มาเป็นคนดีที่กล้าจะปฏิเสธกันเถอะ บทความ สร้างความมั่นใจ และความกล้าให้ตัวคุณ
“บอกลาตัวตนที่ไม่ดี” งานเขียนธรรมะจากแดนอาทิตย์อุทัย เขียนโดยริวโนะสุเกะ โคะอิเกะ จะตีแผ่ตัวตนที่ไม่ดีของเราเป็นอย่างไร เพื่อ สร้างความมั่นใจ และกล้าที่อยากจะเป็นคนดี คนเริดที่สุด การบอกลาตัวตนที่ไม่ดีย่อมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนเรื่องนี้ การบอกลาตัวตนที่ไม่ดีสู่การเป็นคนที่เริดที่สุด
เราอาจเคยได้ยินบ่อยครั้งว่า “คนนิสัยดีมักจะเสียเปรียบ” หรือ “คนดีมักจะถูกใช้ให้ทำสิ่งต่าง ๆ ง่าย” ทุกท่านเลยอาจจะนึกไปถึง “คนใจดี” ประเภทที่ว่า ใครขอร้องให้ทำอะไรก็ทำ ใครโยงงานอะไรมาให้ก็รับ ไม่เคยปฏิเสธ
คนใจดีแบบนี้ ไม่ใช่คนนิสัยดี แต่เป็นคนใจอ่อนเลยปฏิเสธใครไม่เป็น ซึ่งความใจอ่อนที่ว่านั้นจะทำให้เกิดความรู้สึก กลัว…ว่าคนรอบข้างจะไม่ยอมรับ หรือไม่อยากให้ใครเกลียดนั่นเอง ความกลัวที่ว่านี้ เมื่อลองนำมาวิเคราะห์ทางจิตวิทยาตามแนวพุทธศาสนา แล้วถือว่าเป็น ความโกรธ อย่างหนึ่ง
หากเราไม่ทำตามคำขอของผู้อื่น ก็ใช่ว่าเขาจะโกรธเราเสมอไป แต่เรากลับทึกทักและกลัวไปก่อนว่า “เดี๋ยวเขาจะโกรธเอา” การคิดฟุ้งซ่านเช่นนี้่ ทำให้จิตใจขุ่นมัว
ซึ่งในทางศาสนาพุทธถือว่าเป็นนิสัยที่ไม่ดีประเภทหนึ่ง เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ปฏิเสธคนไม่เป็นคือ จิตใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว แล้วรับคำโดยไม่ทันได้ไตร่ตรอง
การที่ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้อย่างชัดเจนนี้ ทางพุทธเรียกว่าความเขลา และความเขลานี้เองที่ทำให้จิตใจเสียการควบคุม จึงไม่ถือว่าเป็นนิสัยที่ดี
ปกติคนที่ปฏิเสธผู้อื่นได้อย่างเด็ดขาด มักจะถูกมองว่านิสัยไม่ดี ส่วนคนที่ไม่ปฏิเสธผู้อื่น คือคนนิสัยดี ซึ่งเป็นอคติที่ไม่ถูกต้อง คนนิสัยดีจะมีจิตใจสุขุม รอบคอบ และชัดเจน จึงไม่ถูกผู้อื่นใช้งานตามใจชอบ
หากเรารับงานที่ทุกคนให้ด้วยความเต็มใจก็ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ถ้ารับมาแล้วรู้สึกว่า จริง ๆ ก็ไม่อยากทำ ก็ควรรวบรวมความกล้าปฏิเสธเขาไป
เมื่อพูดถึง คนนิสัยดี โดยทั่วไปมักจะนึกถึง คนที่เอื้อเฟื้อแก้ผู้อื่น หรือคนที่ีม่ีน้ำใจต่อผู้อื่น เลยไม่ค่อยได้ตระหนักว่าการเป็นคนดีนั้นมีประโยชน์ต่อตนเองตรงไหน
พูดกันตรง ๆ ก็คือ สุดท้ายคนเราก็ไม่ค่อยทำอะไรเพื่อผู้อื่นมากนัก ความจริงแล้ว พุทธศาสนาไม่ได้สอนว่า การเป็นคนนิสัยดี หมายถึงการทำอะไรให้ผู้อื่น
ที่มา บอกลาตัวตนที่ไม่ดี เขียนโดย ริวโนะสุเกะ โคะอิเกะ
บทความน่าสนใจ
9 วิธีเปลี่ยนตัวเองเป็นคนใหม่ที่ใคร ๆ ก็หลงรัก
Dhamma Daily : การต้องคอย ปรนนิบัติ คนในบ้านจะฉุดไม่ให้เข้านิพพานจริงหรือ
วิธีเลิกผัดวันประกันพรุ่งแบบง่าย ๆ เพียงรู้เท่าทัน 7 ข้ออ้างอันตราย
อมารตยา กุมาร เซน ผู้บุกเบิกทฤษฎีพัฒนาคนให้มีความสุข
พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงนำสิ่งที่รักมาช่วยพัฒนาประเทศ