หยุดปวด, ปวดหัว, ปวดหลัง, ปวดข้อ, ปวดไมเกรน

16 วิธี หยุดปวด ไมเกรน กล้ามเนื้อหลัง และข้อ

วิธีที่ 3 หลีกเลี่ยงอาหาร/สารปรุงแต่ง 

มีอาหารและสารปรุงแต่งอาหารหลายชนิดที่มีผลหรือเป็นตัวกระตุ้นให้อาการไมเกรนกำเริบได้ โดยสารปรุงแต่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในร่างกาย ส่งผลให้อารมณ์เปลี่ยนแปลง กลายเป็นตัวการทำให้อาการปวดศีรษะกำเริบ

ซึ่งคุณพอลลาได้แนะนำสารปรุงแต่งและอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนดังต่อไปนี้

1. สารปรุงแต่งอาหาร

  • ผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต อาหารแทบทุกชนิดมักจะมีการเติมผงชูรสเข้าไปเพื่อเพิ่มความอร่อย เช่น มันฝรั่งทอด ซอส ซุป ขนมกรุบกรอบอาหารฟาสต์ฟู้ด นักวิจัยเชื่อว่า สารโมโนโซเดียมกลูตาเมตทำให้สารสื่อประสาทที่ชื่อว่าเซโรโทนินในสมองเกิดการเปลี่ยนแปลง และมีรายงานวิจัยพบว่าหนูทดลองที่ได้กินอาหารที่มีผงชูรสจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเป็นโรคอ้วน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดจึงมีผลกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้

อาหารทางเลือก ผงนัว ผักเชียงดา ผักหวาน

  • สีผสมอาหาร พบว่า ในบางครั้งการเติมสีในอาหารก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดไมเกรนมากกว่าการเติมรสชาติด้วยซ้ำ เช่น สาร FD&C yellow #5 หรือเรียกว่า ทาร์ทราซีนดาย (Tartrazine Dye) เป็นสีสังเคราะห์ที่ให้สีเหลืองมะนาว สามารถพบได้ในเครื่องดื่มและลูกกวาด สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนได้

อาหารทางเลือก สีธรรมชาติที่ให้สีเหลือง เช่น ขมิ้น อ้อย ดอกโสน ฟักทอง ดอกคำฝอย ดอกกรรณิการ์

  • น้ำตาลและสารให้ความหวาน โดยปกติแล้วเมื่อเรากินน้ำตาลจะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นเป็นตัวกระตุ้นให้อาการไมเกรนกำเริบ แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำหรือไฮโปไกลซีเมียก็อาจส่งผลให้เกิดอาการไมเกรนได้เช่นกัน โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น ดังนั้นควรระวังการกินน้ำตาลที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ องค์การอนามัยโลกระบุว่า ไม่ควรกินน้ำตาล (หมายถึงน้ำตาลที่เติมในอาหาร) เกินร้อยละ 5 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน ซึ่งเท่ากับวันละ 6 ช้อนชา หรือ 25 กรัม
  •  แอสปาร์แตม คือสารเคมีให้ความหวานที่มักเติมเข้าไปในอาหาร เกิดจากการรวมตัวกันของกรดแอมิโน 2 ชนิด คือ แอสปาร์ติกและฟีนิลอะลานีนมักใส่ในอาหารที่ระบุว่าปราศจากน้ำตาล (Sugar - Free) อาหารแคลอรีต่ำ (Low - Calorie) และเครื่องดื่มต่างๆ มีหลายรายงานการวิจัยระบุว่า สารแอสปาร์แตมทำให้ระดับของสารสื่อประสาทเซโรโทนินในร่างกายลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนและทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

อาหารทางเลือก หญ้าหวาน ชะเอมเทศ

ผักผลไม้, ปวดไมเกรน,หยุดปวด,ไมเกรน,ปวดศีรษะ
ผักและผลไม้บางชนิด มีสารกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน

2. อาหารและผักผลไม้

  • ช็อกโกแลต คุณพอลลาระบุว่า แม้ผลงานวิจัยเรื่องช็อกโกแลตเป็นต้นเหตุของไมเกรนมีหลายฉบับที่ออกมาขัดแย้งกัน แต่ผู้ป่วยไมเกรนส่วนใหญ่ก็ไม่กล้ากิน เพราะช็อกโกแลตมีสารฟีนิลเอทิลเอมีน (Phenylethylamine) และสารฮิสตามีน ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับการเกิดอาการไมเกรนอาหารทางเลือก แครอบเป็นพืชตระกูลถั่ว มีรสชาติคล้ายโกโก้ แต่ไม่มีกาเฟอีน และไม่มีสารฟีนิลเอทิลเอมีนที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนแถมยังอุดมด้วยสารแอนติออกซิแดนต์ วิตามินเอ บี ดี และแคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม
  • ผักและผลไม้ มีสารธรรมชาติบางชนิดที่กระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนได้ เช่น ผลไม้ตระกูลส้มที่มีสารไทรามีน (Tyramine) กล้วยหอมมีสารฮิสตามีนและไทรามีน รวมไปถึงอะโวคาโดและผักโขมก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรนได้

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากอาหารข้างต้นแล้วยังรวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ ซึ่งก็สามารถส่งผลให้อาการปวดไมเกรนกำเริบเช่นกัน

NATURAL PAINKILLER

1. ก่อนซื้ออาหารหรือผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มทุกชนิด ควรอ่านฉลากให้ถี่ถ้วนเพื่อเป็นการเช็กสารอาหารและสารเติมแต่งในอาหาร

2. เลือกร้านอาหารที่ไว้ใจได้มีป้ายระบุไว้อย่างชัดเจนว่าไม่ใส่ผงชูรส หรือร้านอาหารออร์แกนิก

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.