สมุนไพรบำรุงปอด

สมุนไพรบำรุงปอด รีบกินก่อน ป้องกันโรคร้ายถามหา

สมุนไพรบำรุงปอด ป้องกันโรคร้าย ก่อนโรคระบาดถามหา


ทุกวันนี้ ปอดเราถูกทำร้ายวันละนิดวันละหน่อย ด้วยมลภาวะรอบตัวโดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 แล้วไหนยังจะมีทั้ง โรคระบาด โรคประจำฤดู งานนี้ ต้องรีบหา สมุนไพรบำรุงปอด มาดูแลเพื่อให้ปอดแข็งแรงกันแล้ว เพราะหากระบบทางเดินหายใจและปอดซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญเสียหายหนัก จะเสี่ยงต่อการเกิดโรค และทำงานด้อยประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการใช้ชีวิต

ในตำราแพทย์แผนไทย ปอดหรือปัปผาสัง จัดเป็นปฐวีธาตุ คือเป็นธาตุที่มีลักษณะแข็ง หากปอดแตกหรือพิการเสียหาย ตามตำรากล่าวว่าจะมีอาการดุจไข้พิษ ทำให้ร้อนในอก กระหายน้ำ ให้หอบดุจสุนัขหอบแดด ซึ่งเป็นอาการที่ทางแผนไทยเรียกว่า ปัปผาสังพิการ

ถ้าไม่อยากให้ ปัปผาสังพิการ ก็ถึงเวลาค้องดูแลปอดแล้ว แล้วยิ่งใครที่ได้รับผลกระทบจากโควิด อย่าง ลองโควิด เห็นทีต้องจัดแล้ว

สมุนไพรบำรุงปอด

สมุนไพรบำรุงปอด


ขมิ้นชัน

การทำงานของปอดในประชากรผู้สูงอายุชาวจีนที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ผลการศึกษาระบุว่า การบริโภคแกงที่มีขมิ้นชันอย่างน้อยเดือนละครั้ง ทำให้สมรรถภาพของปอดดีขึ้น และยิ่งบริโภคแกงที่มีขมิ้นชันบ่อย สมรรถภาพของปอดก็ยิ่งสูงมากขึ้น

นอกจากนี้ยังพบว่า ขมิ้นชันมีสารเคอร์คูมิน ที่มีฤทธิ์โดดเด่นในการต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่ดีมาก ฤทธิ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้ว่าช่วยป้องกันปอดจากการอักเสบได้

ดอกปีบ

ตามตำรายาแพทย์แผนไทยระบุว่า มีสรรพคุณแก้ริดสีดวงจมูก ช่วยขยายหลอดลม แก้หืด ขับน้ำดี บำรุงกำลัง บำรุงเลือด รากใช้รักษาวัณโรค บำรุงปอด แก้หอบ แก้ไอ แก้เหนื่อยหอบ และเปลือก ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ

วิธีการนำดอกปีปมาใช้เป็นยาก็แสนง่าย ด้วยการนำมาดื่มเป็นชา ด้วยการนำดอกปีบมาตากให้แห้ง ชงใส่น้ำร้อนดื่ม จะให้กลิ่นหอมละมุนรสชาตินุ่มนวล ช่วยบำรุงระบบทางเดินหายใจ ปัจจุบัน มีงานวิจัยยืนยันว่าในดอกปีบมีสารฮิสปิดูลิน (Hispidulin) ซึ่งระเหยได้ มีฤทธิ์ขยายหลอดลม ทำให้หายใจได้โล่งมากขึ้นจากปัญหาหลอดลมตีบตัน

หนุมานประสานกาย

ชื่อไม่คุ้นหูชื่อนี้ เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่มีสรรพคุณในการช่วยลดดูแลระบบทางเดินหายใจ โดยใบของหนุมานประสานกาย มีสรรพคุณทางยา ช่วยแก้เจ็บคอ รักษาปอดและหลอดลมอักเสบ และมีสารซาโปนิน ซึ่งมีฤทธิ์ขยายหลอดลม

วิธีการใช้คือ นำใบสด 2 ใบ มาล้างทำความสะอาด แล้วนำมาเคี้ยว จากนั้นให้คายกากทิ้ง แล้วดื่มน้ำตาม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้าและเย็น หรือนำมาต้มในน้ำเดือด ประมาณ 10 – 15 นาที รอจนอุณหภูมิเย็นลง แล้วกรองน้ำดื่ม


ใบหูเสือ

มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ช่วยขยายหลอดลม โดยตำรับยาโบราณ แนะนำให้ใช้ใบหูเสือสด 4 – 5 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร จนเดือด สังเกตเห็นตัวยาละลายออกมา ใช้ดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา ก่อนหรือหลังอาหาร มีสรรพคุณช่วยทำให้อาการไอเรื้อรัง เจ็บคอ และคออักเสบดีขึ้น

อีกเมนูที่แอดเคยได้ชิมแล้วอร่อยมากคือ ใช้ใบสดปั่นกับผลไม้รสเปรี้ยว เช่น สับปะรด เป็นสมูทตี้ แล้วดื่ม ได้รสอร่อย แล้วยังได้บำรุงปอดให้แข็งแรง ลดอาการเจ็บคอ คออักเสบได้ดี

กิน 5 หมู่ ดูแลปอด

นอกจากเรื่องของสมุนไพรบำรุงปอด แล้ว การกินอาหาร 5 หมู่ ก็ช่วยให้ปอดแข็งแรงได้เหมือนกัน โดยที่ อาหาร 5 หมู่ จะทำให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เพราะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงในกรณีที่ปอดติดได้รับเชื้อวัณโรค หรือ TB ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไมโคแบคทีเรียมทูเบอร์ คูโลซิส ซึ่งแพร่เชื้อโดยการที่ฝอยละอองเสมหะที่มีเชื้อแบคทีเรียจากปอดของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค ล่องลอยในอากาศ ผ่านการไอ และจาม ไปเข้าสู่ปอดผู้ได้รับเชื้อรายใหม่

สมุนไพรบำรุงปอด

นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์  กล่าวเพิ่มเติมว่า การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารในหมู่ต่างๆ ดังนี้ 

  • หมู่ที่ 1 โปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ นม ไข่ เต้าหู้ ธัญพืช เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับโปรตีน ในการฟื้นฟูเสริมสร้างภูมิต้านทาน 
  • หมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต เช่น  ข้าว แป้ง ข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง น้ำตาล ควรเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ขัดสี เช่นข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เพราะมีวิตามินบีสูงช่วยลดอาการชาปลายมือปลายเท้าและเพิ่มความอยากอาหาร 
  • หมู่ที่ 3 เกลือแร่ หมู่ที่ 4 แร่ธาตุ พืชผักและผลไม้ต่างๆ ควรเลือกรับประทานให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารต่างๆ ตลอดจนเสริมสร้างภูมิต้านทาน ป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  • หมู่ที่ 5 ไขมัน เช่น น้ำมัน ไขมันจากพืชและสัตว์ ซึ่งให้พลังงานสูง สร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย ควรเลือกบริโภคน้ำมันที่มีกรดไขมันดี เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด

ถ้าผู้ป่วยมีอาการไอ และมีเสมหะ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ ของทอด ของมัน กะทิ และน้ำเย็น น้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง อาทิ  น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว อาหารที่มีแก๊สสูง เช่น ของดอง ถั่ว น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่มีกลิ่นแรง และอาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หากผู้ป่วยวัณโรคปอดสามารถปฏิบัติตนโดยรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูจากโรคและมีสุขภาพแข็งแรง  นายแพทย์เอนกกล่าว

ที่มา

  • นิตยาสารชีวจิต ฉบับที่ 524
  • กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ตอบคำถาม PM 2.5 ทำให้เป็นมะเร็งปอด จริงไหม?

ลูกยอ สมุนไพรพื้นบ้านของดี ช่วยบำรุงร่างกาย ลดปอดอักเสบ

อาการมะเร็งปอด รู้ไว้ก่อนก็รอดได้ไว

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.