วัคซีภูมิแพ้

วัคซีนภูมึแพ้ ทางเลือกของผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

วัคซีนภูมึแพ้ ทางเลือกของผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

ก่อนหน้านี้ชีวจิตได้นำเสนอข่าวความสำเร็จของศิริราชฯ ในการผลิตวัคซีนไรฝุ่นได้เป็นที่เเรกของอาเซียน และได้รับการรับรองจากหน่วยงานไทยและต่างประเทศ คราวนี้เราลองมาดูกันสิว่า วัคซีนตัวนี้เป็นอย่างไร ใครสมควรฉัดบ้าง ฉีดที่ไหน นานเท่าไหร่ เสี่ยงไหม คำถามเหล่านี้คงก้องอยู่ในหูใครหลายๆคน

เราลองมาดูกันให้แจ่มแจ้งเลยค่ะ

วัคซีนภูมิแพ้ มาจากสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้ โดยฉีดกระตุ้นทีละน้อย ให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อสิ่งที่แพ้ขึ้น

โรคใดบ้างที่ฉีด

  1. โรคจมูกอักเสบ ภูมิแพ้
  2. โรคหืดจากภูมิแพ้ ที่คุมอาการดีแล้ว
  3. โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้
    โดยแพทย์เฉพาะทางจะเป็นผู้ประเมินว่า ผู้ป่วยสมควรเข้ารับการฉีดวัคซีนภูมิแพ้หรือไม่

ฉีดอย่างไร

แพทย์เฉพาะทางจะประเมินผู้ป่วย บางรายอาจฉีดมากกว่า 1 ชนิด ขึ้นกับประวัติและผลทดสอบภูมิแพ้ ช่วงแรก แพทย์จะฉีด 1 ครั้ง/สัปดาห์ และค่อยๆ เพิ่มปริมาณวัคซีนทีละน้อย จนถึงระดับสูงสุดที่ผู้ป่วยรับได้ ช่วงถัดไป ฉีดวัคซีนห่างขึ้นจนสามารถฉีดได้ 1 ครั้ง /เดือน เพื่อกระตุ้นให้สร้างภูมิดีอย่างต่อเนื่อง

นานเท่าใด

ฉีดต่อเนื่อง 3-5 ปี เพื่อผลดีที่สุด

 

กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัดใหญ่
injecting injection vaccine vaccination medicine flu man doctor insulin health drug influenza concept – stock image

ผลดี

1. รักษาตรงจุด
2. หากตอบสนองต่อวัคซีนและฉีดอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้อาการภูมิแพ้ดีขึ้น (3-6 เดือน)
3. ลดการใช้ยา
4. ป้องกันการเกิดโรคหืดในรายที่เป็นโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้  และการแพ้สารอื่น ๆ ในอนาคต

เสี่ยงหรือไม่

บางรายที่ไว อาจมีอาการแพ้ได้ แม้จะฉีดสารเจือจางที่แพ้เข้าไปทีละน้อย ดังนั้นทุกครั้งที่ฉีด แพทย์จะสังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาที ก่อนกลับบ้าน พร้อมให้ผู้ป่วยงดออกกำลังกายหลังฉีดในวันนั้น

หยุดฉีดได้มั้ย

เมื่อฉีดครบ 3-5 ปี แล้วหยุดฉีด มีข้อมูลว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการภูมิแพ้ไปได้อีกหลายปี

วัคซีนภูมิแพ้ นับเป็นการรักษาเดียวในปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มจะทำให้ตัวโรคภูมิแพ้หายขาดหรือดีขึ้นจากเดิม อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยจมูกอักเสบภูมิแพ้บางรายมีภาวะเยื่อบุจมูกไวเกินร่วมด้วย อาจมีอาการคัดจมูกเมื่ออากาศเปลี่ยน แม้จะได้รับวัคซีนภูมิแพ้แล้วก็ตาม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมผ่านทาง e-mail: sicore.allergy@gmail.com

 

อ้างอิง บทความเรื่อง วัคซีนภูมิแพ้ เขียนโดย อ.นพ.มงคล สมพรรัตนพันธ์ และรศ.ดร.นพ.พงศกร ตันติลีปิกร ศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศภูมิแพ้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

บทความเพิ่มเติม

รวม วัคซีนสำหรับแต่ละช่วงวัย วัยไหนควรฉีดอะไรบ้าง

สุนัขกัด ทำอย่างไรดี รีวิวเบื้องต้น จนถึงฉีดวัคซีน

วัคซีนไข้เลือดออก ป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.