อ้วนเสี่ยงมะเร็ง

คุณหมอขอตอบ อ้วนแล้วเสี่ยงโรคมะเร็ง จริงไหม

อ้วนแล้วเสี่ยงโรคมะเร็ง จริงไหม

อ้วนแล้วเสี่ยงโรคมะเร็ง เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เพราะความอ้วน เป็นต้นตอของโรคต่าง ๆ ที่จะตามมา ซึ่งวันนี้ เรามีแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ป้อง และเวชศาสตร์วิถีชีวิตมาให้ความรู้ค่ะ

Q : อ้วนแล้วเสี่ยงก่อให้เกิด “โรคมะเร็ง” จริงไหม

A : โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลายชนิดจากการอักเสบเรื้อรัง และภูมิคุ้มกันที่ทำงานลดลง ยกตัวอย่างจากการศึกษาเรื่อง “Obessity and Cancer: A Current Overview of Epidemiology, Pathogenesis, Outcomes, and Management” ของ Sukanya Pati และดณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Cancer ปี 2023 พบว่า

อ้วนแล้วเสี่ยงโรคมะเร็ง

โรคอ้วนมีความเชื่อมโยงกับมะเร็งที่พบบ่อยหลายชนิด เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งไต มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งมดลูก มะเร็งตับอ่อน และมะเร็งตับ อีกทั้ง โรคอ้วนยังเพิ่มความเสียงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคมเร็ง และยังอาจ ส่งผลต่อทางเลือกในการรักษาอีกราว 4-8 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้จากการศึกษาอีกหลายชิ้นยังพบว่าโรคอ้วนเพิ่ม ามเสี่ยงการเกิดมะเร็งมากกว่าคนทั่วไปถึง 13 ชนิด เช่น มะเร็งมดลูก 7 เท่า มะเร็งหลอดอาหาร 4.8 เท่า มะเร็งตับ 2 เท่า มะเร็ง ลำไส้ 1.3 เท่า

แม้สาเหตุการเกิดมะเร็งนั้นจะมีความชับช้อนและเกิดได้จาก หลายปัจจัย แต่สันนิษฐานว่าปัจจัยหนึ่งอาจมาจากปริมาณสะสม ของนื้อเยื่อไขมัน (Adipose Tissue) ทีมากเกินไป ทำให้เกิดการ ปล่อยสารต่าง ๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง ได้แก่

  • ระดับฮอร์โมนเพศสูงขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโทรเจนซึ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม เยื่อบุโพรงมดลูก รังไข่ และมะเร็งอื่น ๆ ที่มากขึ้นตามไปด้วย
  • การสร้างฮอร์โมนอะดิโพไคน์ (Adipokines) ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ ตัวอย่างเช่น ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ที่สูงขึ้นเร่งการเพิ่มจำนวนเซลที่ผิดปกติ ในทางตรงกันข้าม ฮอร์โมนอะดิโพเน็กหิน (Adiponectin) มีส่วนในการต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอก ซึ่งคนที่มีภาวะอ้วนนั้นจะมีฮอร์โมนชนิดนี้น้อยกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ

เนื้อเยื่อไขมันเป็นตัวการทำให้เกิดการอักเสบ เรื้อรัง (Chronic Inflammation) เกิดเป็นความเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress) จากการที่ร่างกายมีสารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) มากเกินไป ไม่สามารถกำจัดออกได้ทัน ทำให้ เกิดความเสียหายของ DNA ตามมา

การสร้างฮอร์โมนไขมันที่ผิดปกติส่งผลต่อ การทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยลดประสิทธิ- ภาพการทำงานเซลล์เพชฌฆาตหรือ NK-cell (Natural Killer Cell) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่ช่วยค้นหาสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เชื้อโรค เซลล์มะเร็ง และจัดการทำลาย

ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมักมีระดับฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) เพิ่มความเสี่ยงโรคเบาหวานประเภทที่ 2 และอาจส่งเสริมการพัฒนาสู่มะเร็งลำไส้ใหญ่ ไต ต่อมลูกหมาก และมะเร็งเยือบุโพรงมดลูก

โรคอ้วนยังเสี่ยงเกิดสมองเสื่อมได้ด้วย

การศึกษาเรื่อง “Body Mass Index and risk of dementia: Analysis of individual-level data from 1.3 million individuals” ของ Mika Kivvimaki และ คณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Alzheimers & Dementia ปี 2018 เผยว่า จากการ เก็บข้อมูลผู้ที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อมจำนวน 1,349,857 ราย พบว่า ค่า BMI ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 kg/m2 สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อม (Dementia) ได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากโรคอ้วนหรืออ้วนลงพุงทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งในสมองของเราเอง ก็มีอินซูลินด้วยเช่นกัน จึงส่งผลต่อการ เกิดโรคสมองเสื่อมได้นั่นเอง

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ไม่อดมื้อเช้า เคี้ยวข้าวให้ละเอียด ช่วยอายุยืน ลดความอ้วนได้

ว่าด้วยเรื่องของ สาหร่ายวากาเมะ กับการลดความอ้วน

วิธี ฝึกกล้ามเนื้อ “ป้องกันล้ม” ในผู้สูงวัย

ผ่าตัดกระเพาะ รักษาโรคอ้วน ได้จริงหรือไม่

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสารชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.