รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันวิสาขบูชาจากสังเวชนียสถาน

รำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันวิสาขบูชาจาก สังเวชนียสถาน

0
สังเวชนียสถาน คือ สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช และคําว่า “สังเวช” ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ความสลดใจ ให้ได้คิด ความรู้สึกเตือนสํานึก หรือทําให้ฉุกคิด ความรู้สึกกระตุ้นใจให้คิดได้ ให้คิดถึงธรรม ให้ตระหนักถึงความจริงของชีวิตและเร้าเตือนให้ไม่ประมาท
0
สังเวชนียสถาน 0

ลุมพินี

ระหว่างปี พ.ศ. 2438 – 2439 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม (Sir Alexander Cunningham) และคณะ เข้ามาสํารวจและค้นพบเสาอโศกของพระเจ้าอโศกมหาราช โดยจารึกบนเสาอโศกระบุว่า พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จมาที่นี่ในปี พ.ศ. 238 เมื่อทรงเห็นพระอรหันต์จํานวนมากกราบตรงจุด ดังกล่าว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเกรงว่า ในภายภาคหน้าคนรุ่นหลังจะสงสัยว่าตรงนี้คือที่ประสูติหรือไม่ จึงจารึกข้อความไว้บนแผ่นศิลาว่า ตรงนี้เป็นจุดแรกที่พระพุทธเจ้าทรงเหยียบโลกหลังประสูติจากพระครรภ์พระมารดาแล้ว และเพื่อป้องกันไม่ให้แผ่นศิลาเคลื่อนที่ จึงทรงสร้างสถูปครอบทับแผ่นศิลาเอาไว้ในปี พ.ศ. 243 และสร้างเสาอโศกซึ่งบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ รวมถึงแผ่นศิลาดังกล่าวไว้ด้วย
0
สังเวชนียสถาน
0
ปี พ.ศ. 2535 คณะนักสํารวจและผู้ที่เกี่ยวข้องจัดตั้งกองทุนเพื่อการขุดค้นหาแผ่นจารึก จึงพบว่าสถูปดังกล่าวถูกสร้างครอบเอาไว้ถึงสามชั้นในระยะเวลาต่างกัน โดยหลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างสถูปไว้ ต่อมาในปี พ.ศ. 674 ราชวงศ์ปูศานะ ทรงเห็นพระราชศรัทธาของพระเจ้าอโศกมหาราช จึงสานต่อด้วยการก่ออิฐครอบทับอีกชั้นหนึ่ง ต่อมาราชวงศ์ปาละซึ่งมีกษัตริย์ทั้งหมด 18 พระองค์ ทุกพระองค์ต่างเลื่อมใส และบํารุงพระพุทธศาสนา ก็ได้ก่อสถูปครอบไว้เป็นชั้นที่สาม เมื่อคณะขุดค้นค้นพบแผ่นศิลาดังกล่าวก็ทํากระจกนิรภัยครอบไว้ และสร้างอาคารมายาเทวีวิหารครอบไว้อีกชั้นในปี พ.ศ. 2547
0
สังเวชนียสถาน
0
นอกจากนั้นเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างสถูป พระองค์ทรงนําพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในสถูปแห่งนี้ด้วย
0
สังเวชนียสถาน
0

พุทธคยา

สถานที่ที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อําเภอคยา ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย อยู่ห่างจากแม่น้ําเนรัญชรา 350 เมตร มีสัญลักษณ์สําคัญคือ องค์เจดีย์สี่เหลี่ยมใหญ่ สูง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบยาว 121.29 เมตร โดยกลุ่มพุทธสถานพุทธคยาเริ่มก่อสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และสร้างต่อเติมเรื่อยมาโดยกษัตริย์ชาวพุทธในอินเดีย จนกระทั่งอินเดียถูกปกครองโดยกษัตริย์ที่นับถือศาสนาอื่น พุทธคยาจึงถูกปล่อยให้รกร้าง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2417 กษัตริย์มินดงแห่งพม่าทรงส่งคณะทูตมาขอบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหาร จึงเริ่มมีการฟื้นฟูพุทธคยาขึ้นใหม่อีกครั้ง
0
จนเมื่อปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลอินเดียจัดให้มีการเฉลิมฉลองพุทธชยันตี และเชิญชวนให้ประเทศที่นับถือศาสนาพุทธจากทั่วโลกมาสร้างวัดไว้ในดินแดนแห่งนี้ ประเทศไทยและประเทศที่นับถือศาสนาพุทธอื่น ๆ จึงมาสร้างวัดที่นี่ ในขณะเดียวกันรัฐบาลอินเดียก็บูรณะพุทธคยาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
0
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ประทับที่พุทธคยาเพื่อเสวยวิมุตติสุข 7 สัปดาห์ แต่หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่า พระพุทธองค์เสด็จกลับมาที่นี่แต่อย่างใด จะมีกล่าวถึงก็แต่ในอรรถกถาว่า พระอานันท์ได้มา ณ พุทธคยา เพื่อนําเมล็ดพันธุ์ต้นพระศรีมหาโพธิที่พระพุทธเจ้าประทับขณะตรัสรู้ไปปลูกที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ตามความต้องการของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
0
สังเวชนียสถาน
0

กุสินารา

สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า เดิมเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานของแคว้นมัลละ อาณาจักรหนึ่งในสมัยพุทธกาล ปัจจุบันเมืองกุสินาราตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เหล่ากษัตริย์มัลละจึงได้สร้างเจดีย์และวิหารเป็นจํานวนมากไว้รอบมหาปรินิพพานสถูป ปัจจุบันเป็นสถานที่สําคัญที่คนอินเดียเดินทางมาสักการบูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันขึ้นปีใหม่
0
สังเวชนียสถาน
0
ที่มา : นิตยสาร Secret ปี 2560 ฉบับที่ 223 (10 ต.ค. 60) หน้า 28-35
บทความ : เส้นทางบุญสังเวชนียสถาน
คอลัมน์ : scoop
ผู้เขียน/แต่ง : ปถวิกา
ภาพ : วรวุฒิ วิชาธร, สรยุทธ พุ่มภักดี
0

บทความน่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.