เครื่องวัดความดัน : เปรียบเทียบแบบไหนดีที่สุด
เครื่องวัดความดัน อุปกรณ์ช่วยเช็คระดับความดันโลหิตของร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยเช็คและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตต่ำ ฯลฯ ต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจเเละสมอง
เราลองมาดูกันว่า เครื่องวัดความดันที่สามารถเลือกมาใช้เช็คระดับความดันโลหิตของตัวเองได้ มีแบบไหนบ้าง และแบบไหนดีกว่ากัน ตามมาดูกันได้เลยครับ
อ่านเพิ่มเติม : ถาม-ตอบ ชวนวัดความดันโลหิต พร้อมวิธีอ่านค่าได้ด้วยตนเอง
เครื่องวัดความดัน หรือ sphygmomanometers สำหรับวัดความดันโลหิตด้วยตัวเอง (SBPM)
ในท้องตลาดเรามาสามารถเลือกซื้อเครื่องวัดความดันอัตโนมัติด้วยตัวเองได้ ซึ่งเกือบทั้งหมดของเครื่องวัดความดันใช้เทคนิค oscillometric และ อุปกรณ์ส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบความเเม่นยำ และความเที่ยงตรงของเครื่องมือ
ดังนั้น เราลองมาเช็คกันครับ ว่าอุปกรณ์เครื่องวัดความดันตัวไหนเป๊ะสุด
[1.] เครื่องวัดความดันโลหิต บริเวณต้นเเขน
เป็นเครื่องมือวัดความดัน ซึ่งเป็นการวัดความดันโลหิตที่มีความแม่นยำที่สุด โดยการวางผ้าพันแขนเหนือบนบริเวณต้นเเขน บนหลอดเลือดแดงบริเวณต้นเเขน (brachial artery) ซึ่งมีตั้งเเบบอัตโนมัติและเเบบที่ต้องทำเอง
[2.] เครื่องวัดความดันบริเวณข้อมือ
เครื่องวัดความดันบริเวณข้อมือ เป็นนวตกรรมใหม่ที่ทันสมัย พยายามให้การวัดความดันโลหิตทำได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยการเช็กระดับความดันโลหิต บริเวณหลอดเลือดแดง ตำแหน่งบริเวณข้อมือ ทำให้เวลาวัดไม่จำเป็นต้องถอดเสื้อ ไม่ต้องถลกเเขนเสื้อขึ้นมา
แต่อย่างไรก็ตามอุปกรณ์วัดความดันบริเวณข้อมมือยังมีข้อเสียมากมาย เช่น ข้อมูลจะผิดพลาดได้ง่ายมาก หากการวางแขนขณะวัดไม่ได้อยู่ในระดะบหัวใจ เป็นต้น
[3.] เครื่องวัดความดันวัดความดันโลหิตในชุมชน
สำหรับอุปกรณ์วัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ ที่ติดตั้งไว้ตามชุมชน หรือที่สาธารณะต่างๆ ที่พยายามทำให้ประชาชนสามารถวัดระดับความดันโลหิตได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากไม่มีบุคลากรดูแล เเละเครื่องอาจไม่ได้มาตรฐาน ทำให้การวัดความดันโลหิตสูงอาจไม่เเม่นยำได้
อ่านเพิ่มเติม : วิธีเลือกและใช้เครื่องวัดความดัน ง่ายๆที่บ้าน
อ่านต่อ>>การเลือกซื้อเครื่องวัดความดัน และเก็บรักษา
อ่านเพิ่มเติม
ปวดหัวจังเลย! อาการปวดศีรษะ ที่เกิดจากความดันโลหิตสูงหรือไมเกรน
หนานเฉาเหว่ย สมุนไพรจีน รักษาความดัน เบาหวาน มะเร็ง ได้จริงหรอ
หนานเฉาเหว่ย : ผู้ป่วยโรคไต กินได้หรือไม่ ปลอดภัยหรือเปล่า
การเลือกซื้อเครื่องวัดความดัน
สำหรับการเลือกซื้อเครื่องวัดความดันด้วยตัวเอง นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรมสบส.) กระทรวงสาธารณสุข มีคำแนะนำไว้ดังต่อไปนี้
1.เลือกซื้อเครื่องที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ โดยสังเกตได้จากสัญลักษณ์เช่น CE (European Conformity:CE) หรือเครื่องหมาย UL (Underwriters’ Laboratories :UL) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือนั้นได้รับการออกแบบและผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามข้อบังคับอุตสาหกรรมสหภาพยุโรป หรือดูที่เครื่องหมาย มอก. มาตรฐานประเทศไทย
โดยต้องพิจารณาถึงเรื่องการรับประกันสินค้าและการบริการภายหลังการขายด้วย ไม่ควรซื้อเครื่องที่วางจำหน่ายตามแนวชายแดน เนื่องจากมีความเสี่ยงไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีการรับประกันสินค้า
2. ให้เลือกซื้อเครื่องชนิดที่วัดที่ต้นแขน จะได้ค่าความดันโลหิตที่ได้มาตรฐานใกล้เคียงกับความเป็นจริงกว่าชนิดที่วัดที่ข้อมือ เพราะอยู่ใกล้หัวใจและอยู่ระดับเดียวกับหัวใจมากที่สุด
3.ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีระบบการตรวจสอบค่าความถูกต้องในการวัดหรือเรียกว่าเทสโหมด (Test Mode) เพื่อทราบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องหลังใช้งานแล้วให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
นอกจากนี้เเล้วการใส่ใจในการเลือกใช้แบตเตอรี่หรือถ่านไฟ ใส่ในเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ ก็มีความจำเป็นด้วยเช่นกัน โดยจะต้องเลือกถ่านไฟอัลคาไลน์ (Alkaline Battery) ขนาด 1.5 โวลท์ ซึ่งจะมีแรงดันกำลังไฟต่อเนื่องหรือเสถียรและมีความจุไฟมากกว่าถ่านไฟธรรมดาหลายเท่าตัว
การเก็บรักษาและดูแล เครื่องวัดความดัน
ในการดูแลรักษา เครื่องวัดความดันโลหิตระบบดิจิตอลให้มีประสิทธิภาพต่อการใช้งาน นายสุรพันธ์ ชัยล้อรัตน์ ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมการแพทย์ แนะนำดังต่อไปนี้
1. ควรเก็บวางเครื่องไว้ในที่มิดชิด และเก็บเครื่องในที่ร่ม ห้ามไว้ในที่โดนแสงแดดจัด ห้ามเก็บในรถยนต์หรือในที่มีอุณหภูมิสูง ความชื้นสูงและมีฝุ่นมาก ระมัดระวังอย่าให้เครื่องตกหรือกระแทกพื้น กรณีที่ไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานานให้ถอดแบตเตอรี่ออก
2. หลังใช้งานให้ดูแลทำความสะอาดเครื่อง โดยใช้ผ้าชุบน้ำธรรมดาเช็ดและเช็ดตามด้วยผ้าแห้ง ห้ามใช้น้ำมันเบนซิน ทินเนอร์และสารรุนแรงอื่นๆทำความสะอาดเครื่องอย่างเด็ดขาด
3.ห้ามบิดหรือมัดผ้าพันแขน ห้ามดัดแปลงหรือแยกชื้นส่วนของเครื่องวัดความดันโลหิตและปลอกสวมแขน
4.ไม่ควรกดปุ่มเปิดเครื่องโดยที่ยังไม่ได้พันผ้าที่แขน ในการใช้เครื่องควรอ่านและทำความเข้าใจคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตก่อนทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้เครื่องมีความคงทนและให้ค่าตรวจวัดที่ถูกต้องแม่นยำ
เครื่องวัดความดัน แบบไหนโดนใจคุณที่สุด แล้วอย่าลืมตรวจเช็คและเก็บรักษาให้ดีด้วยนะ
อ่านเพิ่มเติม
กินข้าวขาว อาจช่วยลดความดันโลหิต จริงหรือมั่ว
ความดันโลหิตสูงภัยเงียบที่น่ากลัวต่อการคร่าชีวิตคน
บอกลาอาการ วิงเวียนศีรษะ จากความดันต่ำแบบง่ายๆ
ที่มา: www.dableducational.org/sphygmomanometers และ กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรมสบส.) กระทรวงสาธารณสุข