โรคเครียด เครียด

ปฏิบัติการ “วางความคิด” หยุด โรคเครียด

โรคเครียด คิดลบ ทำระบบสมองพัง ป่วยเร็ว

โรคเครียด มักมาจากความตึงเครียดในระดับที่มาก หรือนานเกินไป ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ จนทำให้บางคนป่วยและไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเกิดภาวะความเครียดสะสม

เครียด คิดลบ … ทำระบบพัง ป่วยเร็ว

วันนี้เรามีข้อมูลจาก นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ มาแนะนำ เรื่องการวางใจคลายเครียด มาบอกต่อ

เพราะสิ่งคุกคามในชีวิตคนปัจจุบัน ไม่ใช่สัตว์ร้ายในป่า แต่กลับเป็นความคิดของเราเอง ระบบประสาทอัตโนมัติ จำแนกไม่ได้ว่าความคิดไหนเป็นของจริง หรือของไม่จริง จึงตอบสนองต่อความคิดลบ ซึ่งมีลักษณะเป็นสิ่งคุกคามไปในทางเร่งเหมือนกันหมด

การที่ความคิดมีธรรมชาติเกิดขึ้นเองแบบบังคับไม่ได้และช้ำซากวกวน ยึดเยื้อเรื้อรัง ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานภายใต้บรรยากาศที่ถูกประเมินว่า มีภาวะคุกคามเรื้อรัง หรือเครียดเรื้อรัง

ในภาวะคุกคามเรื้อรัง ระบบประสาทอัตโนมัติจะเร่งการทำงานระบบที่จำเป็นต่อการอยู่รอด เช่น ระบบหัวใจหลอดเลือด ระบบการหายใจ ระบบการแข็งตัวของเลือด อย่างไม่หยุดหย่อน ทำให้เกิดโรคตามมา เช่น

  • ความดันโลหิตสูง
  • เลือดแข็งตัวเร็ว
  • หลอดเลือดอักเสบเรื้อรัง

ขณะเดียวกันระบบประสาทอัตโนมัติก็หน่วงหรือปิดการทำงานบางระบบที่ไม่จำเป็นเร่งด่วนไปหลายระบบ เช่น ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ เป็นตัน ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุและเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น

  • การหน่วงระบบภูมิคุ้มกันโรคทำให้เป็นมะเร็ง
  • เกิดการติดเชื้อหรือการอักเสบเรื้อรังได้

เพราะเซลล์กลายพันธุ์ไปเป็นมะเร็งก็ดี เชื้อโรค ในร่างกายก็ดี โมเลกุลที่ก่อการอักเสบในร่างกายก็ดี ปกติจะถูกเก็บกินหรือจัดการให้เป็นปกติโดยระบบภูมิคุ้มกันซึ่งมีเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ เป็นกำลังหลัก

ปฏิบัติการวางความคิด หยุด โรคเครียด

แนวทางการรักษา โรคเครียด ในทางการแพทย์ก็คือ การจัดการต้นเหตุ คือสิ่งคุกคามภายนอก หรือสิ่งเร้าไม่ให้เข้ามากระทบตัวเรา แต่แนวทางนี้ มันไม่เวิร์ก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเครียดเพราะเมียบ่น จะเอาตะกร้อไปครอบปากภรรยาได้ไหมล่ะ คือการไปมุ่งแก้ปัญหาที่ข้างนอกมันทำ ในชีวิตจริงไม่ได้ การแพทย์แผนปัจจุบันจึงไม่มีวิธีรักษาโรคเครียดที่ได้ผล

ที่ผมจะคุยกับท่านวันนี้ก็คือ การรักษาโรคเครียดด้วยวิธี “วางความคิด” ซึ่งไม่ใช่วิธีรักษาโรคเครียดตามแบบของแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะแพทย์แผนปัจจุบันไม่มีวิชาวางความคิด เป็นการคุยกันจากประสบการณ์ตัวผมเองที่ทดลองเอาวิธีวางความคิดหลากหลายรูปแบบที่มีสอนกันในรูปของศาสนาต่าง ๆ บ้าง ลัทธิความเชื่อบ้าง มาทดลองปฏิบัติ อันไหนไม่ได้ผลก็ทิ้งไป อันไหนได้ผลก็เก็บไว้ใช้ บางอันก็ปรับแต่งให้มันเหมาะกับตัวเองมากขึ้น

การสังเกตลมหายใจ เพื่อวางความคิด หยุดเครียด

การสังเกตลมหายใจ (Breathing) ก็คือการเอาเครื่องมือแรกคือการดึงความสน ใช้มันดึงความสนใจออกมาจากความคิด เอาความสน จดจ่อตามดูลมหายใจ ให้รู้ว่าตัวเองกำลังหายใจ

แล้วก็เอาเครื่องมือที่ 2 มาร่วมด้วย คือผ่อนคลาย ร่างกาย หายใจเข้าเต็มปอด รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออกและสั่งให้ร่างกายผ่อนคลาย ยิ้มรับรู้ ความผ่อนคลายไปด้วย เป็นไซเคิล แบบว่าหายใจเข้า หายใจออก ผ่อนคลาย ยิ้ม

ฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ สู้กับ โรคเครียด

  1. นั่งตัวตรงยืดหลังขึ้นอย่าให้งอ หลับตา หายใจ เข้าลึกๆ จนเต็มปอด กลั้นไว้สักครู่ นับ 1-10 ในใจ
  2. ค่อย ๆ ปล่อยหรือผ่อนลมหายใจออกไปทางจมูก เมา ๆ ช้าๆ พร้อมกับสั่งให้ร่างกายผ่อนคลายตั้งแต่ศีรษะ จรดปลายเท้า ทำซ้ำ 3 ครั้ง หมายถึงหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกช้าๆ ผ่อนคลาย ทำสัก 3 ครั้ง ก็จะรู้สึกว่า ดวามคิดที่ค้างคาอยู่เมื่อกี้ตอนนี้หายไปหมดแล้ว เพราะ การผ่อนคลายร่างกายคือการวางความคิดลงไปด้ว

สั่งให้ผ่อนคลายแล้ว กล้ามเนื้อจะผ่อนคลายจริง หรือเปล่าต้องตามไปดู จุดที่จะดูได้ง่ายที่สูดก็คือบน ใบหน้ของเรานี่เอง ถ้เราผ่อนคลาย เราจะยิ้มได้ ลอง ยิ้มดู ถ้ายิ้มไม่ได้ก็ยังไม่ผ่อนคลาย ยิ้มนิดๆแบบพระ ทธ์รูปก็ได้ ยิ้มให้เป็นอาจิณ ยิ้มทุกลมหายใจเข้าออก กำลังหายใจออก

อาหารต้องห้าม ทําเครียด

เราเชื่อว่า ความเครียด เกิดจากความทุกข์และกังวลต่อปัญหามากมายในชีวิต และหากพูดถึง ความเครียด ที่มักเกิดขึ้นกับร่างกายเรา อาจสังเกตได้จากคุณเคยนอนไม่หลับเพราะคิดมากหรือกังวลใจบ้างหรือเปล่า? เคยรู้สึกเหนื่อยหน่ายจนไม่อยากทำอะไรบ้างไหม? เคยมีอาการปวดหรือเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย หลัง หรือไหล่ ทั้งที่ไม่ได้ใช้แรงทำอะไรเลย? ถ้าในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาคุณมีอาการเหล่านี้แสดงว่าคุณกำลังเริ่มเข้าสู่ภาวะความเครียดในระยะเริ่มแรกแล้ว

แน่นอนว่าความตึงเครียดสร้างปัญหามากมายให้แก่ชีวิต แต่ความจริงแล้วอาหารที่เรานําเข้าปากก็ก่อเครียดได้เหมือนกัน คุณหมอทราวิส เลน สตอร์ก(Travis Lane Stork) แห่งรายการ The Doctors ทอล์คโชว์สุขภาพยอดนิยมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาให้ระวังการกินอาหารในชีวิตประจําวันที่อาจก่อให้เกิดความเครียดได้ อาหารเหล่านั้นได้แก่

 โซดา

คุณหมอสตอร์กกล่าวว่าปัจจุบันคนอเมริกันดื่มเครื่องดื่มผสมโซดาถึง52 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ปกติแล้วโซดาจะประกอบด้วยน้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อมฟรักโทสจากข้าวโพด(Fructose Corn Syrup) ซึ่งทําให้ประสาทตึงเครียดได้

อาหารปลอดไขมัน

หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Fat Free Food ปกติอาหารเหล่านี้จะไม่มีกลูโคสเลยจึงมีผลต่อระบบภูมิชีวิตและอารมณ์ทําให้เรารู้สึกเหนื่อยและเครียด

ผลไม้และผักที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง

เพราะส่วนผสมที่ใช้ในยาฆ่าแมลงล้วนแล้วแต่บีบประสาททําให้เกิดความเครียดได้

น้ำตาลเทียม

ซึ่งจะทําให้ปริมาณแคลอรีที่ร่างกายต้องการลดลงจนไม่เพียงพอ จึงทําให้เกิดความเครียด คุณหมอสตอร์กแนะนําให้กินอาหารที่ช่วยคลายเครียด เช่น ข้าวกล้องที่มีวิตามินบีบํารุงประสาท ถั่วต่างๆ ที่อุดมไปด้วยเซโรโทนิน โดยเฉพาะเมล็ดฟักทองหรือทานตะวัน ปลาทะเลที่เป็นแหล่งโอเมก้า-3 ช่วยบํารุงระบบประสาทและสมอง รวมทั้งธัญพืชต่างๆ ซึ่งใช้เวลาย่อยนาน จึงช่วยรักษาระดับน้ําตาลในเลือดและเซโรโทนินในสมองทําให้อารมณ์ดีทั้งวัน

กินอาหารดี ร่วมกับการออกกําลังกายสัปดาห์ละ3วันหายเครียดชัวร์

ข้อมูลจาก: นิตยสารชีวจิต

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เช็กหน่อย! ง่วงนอนบ่อย ง่วงตลอดเวลา เสี่ยงป่วยหลายโรค

นอนไม่หลับแบบไหน ควรพบจิตแพทย์

แรงกระแทก ดีต่อกระดูกอย่างไร หมอมีคำตอบ

ความดันและไขมันในเลือดสูง ปรับเปลี่ยน 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ไม่ง้อยา

ติดตามชีวจิตได้ที่
https://www.instagram.com/cheewajitmedia/

https://www.facebook.com/CheewajitMagazine

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.