คุณทุ่มเทพลังมากมายเพื่อพยายามทำให้ผู้อื่นประทับใจ

 

ชอบเอาใจผู้อื่นเกินไป

 

11. หากคุณจัดงานเลี้ยง แต่คนในงานดูไม่สนุกสนานเท่าไหร่ คุณจะคิดว่าตัวเองเป็นต้นเหตุ

12. คุณแสดงหาคำชมและการได้รับการยอมรับจากผู้คนในชีวิตของคุณอยู่บ่อย ๆ

13. เมื่อมีใครสักคนที่อยู่ใกล้คุณกำลังอารมณ์เสีย คุณจะพยายามทำให้เขาหรือเธอรู้สึกดีขึ้น

14. คุณไม่อยากให้ใครคิดว่าตัวเองเห็นแก่ตัวอย่างแน่นอน

15. คุณรู้สึกอยู่บ่อย ๆ ว่าตารางแน่นไปและมีภาระมากไปจากทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณต้องทำ

 

ชอบเอาใจผู้อื่นเกินไป

 

มีข้อไหนที่รู้สึกคุ้นบ้างหรือไม่ ความพยายามจะเป็น “คนดี” บางครั้งอาจส่งผลตรงกันข้าม เมื่อพฤติกรรมของคุณกลายเป็นการเอาใจผู้อื่น มันอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อด้านอื่น ๆ ของชีวิต และทำให้คุณไปไม่ถึงเป้าหมาย คุณยังสามารถเป็นคนใจดี และมีน้ำใจได้โดยไม่ต้องพยายามทำให้ทุกคนพอใจ ขอบคุณทรรศนะดี ๆ จากคุณเอมี โมรินค่ะ

 

ที่มา 13 สิ่งที่คนเข้มแข็ง เขาไม่ทำกัน โดย เอมี โมริน

ภาพ https://pixabay.com


บทความน่าสนใจ

มาเป็น คนดี ที่กล้าจะปฏิเสธกันเถอะ บทความ สร้าง ความมั่นใจ และ ความกล้า ให้ ตัวคุณ

พระเตมีย์ มหาบุรุษ ผู้ปฏิเสธ การ กลับไป ใช้กรรมในนรก…เรื่องเล่า ทศชาติชาดก พระชาติแรก

6 วิธีการ ปฏิเสธ ที่จะไม่ทำให้ ผู้ถูกปฏิเสธ เสียความรู้สึก

ทำไม พุทธทาสภิกขุ ถึงปฏิเสธ นรก-สวรรค์ และ การเวียนว่ายตายเกิด

รักษาไข้ ด้วยใจ “ กรุณา ” บทความ ให้กำลังใจ จาก นายแพทย์ชวโรจน์ เกียรติกำพล

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.