วิตามินรวม, วิตามิน, แก้ผมร่วง, วิตามินเอ, ผมร่วง, ป้องกันผมร่วง, บำรุงผม, ผม

ฉลาดใช้ วิตามินรวม เพื่อสุขภาพ

วิตามินซี 

แพทย์มักจ่ายวิตามินซีในรูปกรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid)ร่วมกับ วิตามินบี เพื่อใช้ในการรักษาโรคเครียดและช่วยรักษาอาการของโรคทางระบบประสาทชนิดต่างๆ โดยกระบวนการทำงานของกรดแอสคอร์บิกจะช่วยให้ร่างกายผลิตสารต้านความเครียด ในขณะที่วิตามินบีจะทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณของระบบประสาท

หากกินวิตามินซีพร้อมกับวิตามินบี 9 วิตามินบี 12 ธาตุเหล็กแคลเซียม (ปริมาณที่แนะนำคือวันละ 800 มิลลิกรัม) และแมกนีเซียม(ปริมาณที่แนะนำคือวันละ 350 มิลลิกรัม) จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามิน

และแร่ธาตุนั้นๆ ไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และหากมีภาวะเลือดจางชนิดขาดธาตุเหล็ก ก็ควรกินธาตุเหล็กเสริมพร้อมกับวิตามินซี

 

วิตามินดี 

เป็นวิตามินอีกชนิดที่ละลายในไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมการดูดซึมแคลเซียม หากร่างกายขาดวิตามินดี การดูดซึมแคลเซียมจะลดลงทันทีจึงเป็นเหตุให้วิตามินรวมที่มีวิตามินดีต้องมีแคลเซียมร่วมอยู่ด้วยเสมอ

ข้อควรระวัง: 

ต้องสังเกตฉลากข้างขวดว่า ไม่มีน้ำมันตับปลารวมอยู่ด้วยเพราะหากกินร่วมกับน้ำมันตับปลา จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีมากเกินความต้องการ

ทั้งนี้คุณหมออภิวัฒน์แนะนำว่า “หากไม่ได้มีภาวะผิดปกติหรือป่วยเป็นโรคใด ๆ แต่เกิดความสงสัยว่าตัวเองจะขาดวิตามิน ก็สามารถไปขอตรวจเลือดซึ่งจะบอกได้คร่าวๆ ว่า ร่างกายขาดวิตามินหรือแร่ธาตุหลักๆตัวใดบ้าง”

หากไม่มั่นใจ ลองขอตรวจเลือดก่อนเลือกซื้อวิตามินก็ได้ค่ะ

วิตามินบี
กินข้าวและธัญพืชไม่ขัดขาว ผักสีเขียว ช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินบีอย่างครบถ้วน

อาหารเพิ่มวิตามินบี 

หากต้องการให้ร่างกายได้รับวิตามินบีตัวสำคัญครบถ้วน ควรกินอาหารเหล่านี้ค่ะ

รำข้าว เปลือกข้าว จมูกข้าว ข้าวทุกชนิดที่ไม่ขัดขาว ธัญพืชไม่ขัดขาว ยีสต์ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง ถั่วฝัก ถั่วเปลือกแข็ง ปลา ผักสีเขียว กะหล่ำปลี แคนตาลูปโมลาส อะโวคาโด มะเดื่อ ลูกพรุน อินทผลัม (รวมถึงเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นม ตับไต และไข่ด้วย แต่ ชีวจิต ไม่แนะนำค่ะ)

สำหรับผู้ที่ควรกินอาหารที่มีวิตามินบีมากๆ หรือควรกินวิตามินชนิดนี้เสริม ได้แก่

ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้าจัด ชอบกินของหวาน แป้งขัดขาว และเนื้อสัตว์มาก

สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร และสตรีที่อ่อนเพลียเพราะประจำเดือนมามาก

ผู้ที่กินยาคุมกำเนิด ยาประเภทซัลฟา ยานอนหลับ ฮอร์โมนเอสโทรเจน และยาลดกรดในกระเพาะอาหารเป็นประจำ

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารและผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ผู้ที่กินมังสวิรัติ

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.